วันอังคารที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2553

รากราคะ



ว่าน “รากราคะ” หรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่า “ว่านดอกทอง” เป็นว่านโบราณที่หายากและใกล้จะสูญพันธุ์

นายณรงค์ ค้านอธรรม นักอนุรักษ์ว่านไทยโบราณ เจ้าของว่านรากราคะ เผยว่า

ว่านนี้อยู่ในวงศ์ซิงจิเบอร์เรซี เป็นพืชตระกูลเดียวกับขิง ลักษณะลำต้นใต้ดินเป็นเหง้ากลม แตกแง่งเป็นไหลเล็กยาว 5-10 นิ้ว เนื้อในหัวถ้าเป็นตัวผู้จะมีสีเหลือง ส่วนตัวเมียเนื้อสีขาว มีกลิ่นคาวจัดคล้ายกับอสุจิของคน พบมากทางภาคตะวันตกและภาคเหนือ แถบจังหวัดกาญจนบุรี ตาก ลำปาง ใบเป็นรูปหอกสีเขียวมีขนาดเล็ก เส้นกลางใบสีแดง ทั้งต้นสูงประมาณ 1 ฟุต ออกดอกในหน้าฝน คล้ายดอกกระเจียว แต่ไม่มีก้านดอกจะอยู่ติดกับพื้นดิน มีสีขาวอมเหลือง โดยแทงดอกขึ้นจากเหง้าหลักที่อยู่ใต้ดินก่อนการงอกของใบว่านดังกล่าวนี้ ตามตำราโบราณระบุว่ามีอำนาจทางเพศรุนแรง โดยเฉพาะผู้หญิงเกิดรุนแรงมาก

ถ้าเอาหัว หรือใบ หรือต้นใส่โอ่งน้ำหรือบ่อน้ำ หากใครกินเข้าไปจะมีความรู้สึกทางเพศรุนแรงมาก โดย เฉพาะดอกเพียงได้กลิ่นผู้คนที่ได้กลิ่นทั้งหญิงและชายจะพากันมัวเมาในโลกีย์ รส ฉะนั้นจึงต้องเด็ดดอกออกเสีย นอกจากนี้ตามความเชื่อโบราณปลูกไว้ที่บ้าน ร้านค้า มีสรรพคุณทางเมตตามหานิยม ทำให้มีลูกค้าอุดหนุนอย่างไม่ขาดสาย อีกทั้งว่านดังกล่าวใกล้จะสูญพันธุ์แล้ว จึงนำออกมาแสดงให้ประชาชนได้ชมก่อนที่จะสูญพันธุ์ไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น