วันจันทร์ที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

วันงดสูบบุหรี่โลก ( World No Tobacco Day )



เริ่มมีการจัดงาน วันงดสูบบุหรี่โลกในวันที่ 31 พฤษภาคม ค.ศ.1988 โดยองค์การอนามัยโลก เนื่องจากเล็งเห็นอันตรายของบุหรี่ต่อ สุขภาพ ของผู้สูบบุหรี่และผู้ไม่สูบบุหรี่แต่ได้รับควันบุหรี่ การจัดงานวันงดสูบบุหรี่โลกก็เพื่อกระตุ้นให้ผู้สูบบุหรี่เลิกสูบ และให้รัฐบาลชุมชนและประชากรโลก ตระหนักถึงความสำคัญและเข้าร่วมกิจกรรม

การสูบบุหรี่หรือได้รับควันบุหรี่เป็นประจำเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งปอด ถุงลมโป่งพอง และโรคระบบทางเดินหายใจอื่น ๆ นอกจากนี้ยังส่งผลทำให้มีโอกาสเกิดโรคบางโรคมากกว่าผู้ที่ไม่ได้รับควัน บุหรี่ เช่น โรคหัวใจขาดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง และโรคอื่น ๆ อีกหลายโรค บุหรี่ยังทำให้เสียทรัพย์โดยไม่จำเป็นอีกด้วย

องค์การอนามัยโลกระบุชัดเจนว่า การสูบบุหรี่เป็นสาเหตุสำคัญของการป่วยและเสียชีวิตก่อนวัยอันควรที่สามารถป้องกันได้ และกำหนดให้ วันที่ 31 พฤษภาคม ของทุกปีเป็นวันงดสูบบุหรี่โลก ( World No Tobacco Day) มีการกำหนดคำขวัญในการรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ในแต่ละปี

ดอกลีลาวดี สัญลักษณ์ของ "วันงดสูบบุหรี่โลก"

ดอกลีลาวดี เป็นสัญลักษณ์ของ "วันงดสูบบุหรี่โลก" หมายถึง การขจัดสิ่งที่ไม่ดีออกไปจากตัวเรา

ดอกลีลาวดี เป็นดอกไม้ที่มีความหมายถึง การมีแต่ความสุข ชื่อเดิมนั้น คือ ดอกลั่นทม ซึ่งเมื่อก่อนทุกคนจะเข้าใจว่า เป็นดอกไม้อัปมงคล ไม่นิยมปลูกในบ้าน ปลูกแล้วมีแต่ความทุกข์ระทม แต่ถ้าศึกษาด้านภาษาจริงๆ คำว่า ลั่นทม เป็นคำผสมจาก ลั่น+ทม

ลั่น = ละทิ้ง เลิก
ทม = ความระทม

รวมความได้ว่า ละทิ้งความระทม ความเศร้าหมอง ต่างๆ นั่นก็คือ มีความสุข สดใส นั่นเอง และพอใกล้จะถึงวัน ที่ 31 พฤษภาคม ของทุกปี จะมีกิจกรรมต่างๆ เพื่อกระตุ้นเตือนให้ผู้สูบบุหรี่ พยายามที่จะเลิกสูบบุหรี่ ทั้งหน่วยงานภาครัฐ, หน่วยงานสาธารณสุขทุกแห่ง, ร้านอาหารต่างๆ, ตลอดจนหน่วยงานทีมีความสนใจ ได้ร่วมกันรณรงค์ ให้เลิกสูบบุหรี่

บางหน่วยงาน จะมีการจัดขบวน “มอบการ์ดดอก ลีลาวดี แทนกำลังใจ เพื่อวันใหม่ไร้บุหรี่” สำหรับผู้ที่ตั้งใจจะเลิกสูบบุหรี่ ก็ถือว่าเป็นวัน ดีเดย์ อีกวันหนึ่งที่จะเริ่มต้น เลิกสูบบหรี่อย่างจริงจัง รับดอกลีลาวดีไว้ให้ระลึกถึงความสุข สดใส ห่างไกลโรคภัย ต่างๆ ที่เกิดจากการสูบบุหรี่

วันอาทิตย์ที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ทำไมเหรียญจึงมีด้านหัวและก้อยหันตรงข้ามกัน



คุณกษาปณ์ หรือเรียกกันเต็มๆว่า เหรียญกษาปณ์ ถือกำเกิดขึ้นเมื่อ 2,700 ปี ที่แล้ว เมื่อเจ้าผู้ครองแผ่นดินลิเดียที่มั่งคั่ง ประทับตราพระราชลัญจกรลงบนก้อนโลหะนาก (เงินผสมทองและทองแดง) ที่ตัดแบ่งเป็นขนาดต่างๆ ตามน้ำหนักมาตรฐานที่กำหนด(กัน)ขึ้น อีก 50 ปีต่อมา เมื่อสามารถแยกทองออกจากเงินได้ เหรียญเงินและเหรียญทองจึงถือกำเนิดขึ้น ลิเดียจึงเป็นชนชาติแรกที่ใช้เหรียญกษาปณ์ และผลิตเหรียญกษาปณ์ทองขึ้นใช้

เหรียญ กษาปณ์ได้รับความนิยม แพร่หลายทั้งในประเทศลิเดียและประเทศคู่ค้า เพราะช่วยให้ชีวิตของพ่อค้าง่ายขึ้น ไม่ต้องเสียเวลาตัดและชั่งโลหะกันทุกครั้งที่ตกลงการค้า นอกจากนี้ การผลิตด้วยวิธีการง่ายๆ นำก้อนโลหะตามน้ำหนักมาตรฐานมาวางบนทั่งเหล็กที่แกะรูปหัวสิงโต อันเป็นตราพระราชลัญจกร แล้วทุบด้วยค้อนนี้ กลายเป็นต้นแบบของการผลิตเหรียญกษาปณ์ ซึ่งตามทฤษฎีการตลาดพระราชลัญจกร คือแบรนด์ของสินค้า ที่ทำให้ผู้ใช้(คู่ค้า)เกิดความเชื่อมั่นและการยอมรับ ผลในทางรูปธรรมคือประเทศคู่ค้าอย่างกรีก รับมาทั้งระบบการใช้และการผลิต เหรียญกษาปณ์จึงแพร่หลายในเมืองท่ารอบทะเลเมดิเตอร์เรเนีย ขยายสู่ยุโรป แอฟริกาเหนือ และบางส่วนของเอเชีย ในยุคที่อาณาจักรโรมันที่เรืองอำนาจ

จาก เหรียญหน้าเดียวที่ประทับตราเจ้าผู้ครองแผ่นดินของชาวลิเดีย กรีกใช้พื้นที่อีกด้านให้เป็นประโยชน์ นำรูปเทพเจ้าที่นับถือประทับลงไป เหรียญจึงมีสองด้าน หัว - ก้อย ซึ่ง ในช่วงแรกๆเหรียญกษาปณ์ของอาณาจักรโรมัน ก็มีรูปแบบเดียวกัน แต่ต่อมาภาพที่ปรากฏบนเหรียญหลากหลายมากขึ้น อาทิ สัญลักษณ์ของเมืองที่ผลิต เครื่องมือที่ใช้ พระบรมฉายาลักษณ์ของจักรพรรดิที่มีชื่อเสียง การชนะศึกครั้งสำคัญ และพระบรมฉายาลักษณ์ของจักรพรรดิที่ยังทรงพระชนม์ (เริ่มในสมัยจูเลียส ซีซาร์) เมื่ออาณาจักรโรมันเสื่อมสลาย คริสต์ศาสนาเป็นที่นับถือแพร่หลาย เครื่องหมายทางศาสนาจึงนำมาประทับบนเหรียญกษาปณ์

ภาพและตราประทับบนเหรียญ แสดงอำนาจของผู้ปกครอง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการบันทึกประวัติศาสตร์โลก ฐานอำนาจที่เปลี่ยนแปลงไป ปกติ แล้วภาพเหมือนที่ปรากฏบนเหรียญจะเป็นภาพของผู้ครองนคร แต่หากเมืองใดมีเจ้าครองนคร แต่เหรียญกษาปณ์กลับปรากฏรูปอื่น แสดงว่านครนั้นไม่มีอำนาจอธิปไตยในการปกครอง พูดง่ายๆ คือเป็นเมืองขึ้น และถ้าใช้สัญลักษณ์ทางศาสนาแสดงว่าช่วงเวลานั้นอำนาจของผู้ปกครองน้อยกว่าความเชื่อ ความศรัทธาทางศาสนา

และ นี่คือเรื่องราวความเป็นมาของคุณกษาปณ์ แต่ที่ผมว่าน่าคิดในเส้นทางชีวิตของคุณกษาปณ์ คือภาวะตกรุ่น ส่วนหนึ่งเอาท์ เทรนด์ขึ้นทำเนียบของสะสม ส่วนที่ยังใช้อยู่ก็มีค่าเพียงเศษสตางค์ เส้นทางชีวิตที่ผันแปรไปของคุณกษาปญ์ คือผลจากความนิยมตามเทรนด์ที่ไม่เคยเอาท์ นั่นคือเพื่อชีวิตที่ง่ายกว่าเดิมนั่นเอง

วันศุกร์ที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ประวัติ วันวิสาขบูชา


วันวิสาขบูชา หมายถึง การบูชาในวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 วันวิสาขบูชาเป็นวันสำคัญที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้า 3 ประการ คือ เป็นวันประสูติ ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า และปรินิพพาน

ความหมาย คำว่า "วิสาขบูชา" หมาย ถึงการบูชาในวันเพ็ญเดือน 6 วิสาขบูชา ย่อมาจาก "วิสา - ขบุรณมีบูชา" แปลว่า "การบูชาในวันเพ็ญเดือนวิสาขะ" ถ้าปีใดมีอธิกมาส คือ มีเดือน 8 สองหน ก็เลื่อนไปเป็นกลางเดือน 7

ความสำคัญ วันวิสาขบูชา เป็นวันสำคัญยิ่งทางพระพุทธศาสนา เพราะเป็นวันที่พระพุทธเจ้าประสูติ คือเกิด ได้ตรัสรู้ คือสำเร็จ ได้ปรินิพพาน คือ ดับ เกิดขึ้นตรงกันทั้ง 3 คราวคือ

1. ประสูติ เป็นวันประสูติของเจ้าชายสิทธัตถะ ณ ลุมพินีสถาน เมื่อวันเพ็ญเดือน ๖ ตรงกับวันศุกร์ขึ้น ๑๕ ค่ำ ปีจอ ก่อนพุทธศักราช ๘๐ ปี เมื่อพระนางสิริมหามายา พระมเหสีของพระเจ้าสุทโธทนะ แห่งกรุงกบิลพัสดุ์ ทรงพระครรภ์แก่จวนจะประสูติ พระนางได้รับพระบรมราชานุญาต จากพระสวามี ให้แปรพระราชฐานไปประทับ ณ กรุงเทวทหะ ซึ่งเป็นพระนครเดิมของพระนาง เพื่อประสูติในตระกูลของพระนางตามประเพณีนิยมในสมัยนั้น ขณะเสด็จแวะพักผ่อนพระอิริยาบถใต้ต้นสาละ ณ สวนลุมพินีวัน พระนางก็ได้ประสูติพระโอรส ณ ใต้ต้นสาละนั้น ครั้นพระกุมารประสูติได้ ๕ วัน ก็ได้รับการถวายพระนามว่า "สิทธัตถะ" ซึ่ง ต่อมาพระองค์ได้ออกบวช จนบรรลุอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ (ญาณอันประเสริฐสูงสุด) สำเร็จเป็นพระอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้า จึงถือว่าวันนี้เป็นวันประสูติของพระพุทธเจ้า


2. ตรัสรู้ เป็นวันที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ อนุตตรสัมโพธิญาณ ณ ร่มพระศรีมหาโพธิบัลลังก์ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม เมื่อวันเพ็ญเดือน ๖ ก่อนพุทธศักราช ๔๕ ปี การตรัสอริยสัจสี่ คือของจริงอันประเสริฐ ๔ ประการ ของพระพุทธเจ้า เป็นการตรัสรู้อันยอดเยี่ยม ไม่มีผู้เสมอเหมือน วันตรัสของพระพุทธเจ้า จึงจัดเป็นวันสำคัญ เพราะเป็นวันที่ให้เกิดมีพระพุทธเจ้าขึ้นในโลกชาวพุทธทั่วไป จึงเรียกวันวิสาขบูชาว่า วันพระพุทธ(เจ้า) อันมีประวัติว่า พระมหา บุรุษทรงบำเพ็ญเพียรต่อไป ที่ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์นั้น ทรงเริ่มบำเพ็ญสมาธิให้เกิดในพระทัย เรียกว่าการเข้า "ฌาน" เพื่อให้บรรลุ "ญาณ" จนเวลาผ่านไปจนถึง ...

* ยามต้น : ทรงบรรลุ "ปุพเพนิวาสานุติญาณ" คือทรงระลึกชาติในอดีตทั้งของตนเองและผู้อื่น
* ยามสอง : ทรงบรรลุ "จุตูปปาตญาณ" คือการรู้แจ้งการเกิดและดับของสรรพสัตว์ทั้งหลาย
* ยามสาม : ทรงบรรลุ "อาสวักขญาณ" คือรู้วิธีกำจัดกิเลสด้วย อริยสัจสี่ ( ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ) ได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในคืนวันเพ็ญเดือน ๖ ซึ่งขณะนั้น พระพุทธองค์มีพระชนมายุได้ ๓๕ พรรษา

ธรรมะที่พระพุทธองค์ทรงตรัสรู้ (อริยสัจ ๔) หรือ ความจริงอันประเสริฐ ๔ ประการ ได้แก่...

1. ทุกข์ คือ ความลำบาก ความไม่สบายกายไม่สบายใจ

2. สมุทัย คือ เหตุที่ทำให้เกิดทุกข์

3. นิโรธ คือ ความดับทุกข์ และ

4. มรรค คือ ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งทุกข์

ทั้ง ๔ ข้อนี้ถือเป็นสัจธรรม เรียกว่า อริยสัจ เพราะเป็นสิ่งที่พระอริยเจ้าทรงค้นพบ เป็นสัจธรรมชั้นสูง ประเสริฐกว่าสัจธรรมสามัญทั่วไป

3. ปรินิพพาน เป็นวันปรินิพพานของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ณ ร่มไม้รัง (ต้นสาละ) คู่ ในสาลวโนทยานของมัลลกษัตริย์ ใกล้เมืองกุสินารา เมื่อวันเพ็ญเดือน ๖ ก่อนพุทธศักราช ๑ ปี วันที่พระพุทธเจ้าเสด็จเข้าสู่ปรินิพพาน (ดับสังขารไม่กลับมาเกิดสร้างชาติ สร้างภพอีกต่อไป)

การปรินิพพานของพระพุทธเจ้า ก็ถือเป็นวันสำคัญของชาวพุทธทั่วโลกเพราะชาวพุทธทั่วโลกได้สูญเสียดวงประทีป ของโลก เป็นการสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่และครั้งสำคัญชาวพุทธทั่วไปมีความเศร้าสลด เสียใจและอาลัยสุดจะพรรณนา อันมีประวัติว่าเมื่อพระพุทธองค์ได้ตรัสรู้และแสดงธรรมมาเป็นเวลานานถึง ๔๕ ปี ซึ่งมีพระชนมายุได้ ๘๐ พรรษา ได้ประทับจำพรรษา ณ เวฬุคาม ใกล้เมืองเวสาลี แคว้นวัชชี ในระหว่างนั้นทรงประชวรอย่างหนัก

ครั้นเมื่อถึงวันเพ็ญเดือน ๖ พระพุทธองค์กับพระภิกษุสงฆ์ทั้งหลาย ก็ไปรับภัตตาหารบิณฑบาตที่บ้านนายจุนทะ ตามคำกราบทูลนิมนต์ พระองค์เสวยสุกรมัททวะที่นายจุนทะตั้งใจทำถวาย ก็เกิดอาพาธลง แต่ทรงอดกลั้นมุ่งเสด็จไปยังเมืองกุสินารา ประทับ ณ ป่าสาละ เพื่อเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน ในราตรีนั้น ได้มีปริพาชกผู้หนึ่ง ชื่อสุภัททะขอเข้าเฝ้า และได้อุปสมบทเป็นพระพุทธสาวกองค์สุดท้าย เมื่อถึงยามสุดท้ายของคืนนั้น พระพุทธองค์ก็ทรงประทานปัจฉิมโอวาทว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลายอันว่าสังขารทั้งหลายย่อมมีความเสื่อมสลายไปเป็นธรรมดา ท่านทั้งหลายจงยังกิจทั้งปวงอันเป็นประโยชน์ของตนและประโยชน์ของผู้อื่นให้ บริบูรณ์ด้วยความไม่ประมาทเถิด" หลังจากนั้นก็เสด็จเข้าดับขันธ์ปรินิพพาน ในราตรีเพ็ญเดือน ๖ นั้น

ความสำคัญของวันวิสาขบูชา

พระพุทธเจ้าประสูติ ตรัสรู้ และเสด็จดับขันธปรินิพพานเวียนมาบรรจบในวันและเดือนเดียวกัน คือ วันเพ็ญเดือนวิสาขะ จึงถือว่าเป็นวันที่สำคัญของพระพุทธเจ้า หลักธรรมอันเกี่ยวเนื่องจากการประสูติ ตรัสรู้และเสด็จดับขันธปรินิพพาน คือ ความกตัญญู อริยสัจ ๔ และความไม่ประมาท ประวัติความเป็นมา

ส่วนที่เกี่ยวกับพระพุทธเจ้า วันวิสาขบูชาเป็นวันสำคัญที่สุดของพระพุทธศาสนา เนื่องจากมีเหตุการณ์สำคัญเกี่ยวกับพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ๓ อย่าง เกิดขึ้นในวันเดียวกันคือ ประสูติ ตรัสรู้ธรรม และปรินิพพาน วันวิสาขบูชาตรงกับวันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖

ชาวพุทธศาสนิกชนทั่วโลกต่างให้ความสำคัญกับวันวิสาขบูชา นี้ และเมื่อวันที่ ๑๓ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๔๒ สหประชาชาติได้ยอมรับญัตติที่ประชุม กำหนดให้วันวิสาขบูชาเป็นวันสำคัญของโลก และเป็นวันหยุดวันหนึ่งของสหประชาชาติ เพื่อให้ชาวพุทธทั่วโลกได้มีโอกาสบำเพ็ญบุญเนื่องในวันประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพานของพระบรมศาสดา เจ้าชายสิทธัตถะ ประสูติเมื่อ ๒๖๐๐ กว่าปี ล่วงมาแล้ว
พระ บิดาพระนามว่าพระเจ้าสุทโธทนะ พระมารดาพระนามว่าพระนางสิริมหามายา ก่อนที่พระองค์จะตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์เป็นเจ้าชายในราชสกุลโคตมะ แห่งเมืองกบิลพัสดุ์ซึ่งตั้งอยู่ทางตอนเหนือของประเทศอินเดีย คำว่า 'พุทธ' หรือ 'พุทธิ' ในภาษาบาลีและสันสกฤตมีความหมายเหมือนกัน แปลว่า ปัญญา หรือ การตรัสรู้

จากคำสอนในพระไตรปิฎกกล่าวว่า พระพุทธเจ้าคือผู้ที่ตรัสรู้เองโดยชอบ ทรงเป็นผู้รู้สัจจธรรม และทรงมีพระญาณทัศนะกว้างไกลที่พระองค์ทรงรู้เห็นกำเนิด และความเป็นไปของสัตว์โลกตลอดภพสาม มีพระพุทธเจ้านับไม่ถ้วนพระองค์ได้อุบัติขึ้นในโลกนี้ เมื่อแต่ละพระองค์ตรัสรู้ธรรมอันประเสริฐแล้ว ทรงสั่งสอนธรรมะเพื่อให้ชาวโลกพ้นจากวัฏสงสารด้วยมหากรุณา จากพระไตรปิฏก "อปทานสูตร และพุทธวงศ์" กล่าวถึงการสร้างบารมีของพระพุทธเจ้าแต่ละพระองค์ นานนับอสงไขยกว่าที่จะบรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณ

แม้ในขุททกนิกาย ชาดก ได้เล่าการสร้างบารมีถึง ๕๔๗ ชาติของพระโพธิสัตว์ที่บำเพ็ญบารมี ๑๐ ทัศ มาตลอดกว่าจะได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในพระชาติสุดท้าย เจ้าชายสิทธัตถะ ทรงเป็นผู้มีบุญที่เพียบพร้อมด้วยสติปัญญา และความเมตตา หลังจากเจ้าชายสิทธัตถะประสูติได้เพียง ๗ วัน พระมารดาก็สวรรคต พระน้านางคือพระนางปชาบดีโคตมี เป็นผู้บำรุงเลี้ยงรักษา หลังจากประสูติได้ไม่นาน พระบิดาได้อัญเชิญอสิตดาบสมาทำนายอนาคตของเจ้าชายสิทธัตถะ อสิตดาบสแสดงอาการประหลาดต่อหน้าพระที่นั่งคือ หัวเราะและร้องไห้ หัวเราะเพราะดีใจที่ได้เห็นเจ้าชายสิทธัตถะ และได้ทำนายว่าเจ้าชายจะตรัสรู้ธรรมเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอย่างแน่นอน แต่ร้องไห้เพราะอสิตดาบสนั้นจะมีอายุไม่ยืนยาวทันรับฟังคำสอนของพระพุทธเจ้า พระองค์นี้ คำทำนายนี้ได้รับการยืนยันจาก โกณฑัญญะ ซึ่งเป็นดาบสอีกท่านหนึ่งที่ทำนายว่า เจ้าชายสิทธัตถะจะสละราชสมบัติ เมื่อผนวชแล้วจะบรรลุธรรมเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

ส่วนดาบสอื่นๆ ล้วนทำนายว่า ถ้าเจ้าชายสิทธัตถะไม่ทรงผนวช จะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ์ คำทำนายดังกล่าวสร้างความตระหนกพระทัยแก่พระเจ้าสุทโธทนะเป็นอย่างยิ่ง พระองค์ทรงปรารถนาจะให้เจ้าชายสิทธัตถะปกครองแว่นแคว้นสืบทอดราชบัลลังก์ต่อ จากพระองค์ และเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ์ จึงทรงป้องกันเจ้าชายสิทธัตถะไม่ให้เห็นความทุกข์ทรมาน ความเจ็บปวดต่าง ๆ ที่จะทำให้เจ้าชายสิทธัตถะทรงรู้สึกเบื่อหน่าย และอยากออกบวช

ด้วยเหตุนี้พระเจ้าสุทโธทนะ จึงทรงมีพระบัญชาให้เหล่าอำมาตย์เสนาบดี ช่วยกันสร้างปราสาทสามฤดูแก่เจ้าชาย ปราสาทแต่ละแห่งแวดล้อมด้วยเหล่าสนมกำนัลที่สวยงาม ชีวิตของเจ้าชายสิทธัตถะก่อนทรงออกผนวช จึงเป็นชีวิตที่เพียบพร้อมด้วย รูปสมบัติ และทรัพย์สมบัติอย่างแท้จริง. เมื่อเจ้าชายทรงพระชนมายุได้ ๒๙ พรรษา พระมเหสีคือพระนางยโสธรา พิมพาประสูติพระโอรส พระนามว่า ราหุล วันหนึ่งเจ้าชายสิทธัตถะได้ทรงรถม้าประพาสสวนนอกเมือง ทรงเห็นคนแก่ คนป่วย คนตาย และนักบวช ภาพคนแก่ คนป่วย และคนตายทำให้พระองค์นึกถึงความทุกข์ และความไม่เที่ยงแท้ของสังขารมนุษย์ ต่อมา

เจ้าชายสิทธัตถะจึงทรงออกจากวัง ถือเพศเป็นนักบวชเที่ยวภิกขาจารไปเพื่อแสวงหาโมกขธรรม วันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ เมื่อมีพระชนมายุได้ ๓๕ พรรษา เจ้าชายสิทธัตถะได้ตรัสรู้ธรรม ณ ใต้ควงต้นพระศรีมหาโพธิ์ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก่อนที่จะบรรลุธรรม เจ้าชายสิทธัตถะได้แสวงหาผู้สอนวิธีหลุดพ้นแก่พระองค์ ๒ คนคือ อาฬารดาบส และอุทกดาบส ซึ่งทั้งสองนี้สอนพระองค์ให้ได้ญานชั้นสูง แต่ไม่บรรลุธรรม เมื่อพระองค์บรรลุธรรมเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว ทรงประกาศธรรม เผยแผ่คำสอนที่สามารถทำให้ผู้ปฏิบัติตามพ้นทุกข์ตามพระองค์ไปได้ พระพุทธองค์ ทรงเผยแผ่พระพุทธศาสนาเป็นเวลา ๔๕ ปี ทรงวางรากฐานพระพุทธศาสนา และมีพุทธศาสนิกชนจำนวนมาก ที่ปฏิบัติตามคำสอนของพระองค์ ซึ่งในสมัยนั้นมีตั้งแต่ กษัตริย์ เจ้าชาย พ่อค้า แม่ค้า พราหมณ์ เศรษฐี ยาจกเข็ญใจ และชนทุกชั้นในสังคม

ประวัติความเป็นมาของวันวิสาขบูชาในประเทศไทย

วันวิสาขบูชานี้ ปรากฏตามหลักฐานว่า ได้มีมาตั้งแต่ครั้งกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี ซึ่งสันนิษฐานว่า คงจะได้แบบอย่าง มาจากลังกา กล่าวคือ เมื่อประมาณ พ.ศ. 420 พระเจ้าภาติกุราช กษัตริย์แห่งกรุงลังกา ได้ประกอบพิธีวิสาขบูชาอย่าง มโหฬาร เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา กษัตริย์ลังกาในรัชกาลต่อ ๆ มา ก็ทรงดำเนินรอยตาม แม้ปัจจุบันก็ยังถือปฏิบัติอยู่ สมัยสุโขทัยนั้น ประเทศไทยกับประเทศลังกามีความสัมพันธ์ด้านพระพุทธศาสนาใกล้ชิดกันมากเพราะ พระสงฆ์ชาวลังกา ได้เดินทางเข้ามาเผยแพร่พระพุทธศาสนา และเชื่อว่าได้นำการประกอบพิธีวิสาขบูชามาปฏิบัติในประเทศไทยด้วย
ใน หนังสือนางนพมาศได้กล่าวบรรยากาศการประกอบพิธีวิสาขบูชาสมัยสุโขทัยไว้ พอสรุปใจความได้ว่า " เมื่อถึงวันวิสาขบูชา พระเจ้าแผ่นดิน ข้าราชบริพาร ทั้งฝ่ายหน้า และฝ่ายใน ตลอดทั้งประชาชนชาวสุโขทัยทั่วทุก หมู่บ้านทุกตำบล ต่างช่วยกันทำความสะอาด ประดับตกแต่งพระนครสุโขทัยเป็นการพิเศษ ด้วยดอกไม้ของหอม จุดประทีปโคมไฟแลดูสว่างไสวไปทั่วพระนคร เป็นการอุทิศบูชาพระรัตนตรัย เป็นเวลา 3 วัน 3 คือ พระมหากษัตริย์ และบรมวงศานุวงศ์ ก็ทรงศีล และทรงบำเพ็ญพระราชกุศลต่างๆ ครั้นตกเวลาเย็น ก็เสด็จพระราช ดำเนิน พร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ และนางสนองพระโอษฐ์ตลอดจนข้าราชการทั้งฝ่ายหน้า และฝ่ายใน ไปยังพระ อารามหลวง เพื่อทรงเวียนเทียนรอบพระประธาน

ส่วนชาวสุโขทัยชวนกันรักษาศีล ฟังธรรมเทศนา ถวายสลากภัต ถวายสังฆทาน ถวายอาหารบิณฑบาต แด่พระภิกษุ สามเณรบริจาคทรัพย์แจกเป็นทานแก่คนยากจน คนกำพร้า คนอนาถา คนแก่ คนพิการ บางพวกก็ชวนกันสละทรัพย์ ปล่อยสัตว์ 4 เท้า 2 เท้า และเต่า ปลา เพื่อชีวิตสัตว์ให้เป็นอิสระ โดยเชื่อว่าจะทำให้คนอายุ ยืนยาวต่อไป"

ในสมัยอยุธยา สมัยธนบุรี และสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ด้วยอำนาจอิทธิพลของศาสนาพราหมณ์ เข้าครอบงำประชาชนคนไทย และมีอิทธิพลสูงกว่าอำนาจของพระพุทธศาสนา จึงไม่ปรากฎหลักฐานว่า ได้มีการประกอบพิธีบูชาในวันวิสาขบูชา จนมาถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยรัชกาลที่ 2 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ (พ.ศ. 2360) ทรงดำริกับ สมเด็จพระสังฆราช (มี) สำนักวัดราชบูรณะ มีพระราชประสงค์จะให้ฟื้นฟู การประกอบพระราชพิธีวันวิสาขบูชาขึ้นใหม่ โดย สมเด็จพระสังฆราช ถวายพระพรให้ทรงทำขึ้น เป็นครั้งแรกในวันขึ้น 14 ค่ำ 15 ค่ำ และวันแรม 1 ค่ำ เดือน 6 พ.ศ. 2360 และให้จัดทำตามแบบอย่างประเพณีเดิมทุกประการ เพื่อมีพระประสงค์ให้ประชาชนประกอบการบุญการกุศล เป็นหนทางเจริญอายุ และอยู่เย็นเป็นสุขปราศจากทุกข์โศกโรคภัย และอุปัทวันตรายต่างๆ โดยทั่วหน้ากัน

ฉะนั้น การประกอบพิธีในวันวิสาขบูชาในประเทศไทย จึงได้รื้อฟื้นให้มีขึ้นอีกครั้งหนึ่งในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 และถือปฏิบัติมาจวบจนกระทั่งปัจจุบัน

การจัดงานเฉลิมฉลองในวันวิสาขบูชาที่ยิ่งใหญ่กว่าทุกยุค ทุกสมัย คงได้แก่การจัดงานเฉลิมฉลอง วันวิสาขบูชา พ.ศ.2500 ซึ่งทางราชการเรียกว่างาน " ฉลอง 25 พุทธศตวรรษ " ตั้งแต่วันที่ 12 ถึง 18 พฤษภาคม รวม 7 วัน ได้จัดงานส่วนใหญ่ขึ้นที่ท้องสนามหลวง ส่วนสถานที่ราชการ และวัดอารามต่างๆ ประดับธงทิวและโคมไฟสว่างไสวไปทั่วพระ ราชอาณาจักร ประชาชนถือศีล 5 หรือศีล 8 ตามศรัทธาตลอดเวลา 7 วัน มีการอุปสมบทพระภิกษุสงฆ์รวม 2,500 รูป ประชาชน งดการฆ่าสัตว์ และงดการดื่มสุรา ตั้งแต่วันที่ 12 ถึง 14 พฤษภาคม รวม 3 วัน มีการก่อสร้าง พุทธมณฑล จัดภัตตาหาร เลี้ยงพระภิกษุสงฆ์วันละ 2,500 รูป ตั้งโรงทานเลี้ยงอาหารแก่ประชาชน วันละ 200,000 คน เป็นเวลา 3 วัน ออกกฎหมาย สงวนสัตว์ป่าในบริเวณนั้น รวมถึงการฆ่าสัตว์ และจับสัตว์ในบริเวณวัด และหน้าวัดด้วย และได้มีการปฏิบัติธรรมอันยิ่งใหญ่ อย่างพร้อมเพรียงกัน เป็นกรณีพิเศษ ในวันวิสาขบูชาปีนั้นด้วย


หลักธรรมที่ควรปฏิบัติ

1. กตัญญู กตเวที
ความกตัญญู คือ ความรู้อุปการคุณที่มีผู้ทำไว้ก่อนเป็นคุณธรรมคู่กับ ความกตเวที คือ การตอบแทนอุปการะคุณที่ผู้อื่นทำไว้นั้นผู้ที่ทำอุปการรคุณก่อนเรียกว่า บุพการี ขอยกมากล่าวในที่นี้คือ บิดามารดา และครูอาจารย์ บิดามารดา มีอุปการะคุณแก่บุตร ธิดา ในฐานะเป็นผู้ให้กำเนิดและเลี้ยงดูจนเติบใหญ่ ให้การศึกษา อบรมสั่งสอน ให้ละเว้นจากความชั่ว มั่นคงในการทำความดี เมื่อถึงคราวมีคู่ครองได้จัดหาคู่ครอบที่เหมาะสมให้และมอบทรัพย์สมบัติให้ ไว้เป็นมรดก บุตร ธิดา
เมื่อรู้อุปการะคุณที่บิดามารดาทำไว้ย่อมตอบแทน ด้วยการ ประพฤติตัวดี สร้างชื่อเสียงให้แก่วงศ์ตระกูล เลี้ยงดูท่าน และช่วยทำงานของท่าน และเมื่อล่วงลับไปแล้วก็ทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้ท่าน ครูอาจารย์ มีอุปการะคุณแก่ศิษย์ในฐานะเป็นผู้ประสาทความรู้ให้ ฝึกฝนแนะนำให้เป็นคนดีสอนศิลปวิทยาให้อย่างไม่ปิดบัง ยกย่องให้ปรากฎแก่คนอื่นและช่วยคุ้มครองศิษย์ทั้งหลาย ศิษย์เมื่อรู้อุปการคุณที่ครูอาจารย์ทำไว้ย่อมตอบแทนด้วยการตั้งใจเรียน ให้เกียรติ และให้ความเคารพไม่ล่วงละเมิดโอวาทของครู ความกตัญญูและความกตเวทีนี้ถือว่าเป็นเครื่องหมายของคนดีส่งผลให้ครอบครัว และสังคมมีความสุขได้ เพราะบิดามารดาจะรู้จักหน้าที่ของตนเองด้วยการทำอุปการคุณให้ก่อน และบุตร ธิดา ก็จะรู้จัก หน้าที่ของตนเองด้วยการทำดีตอบแทน

สำหรับ ครูอาจารย์ก็จะรู้จักหน้าที่ของตนเองด้วยการทำอุปการคุณ คือ สอนศิลปวิทยาอย่างเต็มที่และศิษย์ก็จะรู้จักหน้าที่ของตนเอง ด้วยการตั้งใจเรียน และให้ความเคารพเป็นการตอบแทน นอกจากจะใช้ในกรณีของบิดามารดากับบุตรธิดา และครูอาจารย์กับศิษย์แล้ว คุณธรรมข้อนี้ก็สามารถนำไปใช้ได้แม้ระหว่าง พระมหากษัตริย์กับพสกนิกร นายจ้างกับลูกจ้าง เพื่อนกับเพื่อนและบุคคลทั่วไป รวมทั้งมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม

ในทางพระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าทรงเป็นบุพการีในฐานะที่ทรงสถาปนาพระพุทธศาสนาและทรงสอนทางพ้น ทุกข์ให้แก่เวไนย-สัตว์ พุทธศาสนิกชน รู้พระคุณอันนี้ จึงตอบแทนด้วยอามิสบูชา และปฏิบัติบูชา กล่าวคือ การจัดกิจกรรมในวันวิสาขบูชา เป็นส่วนหนึ่งที่ชาวพุทธแสดงออก ซึ่งความกตัญญูกตเวทีต่อพระองค์ ด้วยการทำนุบำรุงส่งเสริม พระพุทธศาสนา และประพฤติปฏิบัติธรรม เพื่อดำรงอายุพระพุทธศาสนาสืบไป

2. อริยสัจ ๔
อริยสัจ คือ ความจริงอันประเสริฐ หมายถึง ความจริงที่ไม่ผันแปร เกิดมีได้แก่ทุกคนมี ๔ ประการ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ทุกข์ คือ ปัญหาของชีวิต พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ก็เพื่อให้ทราบว่า มนุษย์ทุกคนมีทุกข์เหมือนกันทั้งทุกข์ขั้นพื้นฐานและทุกข์เกี่ยวกับการ ดำเนินชีวิตประจำวัน

ทุกข์ขั้นพื้นฐาน คือ ทุกข์ที่เกิดจากการเกิด การแก่ และการตาย ส่วนทุกข์ที่เกี่ยวกับการดำเนินชีวิตประจำวันคือ ทุกข์ที่เกิดจากการพลัดพรากจากสิ่งที่รัก ทุกข์ที่เกิดจากการประสบกับสิ่งที่ไม่เป็นที่รัก ทุกข์ที่เกิดจากการไม่ได้ตามใจปรารถนา รวมทั้งทุกข์ที่เกี่ยวกับการดำเนินชีวิตด้านต่างๆ สมุทัย คือ เหตุแห่งปัญหา พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ก็เพื่อให้ทราบว่า ทุกข์ทั้งหมด ซึ่งเป็นปัญหาของชีวิตล้วนมีเหตุให้เกิดเหตุนั้น คือ ตัณหา อันได้แก่ ความอยากได้ต่างๆ

ซึ่งประกอบไปด้วย ความยึดมั่น นิโรธ คือ การแก้ปัญหาได้ พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ก็เพื่อให้ทราบว่า ทุกข์ คือ ปัญหาของชีวิตทั้งหมดนั้นแก้ไขได้ โดยการดับตัณหา คือ ความอยากให้หมดสิ้น มรรค คือ ทางหรือวิธีแก้ปัญหา พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ก็ เพื่อให้ทราบว่า ทุกข์คือปัญหาของชีวิตทั้งหมดที่สามารถแก้ไขได้นั้นต้องแก้ไขตามมรรคมีองค์ ๘

3. ความไม่ประมาท
ความไม่ประมาท คือ การมีสติทั้งขณะทำ ขณะพูดและขณะคิด สติ คือ การระลึกรู้ทัน ที่คิด พูดและทำ ในภาคปฏิบัติเพื่อนำมาใช้ในชีวิตประจำวัน หมายถึงการระลึกรู้ทันการเคลื่อนไหวอิริยาบถ ๔ คือ เดิน ยืน นั่ง นอน การฝึกให้เกิดสติ ทำได้โดยตั้งสติกำหนดการเคลื่อนไหวอิริยาบถกล่าวคือ ระลึกรู้ทันในขณะยืน เดิน นั่งและนอน รวมทั้งระลึกรู้ทันในขณะพูดขณะคิด และขณะทำงานต่างๆ

ในวันนี้พุทธศาสนิกชนต่างพากันน้อมระลึกถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ ด้วยการไปชุมนุมตามพระอารามต่าง ๆ เพื่อกระทำการบูชาปูชนียวัตถุอันได้แก่ พระธาตุเจดีย์หรือพระพุทธปฏิมา ที่เป็นพระประธานในพระอุโบสถอย่างใดอย่างหนึ่ง ด้วยเครื่องบูชามีดอกไม้ ธูปเทียน เป็นต้น เริ่มด้วยการสรรเสริญคุณพระรัตนตรัย ด้วยบทสวดมนต์ตามลำดับดังนี้คือ

บทสรรเสริญ พระพุทธคุณ

อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปนโน สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสสะธัมมะสาระถิ สัตถาเทวะมนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ บทสรรเสริญ พระธรรมคุณ

สวากขาโต ภะคะวา ธัมโม สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหีติ. บทสรรเสริญ พระสังฆคุณ

สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อุชุปฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ญายะปฎิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สามีจิปฎิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสสะ ยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเนยโย อัญชะลีกะระนีโย อะนุตตะรัง ปุญญะเขตตัง โลกัสสาติ

จากนั้นก็จะกระทำ ประทักษิณ หรือที่เรียกว่า เวียนเทียน รอบพระธาตุเจดีย์ หรือพระพุทธปฎิมาในพระอุโบสถ ด้วยการเดินเวียนขวาสามรอบ รอบแรกจะสวดบทสรรเสริญพระพุทธคุณ รอบที่สองจะสวดบทสรรเสริญพระธรรมคุณ และรอบที่สามสวดบทสรรเสริญพระสังฆคุณ เมื่อครบ 3 รอบแล้วจึงนำดอกไม้ ธูป เทียน ไปบูชาพระธาตุเจดีย์ หรือพระพุทธรูปในพระอุโบสถ ณ ที่บูชาอันควรเป็นอันเสร็จพิธีเวียนเทียน

จากนั้นก็จะมีการแสดงพระธรรมเทศนาในพระอุโบสถ ซึ่งปกติจะมีเทศน์ ปฐมสมโพธิ ซึ่งเป็นเรื่องพระพุทธประวัติตั้งแต่ประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน พิธีเริ่มตั้งแต่ประชุมฟังพระทำวัตรสวดมนต์ แล้วจึงฟังเทศน์ซึ่งจะมีไปตลอดรุ่ง



วันพฤหัสบดีที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

การดูแลเล็บเท้า

Pic_85655

ที่สำคัญอย่างหนึ่งคือการดูแลเล็บเท้า ซึ่งท่านควรตรวจดูด้วยตนเองบ่อยๆ ถ้าหากพบความผิดปกติเล็กๆ น้อยๆ ตั้งแต่เริ่มแรก การรักษาจะไม่ยุ่งยาก ความผิดปกติที่อาจพบได้แก่ สีเล็บเปลี่ยนไป เล็บหนาตัวขึ้น หรืองอกผิดปกติ มีการอักเสบของผิวหนังรอบๆ เล็บ หรือไม่ การตัดเล็บเท้า ดูเหมือนของง่าย แต่ต้องระวัง เพราะถ้าตัดลึกเกินไป เกิดแผลเลือดออก มีโอกาสติดเชื้อ โดยเฉพาะผู้ที่ตาไม่ดี หรือเท้าชาจนไม่รู้สึกเจ็บ ตัดไม่ถูกต้อง ทำให้เกิดเล็บขบ บางรายก็มีเล็บงอกแทงเข้าไปในเนื้อ ถ้าอักเสบจะตามมาด้วยปวด บวม แดง เป็นหนอง และลุกลามได้ หรือกรณีตัดไม่ถึง เพราะอ้วนเกินไปก้มไม่ลง ตัดไม่ได้ เพราะตามองไม่เห็น หรือเป็นอัมพาต บางคนเลยปล่อยเล็บ ยาว แห้ง แข็ง ดำ สกปรก หรือฉีกขาด แล้วมีโอกาสติดเชื้ออักเสบลุกลามเป็นเรื่องใหญ่ภายหลัง การดูแลเล็บเท้าให้สะอาด และตัดเล็บเท้าให้สั้นพอดี เป็นส่วนหนึ่งการดูแลสุขภาพเท้า

โดยเฉลี่ยแล้วเล็บมืองอกยาววันละ 0.1 มิลลิเมตร นั่นคือเดือนละ 3 มม. หากเล็บมือหลุด จะต้องใช้เวลานานถึง 6 เดือน จึงจะงอกทดแทนใหม่ได้หมด ส่วนเล็บเท้านั้นงอกช้ากว่าเล็บมือ 2 ถึง 3 เท่า จึงกินเวลานาน 1 ปีถึง 1 ปีครึ่งจึงงอกทดแทนได้ ดังนั้น เมื่อเป็นโรคเชื้อราที่เล็บมือ แพทย์จึงต้องให้ยากินเพื่อฆ่าเชื้อรานานต่อเนื่องกันถึง 6 เดือน ส่วนโรคเชื้อราที่เล็บเท้านั้น ต้องได้รับยาต่อเนื่องอย่างน้อย 1 ปี เล็บจะงอกเร็วในช่วงวัยเด็ก ขณะตั้งครรภ์ และฤดูร้อน นอกจากนั้น การกัดเล็บ พิมพ์ดีด และเล่นเปียโน ก็ช่วยเร่งให้เล็บยาวเร็วขึ้น นิ้วที่ยิ่งยาว เล็บยิ่งงอกเร็ว ดังนั้น เล็บมือของนิ้วกลางจึงงอกเร็วที่สุด พบว่าเล็บมือของมือขวา มักงอกเร็วกว่าเล็บมือของมือซ้าย เมื่อมีอายุมากขึ้น เล็บจะงอกช้าลง จากช่วงอายุ 25 ปีถึง 95 ปี พบว่าอัตราการงอกของเล็บลดลงได้ถึงร้อยละ 50 เลยทีเดียว คนชราจะมีการหนาตัวของเล็บ โดยเฉพาะเล็บเท้าทำให้เล็บเท้าผิดรูปผิดร่างไปได้

เล็บอาจเปรียบเป็น หน้าต่างที่บอก ถึงความผิดปกติของอวัยวะภายใน เช่น ตับ ไต ปอด หัวใจ เบาหวาน และการขาดอาหาร เป็นต้น คนที่ได้รับสารหนูจากยาหม้อจะพบเส้นขึ้นที่เล็บ ถ้าเป็น 2 เส้นขนานกันตามขวางอาจแสดงถึงภาวะเลือดมีโปรตีนต่ำ ถ้ามีเล็บขาวขุ่นครึ่งเล็บทางด้านโคนส่วนครึ่งปลาย มีสีชมพูตามปกติ อาจเป็นอาการของโรคไตเรื้อรัง ถ้ามีสีขาวขุ่นเกือบทั้งเล็บโดยที่มีสีชมพูน้อยกว่าร้อยละ 20 มักเกิดในผู้ที่เป็นโรคพิษสุราเรื้อรัง ทำให้เป็นโรคตับแข็ง

การตัดเล็บให้ถูกวิธี


สิ่ง ที่มีความสำคัญในการดูแล เล็บเท้าได้แก่ การตัดเล็บให้ถูกวิธี ควรตัดเล็บมือเป็นประจำ สัปดาห์ละครั้ง ส่วนเล็บเท้า 2-3 สัปดาห์ต่อครั้ง

ท่าน ควรระมัดระวังการตัดเล็บตรง ด้านข้าง อย่าตัดเข้าไปใกล้เนื้อจนมากไป ไม่ควรตัดเล็บจนชิดบริเวณผิวหนังส่วนปลายนิ้วเกินไปเพราะนอกจากจะเสี่ยงต่อ การเป็นแผลแล้วยังทำให้พื้นที่หน้าเล็บสั้นลงได้

อย่าพยายามเอาอะไร ไปงัดขอบเล็บ ที่งุ้มลงไป เพราะส่วนใหญ่จะทำให้มีเลือดออก และเกิดการอักเสบลุกลามเป็นหนองได้ สำหรับเล็บเท้าควรตัดในแนวตรงเป็นทรงเหลี่ยม ไม่ควรตัดเล็บลงซอกข้างเล็บมากเกินไปเพราะอาจทำให้เกิดเล็บขบได้
ควรใช้ ที่ตัดเล็บเท่านั้นไม่ควร ใช้กรรไกร หรือใบมีดมาตัดเล็บ เพราะพลาดพลั้งทำให้เกิดบาดแผลได้ ธรรมชาติสร้างเล็บให้ออกมาในรูปแบบของแผ่นโปรตีนชนิดแข็ง และให้ทำหน้าที่ปกป้องปลายประสาทที่มีอยู่มากบริเวณปลายสุดของร่างกายไม่ให้ ได้รับความกระทบกระเทือน อีกทั้งยังทำหน้าที่ช่วยในการหยิบจับ และแกะเกา

ในกรณีที่เล็บของท่านมักจะงอกออกมา และงุ้มเข้าหาผิวหนัง ท่านอาจจะใช้สำลีขนาดเล็กๆ วางกันเอาไว้ตรงขอบเล็บก็ได้
การ ตัดหนังข้างเล็บจะทำให้เกิด รอยแผลเป็นหนาๆ แข็งๆ ยิ่งตัดมันมากเท่าไหร่ จะยิ่งหนามากขึ้นเท่านั้น การใช้น้ำยาที่ช่วยขัดลอกหยังข้างเล็บซึ่งมีสวนผสมของกรด AHA จะช่วยขัดลอกหนังที่ตายแล้วออกไป

บาดแผล


หากเกิดบาดแผลเลือดออก ท่านต้องทำความสะอาดให้ดี อาจใช้สำลีชุบแอลกอฮอล์ เช็ดบริเวณที่เป็นแผล

การ ตัดเล็บเป็นรูปสี่เหลี่ยม ที่ตรงมุมจะเกิดความคม ซึ่งสามารถกดหนังข้างเล็บให้เจ็บและอาจเกิดบาดแผลได้ เพราะฉะนั้นควรตัดเล็บตรงด้านมุมให้เป็น มุมมนๆ เพื่อป้องกันปัญหาดังกล่าว

การอักเสบ

หาก เกิดการอักเสบมากจนนิ้วเท้า บวมแดง สงสัยว่าจะมีหนองตรงขอบเล็บ ท่านควรไปรับการตรวจรักษาให้ถูกต้องตั้งแต่เริ่มต้น เพราะหากรอไว้การอักเสบอาจลุกลาม จนต้องตัดเล็บออกบางส่วน เพื่อให้หนองไหลออกได้ มิฉะนั้น การอักเสบติดเชื้อจะไม่หายไป

การทำความสะอาด


ทำ ความสะอาดมือ เท้า และเล็บ โดยการใช้แปรงขนนุ่ม กับสบู่อ่อนๆ ถูเบาๆ บริเวณมือ เท้า และเล็บ อย่าลืมที่จะถูใต้เล็บ เพราะบริเวณดังกล่าวเป็นบริเวณที่มีเชื้อโรคเข้าไปสะสมอยุ่มากที่สุด หลังจากนั้นก็ล้างออกด้วยน้ำอุ่น

นวดนิ้วมือ และเท้าด้วยครีมบำรุงหรือน้ำมันบำรุงผิว ประมาณ 3-5 นาที เพื่อกระตุ้นการไหลเวียนโลหิตบริเวณมือและเท้า ควรนวดบริเวณปลายนิ้ว และเล็บด้วยเพื่อกระตุ้นการทำงานของต่อมสร้างเล็บที่อยู่บริเวณโคนเล็บ ถ้าไม่สะดวกระหว่างวันสามารถทำได้ในช่วงก่อนเข้านอนแล้วสวมถุงมือผ้าและถุง เท้าเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการซึมซาบสู่ใต้ผิวของน้ำมัน หรือครีมบำรุง หรือจะใช้สครับสำหรับนวดเท้า เพื่อการไหลเวียนโลหิตที่ดีขึ้น

ควรทา โลชั่นบำรุงผิวเป็นประจำ ทุกวัน เพราะการทาโลชั่นบำรุงผิวเป็นประจำจะช่วยป้องกันผิวมือไม่ให้หยาบกระด้าง โดยเฉพาะหลังจากที่มือต้องสัมผัสกับสารเคมีต่างๆ เช่น ผงซักฟอก น้ำยาล้างจาน อีกวิธีหนึ่งที่เป็นการป้องกันก็คือ ในช่วงที่ต้องสัมผัสกับสารเคมีต่างๆ ก็ให้สวมถุงมือทุกครั้ง

การล้างเท้า


การ ล้างเท้าไม่ควรใช้น้ำร้อน เกินกว่า 37 องศา ควรใช้ปรอทวัดอุณหภูมิน้ำ ไม่ควรใช้มือลองวัดดู เพราะประสาทรับความรู้สึกไม่ดี น้ำอาจร้อนจนพองได้ ควรใช้สบู่อ่อนๆ ล้างเท้า

การแช่น้ำก่อนตัดเล็บจะทำให้ตัดเล็บได้ง่ายขึ้น ไม่ควรแช่เท้านานเกินกว่า 5-10 นาที เพราะจะทำให้ผิวเปื่อยเกิดเป็นแผลได้
อาจใช้ Ointment เช่น Lanolin หรือ Vasaline ทาได้ แต่ไม่ควรทาบริเวณซอกนิ้ว เพราะถ้าชื้นมากอาจเกิดเป็นแผลเปื่อยได้
ต้องเช็ดเท้าให้แห้งสนิทเสมอ ผู้ที่เหงื่อออกตามเท้าบ่อยๆ จะต้องเปลี่ยนถุงเท้าบ่อยๆ และใส่รองเท้าที่ไม่อบ

หลังอาบน้ำต้องเช็ดเท้าให้แห้งด้วยผ้าที่สะอาดและนุ่ม เช่น ผ้าขนหนู โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณซอกนิ้วเท้า

โภชนาการ

รับ ประทานที่มีประโยชน์ตามหลัก โภชนาการ เพราะเล็บก็เป็นส่วนหนึ่งของร่างกายที่ต้องการสารอาหารเพื่อการเจริญเติบโต เหมือนกัน ส่วนสารอาหารที่เล็บต้องการ เช่น โปรตีน วิตามินเอ ซี และอี รวมถึงแร่ธาตุสังกะสีที่มีอยู่ในอาหารทะเล และเมล็ดธัญพืช

ไม่มีหลัก ฐานทางวิทยาศาสตร์สนับ สนุนเรื่องการกินเจลาตินทำให้เล็บแข็งแรง เล็บประกอบไปด้วยเคราตินแบบเดียวกับเส้นผม แต่เคราตินในเล็บจะหนา และหยาบกว่าในผิวและเส้นผม จึงแข็งกว่า อาหารที่ช่วยให้เส้นผมแข็งแรง จึงสามารถช่วยให้เล็บแข็งแรงได้เช่นกัน

คนที่ชอบทาเล็บ

ทาน้ำยารองพื้นเล็บก่อนทาสี เพื่อป้องกันการเกิดสีที่ไม่พึงประสงค์หลังจากการทาเล็บได้ระยะหนึ่ง

ทา น้ำยาเคลือบเงาเล็บเพื่อความ วาวและติดทนนาน แต่ไม่ควรทาเล็บสีเข้มติดต่อกันนานๆ ควรสลับสีอ่อนบ้าง และควรหยุดพักการทาเล็บเมื่อเห็นว่าสภาพเล็บดูแห้ง หรือเกิดสีผิดปกติ

ใน การเลือกซื้อน้ำยาทาเล็บ ควรคำนึงถึงการเลือกสีให้เหมาะสม ทั้งกับสีผิว โอกาสที่ใช้ สีเสื้อผ้า เครื่องสำอาง และบุคลิกของตัวเอง ยาล้างเล็บที่มีส่วนผสมของอะซีโทนสามารถขจัดเม็ดสีออกจากเล็บได้อย่างมี ประสิทธิภาพ โดยไม่ทิ้งคราบเลอะเทอะตกค้าง ขณะที่น้ำยาล้างเล็บแบบไม่ผสมอะซีโทนจะระเหยช้ามาก และทิ้งฟิลม์เหนียวๆเอา ไว้ข้างหลัง

ศึกษาอ่านฉลากของผลิตภัณฑ์ที่ เลือกใช้ เช่น วันหมดอายุ หรือสังเกตสภาพของผลิตภัณฑ์ว่ายังมีคุณภาพดีหรือไม่ โดยทั่วไปอายุของเครื่องสำอางเล็บอยู่ที่ประมาณ 3 ปี หรือดูจากลักษณะการแยกตัวของสีหากหมดอายุแล้วไม่ควรใช้เด็ดขาด
เคราตินใน เล็บเป็นเคราตินที่ตาย แล้ว จึงไม่ต้องการหายใจ การเคลือบเล็บไม่ว่าจะอะไรก็ตาม ตั้งแต่น้ำยารองพื้นหรือสีทาเล็บ ถือเป็นการปกป้องเล็บจากสภาพแวดล้อมต่างๆได้และป้องกันไม่ให้เล็บแห้งและ เปราะ

เลือกรองเท้า


ควร เลือกรองเท้าให้เหมาะกับรูป ร่างเท้าของเรา โดยควรเลือกรองเท้าที่สวมใส่พอดี ไม่คับ หรือหลวมจนเกินไป เพราะการเสียดสีในขณะที่เดินนานๆ จะทำให้ผิวเท้าเกิดหนังที่แข็งด้าน และการใส่รองเท้าที่คับเกินไปบริเวณปลายเท้าอาจเป็นสาเหตุให้เกิดเล็บขบ เวลาที่เหมาะสมในการเลือกซื้อรองเท้า คือช่วงกลางวันที่เท้าได้เดินจนขยายตัวแล้ว และหลังจากที่ใส่รองเท้าส้นสูงมาตลอดทั้งวัน หลังเลิกงาน ลองแช่เท้าในน้ำอุ่นสัก 10-15 นาที จะช่วยผ่อนคลายอาการเมื่อล้าได้

สำหรับ ผู้ที่เป็นเบาหวาน ควรเลือกใช้รองเท้าที่ถูกสุขลักษณะ รองเท้าจะต้องนิ่ม ด้านบนทำด้วยหนัง ไม่คับหรือหลวมจนเกินไป จนเกิดการเสียดสีเป็นแผล หรือทำให้เลือดไหลเวียนไม่สะดวก

โดยปกติตอนบ่ายเท้าของเราจะบวม ขึ้นเล็กน้อย เพราะใช้งานมาตั้งแต่เช้า ดังนั้น จึงควรเปลี่ยนเป็นรองเท้าที่มีขนาดใหญ่ขึ้นในตอนบ่าย การเปลี่ยนเป็นรองเท้าที่มีขนาดใหญ่ขึ้นในตอนบ่าย จะช่วยให้เท้าแห้ง และสบายเท้าด้วย

รองเท้าที่สวมใส่ควรช่วยให้น้ำหนักตัวกระจายลงทั่วๆ เท้า ไม่ลงที่จุดหนึ่งจุดใด

รองเท้าคู่ใหม่ควรใส่ไม่เกิน 2 ชั่วโมง ในวันแรกๆ ควรเปลี่ยนรองเท้าทุก 5 ชั่วโมง

เท้าเบาหวาน


ผู้ ที่เป็นเบาหวานมานาน เท้าอาจเริ่มมีอาการชา จากปลายเท้าชามากขึ้นเรื่อยๆ ชาตลอดเวลา รู้สึกเหมือนฝ่าเท้าไม่สะอาด เหมือนเหยียบกรวดทราย หลายคนไม่ชาอย่างเดียว ยังปวดแสบปวดร้อนร่วมด้วย ปวดกระตุกตอนกลางคืน พอเคลิ้มจะหลับก็กลับปวดจนตื่น แต่กลางวันไม่ค่อยเป็น อาการเช่นนี้เข้าข่ายปลายประสาทอักเสบถามหา เมื่อเป็นแล้วจะลุกลามไปเรื่อยๆ ทำให้ไม่มีความรู้สึก เวลามีแผลเลือดออกก็ไม่รู้ตัว ไม่รู้สึกปวด แต่จะมีอาการบวมแดง เพราะติดเชื้อรุนแรง และอาจใช้ขาไม่ได้อีกต่อไป

เท้าเบาหวานเกิด อาการดังกล่าว เพราะหลอดเลือด เส้นทางลำเลียงอาหาร ออกซิเจน และสารอื่นๆ เมื่อเกิดการติดเชื้อ หลอดเลือดจะเป็นเส้นทางส่งเม็ดเลือดขาว และอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อต่อสู้ และฆ่าเชื้อโรคให้แผล หายเร็วขึ้น แต่จากผลต่อเนื่องของการเป็นเบาหวานที่ยาวนาน ทำให้หลอดเลือดมีปัญหา ทั้งตีบ ทั้งขรุขระ และเป็นหลุมเป็นบ่อ ส่งผลให้แผลไม่หาย กลายเป็นแผลเรื้อรัง เส้นเลือดยังอุดตันจากผลการอักเสบเกิดเป็นเนื้อเน่าตาย เชื้อโรคร้ายลุกลามถึงกระดูก และสุดท้ายก็ถูกตัดขาเพื่อรักษาชีวิตไว้

อันตราย จากเบาหวานกับเท้าที่พึง ตระหนักไว้เสมอ คือ เบาหวานทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนของปลายประสาทอักเสบ และหลอดเลือดแดงตีบ ปลายประสาทอักเสบนำไปสู่การเกิดแผลที่เท้าได้ง่าย เบาหวานทำให้ติดเชื้อได้ง่าย หลอดเลือดแดงตีบทำให้การอักเสบลุกลามง่าย แผลหายยาก เมื่อเกิดเนื้อตาย เชื้อกินถึงกระดูก โอกาสถูกตัดเท้าสูง

วันพุธที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

วิธีดูแลรักษา แปรงสีฟัน



แปรงสีฟันที่ใช้กันเป็นประจำ อาจเป็นที่รวมตัวของเชื้อแบคทีเรีย วันนี้เกร็ดความรู้มีวิธีดูแลรักษาแปรงสีฟันมาฝากกัน...

วิธีดูแลรักษาแปรงสีฟัน

- อย่าใช้แปรงสีฟันร่วมกัน เพราะการใช้แปรงร่วมกัน โอกาสสัมผัสกับน้ำลาย เลือด ของอีกคนได้ง่ายมาก ๆ เสี่ยงต่อการติดเชื้อโดยตรง

- ล้างขนแปรงด้วยน้ำก๊อก หลังจากแปรงฟันเสร็จ เพื่อเอายาสีฟันที่ค้างและสิ่งสกปรกออก แล้ววางให้ตั้งตรง ให้ขนแปรงถูกอากาศพัดให้แห้ง หากมีแปรงหลายอัน ก็อย่าให้ขนแปรงมาชนกันหรือสัมผัสกันเพื่อป้องกันการปนเปื้อน

- อย่าเก็บแปรงในกล่องปิด เพราะแบคทีเรียจะเจริญเติบโตได้ดีในที่ชื้น ๆ แต่ถ้าขนแปรงถูกอากาศ ก็จะไม่เปียก แบคทีเรียไม่ชอบ

- ควรเปลี่ยนแปรงสีฟันทุก ๆ 3-4 เดือน อย่าใช้แปรงจนขนแปรงบาน เพราะประสิทธิภาพในการขจัดเอาเศษอาหารจะลดลง แถมยังอาจทำร้ายเหงือกอีกด้วย

รู้อย่างนี้แล้วก็เก็บรักษาแปรงสีฟันให้ดี ๆ เพื่อห่างไกลจากแบคทีเรีย

วันจันทร์ที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

การทำพายบลูเบอร์รี่



ส่วนผสม :
1. บลูเบอร์รี่ 1 กระป๋อง
2. เนยสด 250 กรัม
3. แคร็คเกอร์(บด) หรือจะใช้เป็นโอรีโอ้ ก็ได้ 4 ถ้วย
4. ครีมชีส (สีขาว) 2 ก้อน
5. น้ำมะนาว 2 ช้อนโต๊ะ
6. ครีมข้นชนิดธรรมดา 2 กระป๋อง

วิธีทำ :
1. นำ Cracker บทดแล้วนำมาผสมกับเนยเคล้าให้เข้ากัน แบ่งเป็นสองส่วนเพราะ Blueberry 1 กระป๋องทำได้ 2 ถาด แผ่แป้งให้เต็มถาดกดให้เรียบ แล้วนำเข้าอบพอสุก นำออกมาทิ้งให้เย็น
2. Cream Cheese กับครีมข้นชนิดธรรมดา ตีให้เข้ากันช้าๆ ใส่น้ำมะนาว แล้วตีเข้ากันพอประมาณจนเข้ากันได้ดี
3. ใส่ Cream Cheese ที่ผสมดีแล้วใส่ลงในแป้งที่เย็นดีแล้ว ใช้ไม้พายเกลี่ยให้ทั่วแป้ง
4. ใส่ Blueberrry แล้วนำเข้าตู้เย็น เวลาจะรับประทานให้ตัดนำมาตัดแบ่งไป

เพียงเท่านี้เราก็ได้ พายบลูเบอร์รี่ ที่แสนอร่อยไว้รับประทานกันแล้ว ทานกับกาแฟก็อร่อยไม่เบา เพราะว่าเนื้อแป้งจะมีรสเค็ม Cream Cheese มะนาวจะมีรสเปรี้ยว ส่วน Blueberry จะมีรสหวาน ทุกอย่างช่างลงตัวจริง

ต้นกำเนิดโดเรมอน (Doraemon)



Doraemon (โดราเอมอน)

โดราเอมอน หรือ โดเรมอน เป็นตัวละครจากการ์ตูนเรื่องโดราเอมอน เป็นหุ่นยนต์แมวจากโลกอนาคต ในยุคคริสต์ศตวรรษที่ 22เกิดวันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2655 (ค.ศ. 2112) ลักษณะตัวอ้วนกลมสีฟ้า (เมื่อแรกเกิดมามีสีเหลือง) ไม่มีใบหู เนื่องจากถูกหนูแทะ มีหน้าที่เป็นหุ่นยนต์พี่เลี้ยงซึ่งคนที่ซื้อโดราเอมอนมาคือเซวาชิเหลนชาย ของโนบิตะ วันหนึ่งเซวาชิเกิดอยากรู้สาเหตุที่ฐานะทางบ้านยากจน จึงได้กลับไปในอดีตด้วยไทม์แมชชีน จึงได้รู้ว่าโนบิตะ (ผู้เป็นปู่ทวด) เป็นตัวต้นเหตุ เซวาชิจึงได้ตัดสินใจให้โดราเอมอนย้อนเวลาไปคอยช่วยเหลือดูแลเวลาโนบิตะโดน แกล้งโดยใช้ของวิเศษที่หยิบจากกระเป๋าสี่มิติ

โดราเอมอนเคยได้รับเลือกจากนิตยสารไทม์เอเชีย ให้เป็นหนึ่งในวีรบุรุษของทวีปเอเชีย และในวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2551 มาซาฮิโกะ คามูระ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของญี่ปุ่น ได้แต่งตั้งให้โดราเอมอนเป็นทูตสันถวไมตรีอย่างเป็นทางการ เพื่อช่วยในการประชาสัมพันธ์วัฒนธรรมของประเทศ โดยนับเป็น "ทูตแอนิเมชัน" ตัวแรกของประเทศญี่ปุ่น

แรงบันดาลใจ

ตัวละครโดราเอมอนนั้น ได้รับแรงบันดาลใจเมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2512 เนื่องจากนักวาดการ์ตูนทั้ง 2 ฟูจิโกะ ฟูจิโอะ ได้ลงโฆษณาการ์ตูนเรื่องใหม่ของเขาทั้งสองไว้ว่าจะมีตัวเอกที่ออกมาจาก ลิ้นชัก ในนิตยสารการ์ตูนฉบับต้อนรับปีใหม่ แต่ในความจริงแล้วทั้งสองยังไม่มีไอเดียเกี่ยวกับการ์ตูนเรื่องนี้แม้แต่ น้อยเลย เมื่อใกล้ถึงเวลาส่งต้นฉบับก็ยิ่งเพิ่มแรงกดดันให้กับทั้งสองเป็นอย่างมาก

ฮิโรชิ ฟุจิโมโตะ หนึ่งในนักวาดการ์ตูน ได้เผอิญเห็นแมวจรจัดที่มักแอบเข้ามาเล่นที่บ้านของตนเองเป็นประจำ เขามักจะชอบจับแมวตัวนี้มาหาหมัด จนเวลาล่วงเลยมาถึง 4.00 น. ก็ยังไม่มีไอเดียเกี่ยวกับการ์ตูนเรื่องใหม่ ทำให้ฮิโรชิโมโหตัวเองเป็นอย่างมาก และคิดเลยเถิดไปว่าโลกนี้น่าจะมีไทม์แมชชีน เพื่อย้อนเวลากลับไปแก้ไขอดีต หลังจากนั้นฮิโรชิได้เผลอหลับไปด้วยความอ่อนล้า เมื่อเขาสะดุ้งตื่นขึ้นมา ทำให้เขาตกใจว่าตนเองเผลอหลับไป จึงรีบวิ่งลงจากบันไดบ้านไปสะดุดกับตุ๊กตาล้มลุกญี่ปุ่นของลูกสาวที่ตกอยู่ บนพื้น

เหตุนี้เองทำให้ฮิโรชิเกิดไอเดียขึ้นโดยนำหน้าแมวจรจัดมาผสมกับตุ๊กตา ญี่ปุ่น สร้างออกมาเป็นตัวละครหุ่นยนต์แมวจากอนาคตคอยช่วยเหลือเด็กชายที่แสนจะไม่ ได้เรื่อง และตั้งชื่อว่า โดราเอมอน เป็นคำผสมระหว่าง "โดราเนโกะ" กับ "เอมอน" ในภาษาญี่ปุ่น โดราเนโกะนั้นแปลว่าแมวหลงทาง ส่วนคำว่า "เอมอน" เป็นคำเรียกต่อท้ายชื่อของเด็กชายในสมัยก่อนของประเทศญี่ปุ่น

ต้นกำเนิดของโดราเอมอน

โดราเอมอนถูกผลิตขึ้นในโรงงานสร้างหุ่นยนต์ที่เมืองโตเกียว เมื่อวันที่ 3 กันยายน ค.ศ. 2112 (พ.ศ. 2655) แต่ในระหว่างการผลิตเกิดข้อผิดพลาดขึ้น ทำให้โดราเอมอนมีคุณสมบัติไม่เหมือนหุ่นยนต์แมวตัวอื่น ต้องเข้ารับการอบรมในห้องเรียนคลาสพิเศษของโรงเรียนหุ่นยนต์ (และได้พบกับเพื่อนๆ แก๊ง ขบวนการโดราเอมอน ที่นั่น) จนกระทั่งวันหนึ่ง ในงาน "โรบ็อต ออดิชัน" ซึ่งเป็นงานที่จัดให้มีการแสดงความสามารถของหุ่นยนต์ที่ได้ผ่านการอบรมแล้ว ด้วยความซุกซนของเซวาชิในวัยเด็ก เขาจึงได้กดปุ่มเลือกซื้อโดราเอมอนมาไว้ที่บ้าน ด้วยเหตุนี้ โดราเอมอนจึงได้มาอยู่อาศัยที่บ้านของเซวาชิ ในฐานะของหุ่นยนต์เลี้ยงเด็ก แต่ในต้นฉบับดั้งเดิมนั้นจะแตกต่างกัน คือ โดราเอมอนได้ถูกนำไปขายทอดตลาด เพราะเป็นสินค้าไม่ได้คุณภาพ จากนั้นพ่อแม่ของเซวาชิจึงมาซื้อโดราเอมอนไปไว้ที่บ้าน

แต่เดิมนั้นตัวโดราเอมอนมีสีเหลือง และมีหู แต่แล้วในวันที่ 30 สิงหาคม ค.ศ. 2122 ขณะที่โดราเอมอนหลับอยู่นั้น ใบหูก็โดนหนูแทะจนแหว่งไปทั้ง 2 ข้าง และไม่สามารถซ่อมแซมให้เหมือนเดิมได้ หลังจากรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล หุ่นยนต์แมว "โนราเมียโกะ" แฟนสาวของโดราเอมอนก็มาเยี่ยม แต่พอทราบว่าโดราเอมอนไม่มีหู เหลือแต่หัวกลม ๆ โนราเมียโกะถึงกับหัวเราะเป็นการใหญ่ ทำให้โดราเอมอนเสียใจเป็นอย่างมาก แต่ก็พยายามทำใจด้วยการดื่มยาเสริมกำลังใจ แต่ว่าโดราเอมอนหยิบผิดกินยาโศกเศร้าแทน ทำให้โศกเศร้ากว่าเดิม และเริ่มร้องไห้ไม่หยุดอยู่ริมชายหาด3วัน3คืน จนสีลอกเปลี่ยนเป็นสีฟ้าอย่างที่เราคุ้นเคยกันในปัจจุบัน หลังจากนั้นโดราเอมอนจึงเกลียดและกลัวหนูเป็นอย่างมาก และไม่ค่อยมีความมั่นใจในตัวเองเกี่ยวกับเรื่องความรัก

นอกจากนั้น โดราเอมอนยังมีน้องสาวชื่อโดรามี ที่จริงก็แค่ใช้เศษเหล็กแบบเดียวกันในการผลิต แต่โดเรมีใช้น้ำมันรุ่นใหม่ ขณะที่ผลิตโดราเอมอนอยู่ได้ทำชิปหล่นหายไป 1 ส่วน จึงทำให้หยิบของวิเศษผิดพลาดบ่อยๆ

ข้อมูลจำเพาะของโดราเอมอน

เป็นความตั้งใจของผู้วาดการ์ตูนที่ใช้ตัวเลข 3-9-12 กับตัวละครนี้ โดราเอมอนจึงมีอะไรหลายอย่างเกี่ยวกับตัวเลขชุดนี้

มีน้ำหนัก 129.3 กิโลกรัม
ความสูง 129.3 เซนติเมตร (แต่เวลานั่ง จะเหลือ 100 เซนติเมตร)
กระโดดได้สูง 129.3 เซนติเมตร (เวลาเจอหนู)
มีพละกำลัง 129.3 แรงม้า
วัดรอบหัว รอบอก รอบเอวได้ 129.3 เซนติเมตร
วิ่งปกติในระยะ 50 เมตรใช้เวลา 15 วินาที แต่ถ้าเจอหนูจะวิ่งได้เร็วถึง 129.3 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
วันที่ผลิตคือ ปีที่ 12 เดือน 9 วันที่ 3 (เรียงแบบปฏิทินญี่ปุ่น)

ส่วนประกอบในร่างกาย

เนื่อง จากเป็นหุ่นยนต์แมวที่ผลิตขึ้นในอนาคตคือคริสต์ศตวรรษที่ 22 ตามจินตนาการของผู้แต่ง ส่วนประกอบในร่างกายของโดราเอมอนจึงเต็มไปด้วยเทคโนโลยีขั้นสูง ซึ่งมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้

หัว
โดราเอมอนเป็นหุ่นยนต์ แมวที่มีการติดตั้งชิปคอมพิวเตอร์ในหัว ทำให้มีความรู้สึกนึกคิด สามารถพูดภาษามนุษย์ (ภาษาญี่ปุ่น) และพูดภาษาแมวได้ แต่ภาษาอื่นๆ นอกจากภาษาญี่ปุ่น และภาษาสัตว์อื่นๆ จะฟังไม่รู้เรื่อง จึงต้องพึ่ง "วุ้นแปลภาษา" กับ "หูฟังภาษาสัตว์" แทน อีกทั้งยังสมองไม่ไวเท่าที่ควร เวลาคำนวณเลขยากๆ จึงต้องใช้กระดาษทด หรือเครื่องคิดเลขช่วย นอกจากนี้ หัวของโดราเอมอนยังแข็งราวกับหิน ซึ่งเขาถือว่าเป็นอาวุธลับขั้นสุดท้ายของตัวเอง โดยสามารถเอาหัวโขกจนประตูพังได้ และวิ่งกระโจนเอาหัวพุ่งใส่แทงค์แก๊ส จนแทงค์เป็นรูเสียหาย (แต่ตนเองก็หมดสติไปเลยเช่นกัน)

ใบหน้า
ใบหน้าของโดรา เอมอน มีลักษณะเป็นทรงกลม จมูกกลมสีแดง และมีหนวด 6 เส้น ดูคล้ายกับแมว แต่คนอื่นๆ มักเข้าใจผิดคิดว่าเป็นทานูกิ หรือแรคคูน ซึ่งโดราเอมอนจะไม่พอใจทุกครั้งที่ถูกเรียกแบบนั้น

ตา
ตาแสงอินฟราเรด สามารถมองเห็นได้แม้แต่ในที่มืด

จมูก
มีลักษณะเป็นลูก กลมๆ สีแดง เหมือนกับปลายหาง รับรู้กลิ่นได้ไวกว่ามนุษย์ 20 เท่า แต่ปัจจุบันชำรุด จึงสามารถดมกลิ่นได้เท่าจมูกคนเท่านั้น

หนวด
มี 6 เส้น เป็นหนวดเรดาร์ สามารถจับวัตถุระยะไกลได้ แต่อยู่ระหว่างรอซ่อมแซม

ร่างกาย
ผิวหนังเป็น โลหะผสมพิเศษต้านแรงดึงดูด ทำให้ฝุ่นละอองไม่สามารถจับเกาะได้ นอกจากนี้ยังมีความทนทานสูง แม้อยู่ในอวกาศหรือใต้ทะเลลึกก็ไม่เป็นปัญหา โดนของเหลวคล้ายกรดสาดใส่ก็ไม่ละลาย แต่ก็มีข้อเสียหลายอย่างเช่นกัน คือ แพ้อากาศร้อน และแพ้อากาศหนาว จนถึงขั้นเป็นหวัดได้ หากโดนไฟฟ้าช็อตก็จะเสียหาย

มือ
รูปร่างกลมสีขาวไม่มีนิ้วมือ จึงไม่สามารถเล่นพันด้าย และเป่ายิ้งฉุบได้ เล่นบาร์โหนก็ไม่ถนัด แต่สามารถดูดจับสิ่งของได้ทุกอย่าง

ปาก
ปากขนาดกว้าง สามารถรับประทานได้ทุกอย่าง โดยจะเปลี่ยนเป็นพลังงานปรมาณู ภายในปากจะมีฟันที่เรียกว่า "ฟู้ดคัตเตอร์" ซึ่งจะปรากฏให้เห็นเฉพาะเวลาที่โดราเอมอนโกรธจนต้องยิงฟันเท่านั้น แต่ในตอนพิเศษ "ไดโนเสาร์ของโนบิตะ 2006" โดราเอมอนกลับถูกวาดให้มองเห็นซี่ฟันอย่างชัดเจน

กระพรวน
ไว้ห้อยคอ มีสีเหลือง ส่วนสายคาดมีสีแดง เมื่อสั่นกระพรวนจะสามารถเรียกแมวที่อยู่ใกล้เคียงมาชุมนุมกันได้ โดยจะปล่อยคลื่นเสียงพิเศษ แต่ตอนนี้ใช้งานไม่ได้ ปัจจุบันจึงได้เปลี่ยนชิ้นส่วนใหม่เพื่อใช้งานเป็นกล้องถ่ายรูปขนาดเล็กแทน

กระเป๋าหน้าท้อง
เป็น กระเป๋าสี่มิติ ไว้สำหรับเก็บของวิเศษ พื้นที่เก็บของไม่มีจำกัด สามารถถอดไปทำความสะอาดได้ โดยระหว่างนั้นจะนำกระเป๋าสี่มิติใบสำรอง หรือที่มักเรียกว่า "กระเป๋าสำรอง" มาใช้แทน ซึ่งกระเป๋าทั้งสองจะมีมิติเชื่อมต่อกัน ของที่เอาใส่ในกระเป๋าใบหนึ่ง จะสามารถนำออกมาจากกระเป๋าอีกใบหนึ่งได้

เท้า
ลักษณะแบนเรียบ สีขาว มีพลังต้านแรงดึงดูด ส่งผลให้เท้าอยู่ลอยจากพื้น 3 มิลลิเมตร เลยไม่จำเป็นต้องใส่รองเท้าเพราะไม่มีฝุ่นผงติดเท้า เดิมทีเท้าของโดราเอมอนจะเป็นแบบที่สามารถเดินได้โดยไม่มีเสียงเหมือนกับแมว ย่อง แต่ปัจจุบันชำรุดไปแล้ว ทำให้เวลาเดินจึงมีเสียงจากแรงเสียดสีกับอากาศ สำหรับเวลาขี่จักรยานต้องใช้ปากจับแฮนด์ และใช้มือถีบที่ปั่นจักรยานแทน เนื่องจากขาหยั่งไม่ถึง

หาง
เป็นสวิตช์ปิด-เปิด ถ้าถูกดึง ทุกอย่างจะหยุดทำงาน โดราเอมอนสามารถดึงหางเพื่อปิดสวิตช์ตัวเอง แต่ไม่สามารถดึงเพื่อเปิดเองได้

สิ่งที่ชอบ-เกลียด

สิ่งที่ชอบที่สุดคือขนมหวานญี่ปุ่นที่เรียกว่า โดรายากิ (แป้งทอด) โดยสามารถกินโดรายากิขนาดใหญ่ที่สุดในโลก (ขนาดใหญ่เท่าห้องของโนบิตะ) ได้คนเดียวหมด และเคยชนะเลิศการแข่งขันกินโดรายากิเร็วมาแล้ว และเพียงแค่ไม่ได้กินโดรายากิติดต่อกัน 3 วัน ก็แทบจะทนมีชีวิตอยู่ไม่ได้ สาเหตุที่ชอบกินโดรายากินั้น เป็นเพราะสมัยอยู่ในศตวรรษที่ 22 โดราเอมอนเคยได้รับโดรายากิจากแมวสาว "โดราเมียวโกะ" มันจึงกลายเป็นของโปรดของเขามาตั้งแต่บัดนั้น เขาสามารถทำได้ทุกอย่างโดยไม่เลือกวิธีการเพื่อให้ได้โดรายากิมา หากได้ยินว่ามีร้านค้าร้านไหนที่ขายโดรายากิลดราคาก็จะรีบบึ่งไปซื้อมาใน ทันที ซึ่งจากความชอบจนกลายเป็นของโปรดนี้เอง จึงทำให้โดราเอมอนให้ความสำคัญกับเรื่องรสชาติความหวานของโดรายากิเป็นอย่าง มาก จนถึงกับเคยมีเรื่องถกเถียงกับเจ้าของร้านขายขนมมาแล้ว หลังจากที่ทางร้านทำโดรายากิออกมาหวานเกินไป

นอกจากโดรายากิแล้ว อาหารอย่างอื่นที่โดราเอมอนชอบก็คือ ขนมโมจิ ซึ่งเคยได้กินในตอนแรกสุด ที่เพิ่งเดินทางมาหาโนบิตะด้วยไทม์แมชชีน โดยเมื่อโดราเอมอนได้กิน ก็บอกว่า อร่อยมาก ขนาดกินจนหมดแล้วยังถึงกับเลียจานเลยทีเดียว

ส่วนสิ่งที่โดราเอมอนเกลียดและกลัวที่สุดคือ หนูเพราะเคยโดนหนูกัดหูจนหูแหว่งไปทั้ง 2 ข้างตอนหลับ นอกจากนั้นยังกลัวแฮมสเตอร์ด้วย เพราะโดราเอมอนถือว่าเป็นสัตว์ในตระกูลเดียวกับหนู

ตอนจบของโดราเอมอน

พล็อตเรื่อง โดราเอม่อนตอนจบนั้น ตามที่ได้ทราบกันดีนั้น คือมีที่มาจากฟิกชั่น ที่ถูกเผยแพร่ผ่านทางอินเทอร์เน็ต ทั้งในรูปแบบ แฟนฟิคชั่น ข่าวลือ หรือ เมล์ลูกโซ่ โดย พล็อตนั้นก็มีหลายหลาย ส่วนมากที่พบจะเกี่ยวกับ ความตาย, ความฝัน, อุบัติเหตุ ซึ่งที่พบเห็นบ่อย ก็จะมีอยู่ใน 3 รูปแบบ คือ

* โนบิตะ เป็นคนสร้างโดราเอม่อน
* โนบิตะ ป่วยเป็นโรคร้ายแรง
* เรื่องทั้งหมดของโดราเอม่อน เป็นเรื่องที่โนบิตะฝันไปเอง

ซึ่งที่ยังหลงเหลือในปัจจุบัน คือพล็อตแรก โนบิตะเป็นคนสร้างโดราเอม่อน และ โนบิตะป่วยเป็นโรคร้ายแรง+ฝันเรื่องโดราเอม่อนไปเอง แต่อย่างไรก็ดี โดราเอม่อนตอนจบทุกแบบนั้น ล้วนแต่เป็นเพียงเสียงเล่าอ้าง และไม่มีหลักฐานใดๆอย่างชัดเจน

จริงแล้วนั้นโดราเอม่อนนั้นเคยจบไปแล้วหนึ่งครั้ง ในจะเป็นตอนสุดท้ายของรวมเล่ม ที่ 6 ชื่อตอนว่า ลาก่อนโดราเอม่อน แต่สุดท้ายแล้ว เนื่องด้วยเหตุผลหลายประการ ทั้งแฟนๆ และ อ.ฟุจิโกะผู้เขียน โดราเอม่อนก็จึงได้กลับมาใหม่อีกครั้ง

ที่มาของโดจินชิ โดราเอม่อน ตอนจบ การ์ตูนชุดนี้เป็นงานโดจินชิ (การ์ตูนทำมือ) ที่วาดโดย อ.ทะจิม่า ยาสุเอะ (Tajima Yasue) ในชื่อกลุ่ม ว่า GA-FAKE COTERIE โดยใช้โครงเรื่องจากฟิกชั่นเกี่ยวกับตอนจบของโดราเอม่อน ที่แพร่กระจายตามเมล์ลูกโซ่ (หรือที่บ้านเราเรียกกันว่า Forward Mail) ซึ่งเริ่มวางขายครั้งแรกในงาน Comic Market ฤดูร้อน ครั้งที่ 68 ช่วงวันที่ 12-13 สิงหาคม 2548

และหลังจากนั้น ในงาน Comic Market ครั้งต่อมา (C69) ฤดูหนาว ช่วงวันที่ 29-30 ธันวาคม 2548 ผลงานชิ้นนี้ก็ได้รับความสนใจจากแฟนๆโดราเอม่อน จนเริ่มมีการเผยแพร่ผ่านอินเทอร์เน็ตเป็นที่กว้างขวาง และปัจจุบันก็ยังมีผู้ให้ความสนใจ จนหนังสือขาดตลาด และต้องพิมพ์ซ้ำอีกครั้ง

แต่อย่างไรก็ตาม ผลงานนี้เป็นเพียงที่เขียนเพื่อเป็นที่ระลึกในการสร้างอะนิเมะฉบับหนังโรง (โนบิตะกับพีสุเกะ 2006)ด้วยความที่เป็นแฟนโดราเอมอนของ อ.ทะจิม่า เท่านั้น เพราะฉะนั้นตอนจบที่แท้จริงของโดราเอมอนจึงไม่มีแต่อย่างใด ซึ่งนับว่าหาได้ยากและถือเป็นการ์ตูนในตำนานเรื่องหนึ่งเลยทีเดียว

วันศุกร์ที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ต้นกำเนิดของ หวานเย็น


วันหนึ่งในช่วงฤดูหนาว ปี ค.ศ.1905 เด็กชายแฟรงก์ เอ็มเพอร์สั (Frank Epperson) อายุ 11 ปี ได้ผสมโซดาป๊อบกับน้ำทำกินเล่น ด้วยความบังเอิญ เขาลืมส่วนผสมโซดาป๊อบกับไม้คนทิ้งไว้ที่ระเบียงหลังบ้านทั้งคืน รุ่งเช้าแฟรงก์พบส่วนผสมโซดาป๊อบกลายเป็นแท่งน้ำแข็งที่มีไม้เสียบไปแล้ว เขาดึงแท่งไม้ที่มีแท่งน้ำแข็งแสนอร่อยหุ้มอยู่ออกมาจากภาชนะ แฟรงก์รู้ว่าตนเองได้ค้นพบอะไรบางอย่างที่น่าตื่นเน้นและเข้าท่าเสียแล้ว โดยความบังเอิญแท้ๆ


แฟรงก์เรียกเจ้าสิ่งนี้ในครั้งแรกว่า "เอ๊พเพอร์สัน ไอซิเคิ้ล" (Epperson Icicle) ต่อมาเขาเปลี่ยนชื่อเรียกใหม่ว่า "เอ๊พซิเคิล" (Epsicle) แต่นั้นมาในฤดูร้อน เขาจะทำเจ้าเอ๊พซิเคิลในกล่องน้ำแข็งที่บ้าน เป็นแท่งหวานเย็นออกขายให้กับเพื่อนบ้านในละแวกนั้น ราคาแท่งละ 5 เซนต์ เป็นที่ถูกอกถูกใจชาวบ้าน แฟรงก์เรียกผลิตภัณฑ์ตัวใหม่นี้อีกครั้งว่า "ป๊อปซิเคิล" (popsicle) เพราะมันทำมาจากโซดาป๊อบ


และแล้วเจ้าหวานเย็นนี้ก็ได้แพร่ไปทั่วโลก แม้แต่ในเมืองไทยก็นิยมกินกันมาก ตั้งแต่ 40 ปีที่แล้วเป็นต้นมา

วันพุธที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

วันพืชมงคล



วันพืชมงคล หมายถึง วันพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ซึ่งเป็นพระราชพิธีที่สืบทอดมาแต่โบราณ เพื่อเป็นศิริมงคลแด่พืชพันธ์ธัญญาหาร บำรุงขวัญเกษตรกรและเตือนให้เริ่มเพาะปลูกข้าวและพืชไร่อันเป็นธัญญาหารหลัก ในการดำรงชีวิตของชาวไทย

ความเป็นมา

พระราชพิธีมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ในสมัยโบราณคงจะเป็นพิธีที่มีความมุ่งหมายเพื่อบำรุงขวัญและเตือนให้เริ่ม เพาะปลูกพืชผลโดยเฉพาะคือการทำนา ซึ่งเป็นธัญญาหารหลักสำคัญยิ่งของการดำรงชีวิต ผู้ปกครองหรือผู้เป็นประมุขของประเทศเมื่อถึงฤดูกาลที่ควรจะเริ่มลงมือเพาะ ปลูกพืชผลจึงต้องประกอบกรณียกิจเป็นผู้นำโดยลงมือไถ หว่าน พืชพันธุ์ธัญญาหารเป็นตัวอย่างเพื่อเตือนว่าถึงเวลาประกอบการเพาะปลูกตามฤดู กาล

ต่อมากาลเวลาได้เปลี่ยนแปลงไป ได้มีการพิธีเรียกว่า จรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ซึ่งพราหมณ์ผู้เป็นเจ้าลัทธิส่งเสริมการให้มีอำนาจและความสวัสดีต่าง ๆ เป็นผู้แนะนำประกอบพิธีตามลัทธิไสยศาสตร์ของพราหมณ์ในพิธีนี้พระมหากษัตริย์ หรือประมุขของประเทศ อาจจะทรงมีพระราชภารกิจอื่น จึงโปรดแต่งตั้งข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ที่ใกล้ชิดให้ทำแทนพระองค์ เรียกว่า พระยาแรกนา ทำหน้าที่ไถ หว่านธัญญพืช พระมหาสีหรือชายาที่เคยร่วมการไถ หว่าน ก็เปลี่ยนเป็นจัดให้นางใน คือท้าวนางในราชสำนักออกไปทำหน้าที่หาบกระบุงพันธุ์พืชช่วยพระยาแรกนาไถ หว่าน เรียกว่า เทพี

พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญมีมานานนับพัน ๆ ปี และมีเกือบทุกชาติ เช่น จีน อินเดีย เป็นต้น สำหรับประเทศไทยมีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยและสืบต่อมาในสมัยอยุธยาจนถึงสมัย รัตนโกสินทร์ พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญที่ทำในรัชกาลที่ ๑ ที่ ๒ และที่ ๓ เป็นพิธีพราหมณ์ตามแบบในสมัยอยุธยา ไม่มีพิธีสงฆ์ประกอบ

ครั้งถึงแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ทรงพระราชดำริโปรดให้มีพิธีสงฆ์ทางพระพุทธศาสนาร่วมประกอบในพิธีด้วยเพื่อ เป็นสิริมงคลแก่พืชพันธุ์ธัญญาหารที่นำเข้ามาตั้งในมณฑลพิธี แล้วจึงนำไปไถหว่านในการแรกนาขวัญ เรียกพระราชพิธีในตอนนี้ว่า พืชมงคล เมื่อรวม ๒ พิธีแล้ว เรียกว่า พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ เป็นราชประเพณีสืบมาโดยจัดเป็นงาน ๒ วัน วันแรกเป็นพระราชพิธีพืชมงคลซึ่งเป็นพิธีสงฆ์ วันรุ่งขึ้นเป็นพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญซึ่งเป็นพิธีพราหมณ์

พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญเป็นพิธีสิริมงคล เพื่อบำรุงขวัญแก่เกษตรกร จึงเป็นวันที่มีความสำคัญ โบราณจารย์จึงได้วางหลักเกณฑ์ให้ประกอบพิธีในวันดีที่สุดของแต่ละปี ประกอบด้วย ขึ้นแรม ฤกษ์ยาม ให้ได้วันอันเป็นอุดมฤกษ์ตามตำราโหราศาสตร์แต่ต้องอยู่ในระหว่างเดือน ๖ โดยมีประเพณีต้องหาฤกษ์ตามตำราทางจันทรคติ พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญจึงไม่ได้กำหนดวันเวลาไว้ตายตัวตามปรกติ แล้วจะตกอยู่ในระหว่างเดือนพฤษภาคม การที่ต้องกำหนดให้อยู่ในเดือน ๖ ก็เพราะเดือนนี้เริ่มจะเข้าฤดูฝนเป็นระยะเวลาเหมาะสมสำหรับเกษตรกร ชาวไร่ ชาวนา จะได้เตรียมทำนาอันเป็นอาชีพหลักสำคัญของชาวไทยมาแต่โบราณ เมื่อโหรหลวงคำนวณได้วันอุดมมงคลพระฤกษ์ที่จะประกอบพระราชพิธีจรดพระนังคัล แรกนาขวัญแล้ว สำนักพระราชวังจะได้ลงไว้ในปฏิทินหลวงที่พระราชทานในวันขึ้นปีใหม่ทุกปี และได้ลงกำหนดไว้ว่า วันใดเป็นวันพืชมงคล วันใดเป็นวันจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ วันแรกนาขวัญเป็นวันสำคัญของชาติ คณะรัฐมนตรีมีมติให้หยุดราชการ ๑ วัน และมีประกาศให้ชักธงชาติตามระเบียบทางราชการ

พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญได้ปฏิบัติเป็นราชประเพณีตลอดมาจนถึง พ.ศ. ๒๔๗๙ แล้วได้เว้นว่างไป ต่อมา พ.ศ. ๒๔๘๓ ทางรัฐบาลสั่งให้กำหนดมีการพระราชพิธีเฉพาะแต่พืชมงคล ที่พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ตามราชประเพณีที่เคยปฏิบัติมา

พระราชพิธีพืชมงคลเป็นส่วนประกอบเพื่อสิริมงคลแก่พันธุ์พืชสำหรับนำไปใช้ใน การพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ กำหนดงานก่อนวันพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ๑ วันมีอ่านประกาศถึงความสำคัญที่จะเริ่มพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ในประกาศนั้นอ้างหลักธรรมทางพุทธศาสนาสมัยพุทธกาลคราวเกิดฝนแล้ง ด้วยพุทธานุภาพทรงบันดาลให้ฝนตก ทำนา ทำไร่ หว่านพืชผลได้ตามปรกติ และกล่าวถึงตำนานการสร้างพระคันธาราษฎร์อันเกี่ยวด้วยพุทธานุภาพที่ทรง บันดาลให้มีฝนตกจึงได้สร้างขึ้น ณ เมืองคันธาราษฎร์ครั้งอดีตกาล แล้วประกาศสดุดีเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกองค์ปฐม กษัตริย์ ที่ได้ทรงสร้างพระพุทธคันธาราษฎร์ขึ้นไว้เพื่อประกอบการพระราชพิธีจรดพระ นังคัลแรกนาขวัญตามตำนานที่มีมาแต่โบราณกาล ซึ่งเป็นราชประเพณีที่ พระมหากษัตริย์ทรงอนุวัติจัดงานพระราชพิธีนี้สืบมา สุดท้ายประกาศถวายพระพรชัยมงคล และขออำนาจคุณพระศรีรัตนตรัยสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เคารพบูชาเทพยดาทั้งปวง ประสิทธิประสาทให้พืชพันธุ์ธัญญาหารในราชอาณาจักรอุดมสมบูรณ์งอกงามเจริญดี ตลอดจนขอให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล จบประกาศแล้ว พระสงฆ์ ๑๑ รูปเจริญพระพุทธมนต์เป็นคาถาพิเศษสำหรับพืชมงคลโดยเฉพาะเพื่อเสกพืชพันธุ์ ต่าง ๆ ที่ได้นำมาตั้งเข้าพิธีมณฑล มีข้าวเปลือกพันธุ์ต่าง ๆ ถั่วทุกชนิด ข้าวโพด งา ฟัก แฟง แตงกวา เผือก มัน ฝ้าย เป็นต้น

ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๐๓ เลขาธิการพระราชวังพระบรมราชโองการเหนือเกล้าฯ สั่งว่าพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ แต่เดิมจัดเป็นงาน ๒ วันแล้วได้ระงับไปคงได้แต่พิธีพืชมงคลจัดเป็นงานประจำทุกปี สำหรับปี พ.ศ. ๒๕๐๓ ทางรัฐบาลเห็นควรจัดให้มีการแรกนาขวัญขึ้นอย่างเดิมเพื่อรักษาบูรพประเพณี อันเป็นมิ่งขวัญของการเกษตรไว้สืบต่อไป สำนักพระราชวังและกระทรวงเกษตรจึงได้กำหนดงานพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนา ขวัญ ตามราชประเพณีเดิมขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๓ จนถึงปัจจุบันนี้ และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเป็นประธานการพระ ราชพิธีทุกปี ทรงมีพระราชกระแสให้ปรับปรุงพระราชพิธีเพื่อความเหมาะสมตามยุคสมัยด้วยพระ ราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญแต่เดิมมาทำที่ทุ่งพญาไท เมื่อได้มีการฟื้นฟูพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญขึ้นใหม่ จึงจัดให้มีขึ้นที่ท้องสนามหลวงซึ่งเคยเป็นที่ประกอบพิธีจรดพระนังคัลแรกนา ขวัญในรัชกาลที่ ๑ ที่ ๒ และที่ ๓

ส่วนผู้ที่จะเป็นพระยาแรกนาในสมัยก่อนเคยโปรดเกล้าฯ ให้ผู้ที่ดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงเกษตราธิการ เป็นพระยาแรกนา และผู้ที่เป็นเทพีหาบกระบุงทอง กระบุงเงิน บรรจุข้าวเปลือกหว่านนั้นโปรดเกล้าฯ ให้จัดท้าวนางฝ่ายใน เมื่อเวลาได้เปลี่ยนแปลงหน้าที่ตำแหน่งไปแล้วเช่นนี้ เมื่อเริ่มฟื้นฟูพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญขึ้นมาใหม่ พระยาแรกนาจึงได้แก่ อธิบดีกรมการข้าวกระทรวงเกษตรเทพีได้คัดเลือกจากข้าราชการสตรีผู้มีเกียรติ ในกระทรวงเกษตร ในปีต่อมาจนถึงปัจจุบันผู้เป็นพระยาแรกนาได้แก่ผู้ดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวง เกษตรและสหกรณ์ ส่วนเทพีนั้นคัดเลือกจากข้าราชการสตรีโสดในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ระดับ ๓ – ๔ คือชั้นโทขึ้นไป

พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญเป็นพิธีเพื่อสิริมงคลแก่พืชพันธุ์ธัญญาหาร สนับสนุนส่งเสริมชาวไร่ชาวนาในการประกอบอาชีพ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสนพระราชหฤทัยเป็นอย่างดี ได้เสด็จฯ มาทรงเป็นประธานอธิษฐานขอความสมบูรณ์ของพืชพันธัญญาหารให้มีแก่อาณาจักรไทย และได้ทรงปลูกพันธุ์ข้าวทดลองในนาทดลองบริเวณสวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต ซึ่งเป็นพระราชฐานที่ประทับ เมื่อเก็บเกี่ยวแล้วพระราชทานนำมาเข้าในพระราชพิธีประมาณ ๔๐ - ๕๐ กิโลกรัม เมล็ดพันธุ์ข้าวที่พระราชทานมาเข้าพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้แบ่งไปหว่านที่ลานประกอบพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรก นาขวัญส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งจัดบรรจุซองส่งไปยังจังหวัดต่างๆ ทั่วราชอาณาจักรสำหรับแจกจ่ายแก่เกษตรกรเพื่อเป็นสิริมงคลตามพระราชประสงค์ ที่ทรงส่งเสริมการเกษตร



พระราชพิธีพืชมงคล

ในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เจ้าหน้าที่เชิญพระปฏิมาชัยวัฒน์รัชกาลปัจจุบันพระพุทธคันธารราษฎร์ของ รัชกาลที่ ๑ พระพุทธรูปปางสมาธิทรงภาวนาให้ต้นข้าวเกิดงอกงามรอบพุทธบัลลังก์ รัชกาลที่ ๑ ทรงสร้าง พระชัยนวโลหะรัชกาลที่ ๔ พระชัยนวโลหะรัชกาลที่ ๕ พระคันธารราษฎร์ขอฝนแบบจีน พระบัวเข็ม เทวรูปพระพลเทพ พระโคอุศุภราช ตั้งบนม้าหมู่ในธรรมาสน์ศิลาหน้าฐานชุกชีพุทธบัลลังก์บุษบก พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร ใต้ธรรมาสน์ศิลาตั้งกระบุงทอง กระบุงเงินอย่างละคู่บรรจุข้าวเปลือกพันธุ์ดีที่เป็นของพระราชทานจากนาทดลอง และมีถุงบรรจุพันธุ์พืชต่าง ๆ คือ ผักกาดกวางตุ้งดอก ผักกาดหอม ข้าวโพดขาว ผักกาดขาวปลี แตงกวา พริกชี้ฟ้า แตงกวาผสม ละหุ่ง ผักกาดหัว บวบเหลี่ยม มะระจีน คะน้าใบ ผักกาดขาวกวางตุ้ง คะน้ายอด มะเขือเทศสีดา แตงร้าน แตงโม ฟักทอง พริกขี้หนู มันแกว แตงไทย ผักบุ้งจีน ผักกาดขาวใหญ่ ถั่วฝักยาว ถั่วแขก ตั้งโอ๋ น้ำเต้า ข้าวโพดเกษตร ถั่วเหลือง ถั่วเขียว เมล็ดงา ผักปวยเล้ง กระเจี๊ยบ ขึ้นฉ่าย ชุนฉ่าย ฟักเขียว ผักกาดขาวปลี ผักชี ผักกาดเขียวกวางตุ้ง แฟง ผักขมจีน เผือก มัน แล้ววงสายสิญจน์จากพระพุทธรูปสำคัญโยงไปถวายพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ หน้าธรรมาสน์ศิลาทอดเครื่องนมัสการพุ่มพานดอกไม้ธูปเทียนไว้พร้อม

ก่อนเวลาเสด็จพระราชดำเนินพระยาแรกนาแต่งกายเครื่องแบบครึ่งยศ ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์เทพีทั้ง ๔ แต่งกายชุดไหมไทยห่มสไบผ้าไหมประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ มายังพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม จุดธูปเทียนสักการบูชาพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร แล้วไปนั่งเก้าอี้ที่เฝ้าฯ ตามลำดับ

เวลา ๑๖ นาฬิกา ๓๐ นาที พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถเสด็จพระราชดำเนินโดยรถยนต์พระที่นั่งจากพระตำหนักจิตรลดา รโหฐานพระราชวังดุสิตไปยังพระบรมมหาราชวังเสด็จพระราชดำเนินขึ้นสู่พระ อุโบสถ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ ไปทรงจุดเทียนท้ายที่นั่งบูชาพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร พระสัมพุทธพรรณี พระพุทธรูปฉลองพระองค์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก พระพุทธรูปฉลองพระองค์พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และทรงจุดธูปเทียนเครื่องนมัสการที่หน้าธรรมาสน์ศิลา ทรงกราบ ทรงรับการถวายความเคารพของผู้มาเฝ้าฯ แล้วประทับพระราชอาสน์ เจ้าหน้าที่กองศาสนูปถัมภ์กรมการศาสนาอาราธนาศีล พระราชคณะถวายศีล พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงศีล เมื่อทรงศีลแล้วพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ ไปที่ธรรมาสน์ศิลาทรงพระสุหร่ายสรงพระพุทธปฏิมาชัยวัฒน์และพระพุทธรูปสำคัญ แล้วทรงประพรมพืชต่าง ๆ ทรงโปรยดอกไม้มีดอกมะลิและกลีบกุหลาบ แล้วถวายพวงมาลัยที่พระพุทธรูปทุกองค์โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและ สหกรณ์เป็นผู้ทูลเกล้าฯ ถวาย แล้วพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงจุดธูปเทียนพระคันธารราษฎร์ ๒ คู่ และทรงจุดเทียนที่พระคันธารราษฎร์จีนอีก ๑ เล่ม ทรงกราบอธิษฐานขอความสมบูรณ์แห่งพืชผลของราชอาณาจักรแล้วประทับพระราชอาสน์ หัวหน้าพราหมณ์อ่านประกาศพระราชพิธีพืชมงคล

เมื่อหัวหน้าพราหมณ์อ่านประกาศพระราชพิธีพืชมงคลจบ พระสงฆ์ ๑๑ รูป มีพระราชาคณะวัดระฆัง-โฆษิตารามเป็นประธานสงฆ์ และพระเปรียญ ๙ ประโยคจากวัดต่างๆ อีก ๑๐ รูปรวมเป็น ๑๑ รูป เจริญพระพุทธมนต์คาถาพืชมงคล จบ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นพระยาแรกนา เข้าไปเฝ้าฯ คุกเข่าถวายบังคม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงหลั่งน้ำสังข์พระราชทานรดที่ศีรษะทรงเจิมแป้ง กระแจะที่หน้าผาก พระราชทานใบมะตูมทัดที่ซอกหูขวาและพระราชทานธำมรงค์นพเก้าสำหรับสวมที่มือ ขวา ๑ วง ที่มือซ้าย ๑ วงแล้ว พระราชทานพระแสงปฏักที่จะถือใช้วันจรดพระนังคัลแรกนาขวัญแล้วลุกขึ้นถวาย คำนับ กลับไปนั่งเฝ้าฯ ที่เดิมต่อจากนี้ข้าราชการสตรีในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่ได้รับแต่ง ตั้งให้เป็นเทพี ๔ คน ถวายความเคารพ เดินเข้าไปหมอบเฝ้าฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงหลั่งน้ำสังข์พระราชทานรดที่ศีรษะ ทรงเจิม พระราชทานใบมะตูมทัดที่ซอกหูขวาตามลำดับ ขณะที่พระยาแรกนาและเทพีรับพระราชทานน้ำสังข์นั้น พระสงฆ์เจริญชัยมงคลคาถาจนเสร็จการพระราชทานน้ำสังข์

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ ไปทรงประเคนจตุปัจจัยไทยธรรมซึ่งบรรจุในถาดมีคนโทแก้วบรรจุน้ำฝนด้วย เป็นราชประเพณีที่จะต้องจัดภาชนะบรรจุน้ำฝนถวายพระสงฆ์เฉพาะงานพระราชพิธี มงคลตามที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ทรงพระราชดำริไว้ เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวถวายจตุปัจจัยไทยธรรมแล้ว ทรงหลั่งทักษิโณทก พระสงฆ์ถวายอนุโมทนาถวายอดิเรก แล้วออกจากพระอุโบสถ

เมื่อพระสงฆ์ออกจากพระอุโบสถแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จ ฯ ไปทรงกราบที่หน้าเครื่องนมัสการ รงรับการถวายความเคารพของผู้มาเฝ้าฯ เสด็จพระราชดำเนินกลับ

หลังจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชดำเนินกลับแล้ว คณะพราหมณ์เชิญเทวรูปสำคัญที่ตั้งในมณฑลพิธี คือ พระพลเทพ พระโคอุศุภราช ไปเข้าเบญจาพิธีมณฑล ณ โรงพิธีพราหมณ์ที่ท้องสนามหลวงที่แท่นมลฑลพิธีนี้ พราหมณ์ได้เชิญเทวรูปสำคัญจากเทวสถานเสาชิงช้ามาตั้งเข้าพิธีคือ พระอิศวร พระนารายณ์ พระอุมา พระพรหม และพระพิฆเนศวร์ พร้อมด้วยกระบุงทอง กระบุงเงิน บรรจุข้าวเปลือกที่ได้เข้าพิธีในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดารามรวมทั้งพืช พันธุ์ต่าง ๆ และเครื่องพิธีตามลัทธิธรรมเนียมของพราหมณ์ คณะพราหมณ์ประกอบพิธีกรรมสวดบูชาพระเวทย์ตลอดคืน วันนี้แต่งกายเครื่องแบบครึ่งยศ



พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ

เวลาประมาณ ๖ นาฬิกา พระยาแรกนาพร้อมด้วยเทพีแต่งกายที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พระยาแรกนาสวมสนับเพลาปลายขอบปักดิ้นทอง ถุงเท้าขาว รองเท้าหุ้มส้นสีดำไม่ผูกเชือกมีกรอบทำด้วยโลหะสีทองติดคล้ายโบ นุ่งผ้าเยียรบับชายพกพับจีบ ไม่จีบโจง ใช้เชือกสายแถบรัดเอวสวมเสื้อเยียรบับพื้นเขียวลายทองแขนยาวแบบราชการ กระดุม ๕ เม็ด สวมสายสะพายและประดับราชอิศริยาภรณ์คาดเข็มขัดทำด้วยโลหะสีทองรัดเอวนอก เสื้อ สวมเสื้อครุยผ้าโปร่งปักดิ้นทองแล้วกลัดดวงตราปักอักษรย่อ จจจ. เครื่องราช-อิศริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ส่วนเทพีนุ่งจีบหน้านางผ้าเยียรบับหรือผ้าไหมไทยทอยกดอกลายสีทองพื้นสีตาม ความเหมาะสม สวมเสื้อไหมไทยรัดรูปแขนยาวคาดเข็มขัดทำด้วยโลหะเป็นเกลียวเกี่ยวขัดสีทอง ห่มผ้าสไบปักทองแล่ง ประดับอาภรณ์และเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่ได้รับพระราชทาน สวมถุงเท้าสีเนื้อ รองเท้าหนังหุ้มส้นสีทองปลายงอน

เสร็จแล้วพระยาแรกนาขึ้นรถยนต์หลวงออกจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ไปยังพระ อุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เทพีและข้าราชการ (แต่งเครื่องแบบเต็มยศประดับราชอิสริยาภรณ์) เชิญเครื่องยศขึ้นรถตามเป็นกระบวน เมื่อเข้าสู่พระอุโบสถแล้วพระยาแรกนาและเทพีจุดธูปเทียนถวายนมัสการบูชาพระ พุทธมหามณีรัตนปฏิมากร แล้วไปที่ปราสาทพระเทพบิดรถวายสักการะพระบรมรูปสมเด็จพระมหากษัตริยาธิราช แล้วไปขึ้นรถยนต์หลวง เป็นกระบวนออกจากจัดพระศรีรัตนศาสดารามไปยังท้องสนามหลวง

เวลา ๗ นาฬิกา เจ้าพนักงานจัดตั้งริ้วกระบวนอิสริยยศตามประเพณีโบราณรับพระยาแรกนา พระยาแรกนาลงจากรถยนต์หลวงแล้วสวมลอมพอกเดินเข้าประจำที่ในกระบวนพร้อมด้วย คู่เคียง ๒ ข้าง ๆ ละ ๘ นาย ผู้เชิญเครื่องยศและเทพีจัดเป็นรูปกระบวนยาตราไปยังโรงพิธีพราหมณ์ ประโคมกลองชนะ สังข์ แตร ตลอดทาง

พระโคเสี่ยงทายมี 7 สิ่ง ถ้าพระโคกินสิ่งใดจะมีคำทำนายตามนั้น
- ถ้าพระโคกินข้าว หรือ ข้าวโพด พยากรณ์ว่า ธัญญาหาร ผลาหารจะบริบูรณ์ดี
- ถ้ากินถั่ว หรือ งา พยากรณ์ว่า ผลาหาร ภักษาหารจะอุดมสมบูรณ์ดี
- ถ้ากินน้ำ หรือ หญ้า พยากรณ์ว่า จะสมบูรณ์พร้อม
- ถ้าพระโคกินเหล้าพยากรณ์ว่า การคมนาคมสะดวก การค้าขายกับต่างประเทศดี เศรษฐกิจจะรุ่งเรือง

ผ้านุ่งเสี่ยงทายมี ๓ ผืน ขนาดกว้าง ๔ คืบ ๕ คืบ ๖ คืบ มีคำพยากรณ์ ดังนี้
- ผ้า ๔ คืบ พยากรณ์ว่าน้ำจะมากสักหน่อย นาในที่ดอนจะได้ผลบริบูรณ์ดี นาในที่ลุ่มอาจจะเสียหายบ้าง ได้ผลไม่เต็มที่
- ผ้า ๕ คืบ พยากรณ์ว่าน้ำในปีนี้จะมีปริมาณพอดี ข้าวกล้าในนาจะได้ผลสมบูรณ์และผลาหาร สังสาหาร จะอุดมสมบูรณ์
- ผ้า ๖ คืบ พยากรณ์ว่าน้ำน้อย นาในที่ลุ่มจะได้ผลบริบูรณ์ดี แต่ในที่ดอนอาจจะเสียหายบ้าง ได้ผลไม่เต็มที่

วันเสาร์ที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

วันแรงงานแห่งชาติ



เพื่อเป็นการยกย่องและชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของแรง งาน เพื่อให้เกิดการพัฒนาทั้งในคุณภาพ ความเป็นอยู่ ตลอดจนสิทธิอันชอบธรรมที่ผู้ใช้แรงงานสมควรจะได้รับการดูแลเอาใจใส่อย่าง จริงจัง รัฐบาลจึงได้กำหนดให้วันที่ 1 พฤษภาค ของทุกปีเป็น "วันแรงงานแห่งชาติ" ตามที่คณะพรรคสังคมนิยมระหว่างชาติได้กำหนดไว้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2432

ในประเทศยุโรปส่วนมาก ก็กำหนดให้วันที่ 1 พฤษภาคม เป็นวันแรงงานเช่นเดียวกัน และเรียกว่า "วันกรรมกรสากล" หรือ "วันเมย์เดย์" ยกเว้น ประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศแคนาดา ที่ถือเอาวันจันทร์แรกของเดือนกันยายนเป็นวันแรงงาน

ความเป็นมา

ในระบบเศรษฐกิจ แรงงานถือเป็นปัจจัยสำคัญอันหนึ่งที่ก่อให้เกิดผลผลิต พลังของผู้ใช้แรงงานจะแฝงอยู่ในผลผลิตทุกชิ้น ดังนั้นความมั่นคงก้าวหน้าหรือความอ่อนแอทางเศรษฐกิจ แรงงานย่อมมีส่วนสำคัญเป็นอย่างมาก แต่ในความเป็นจริงแล้ว ยังมีผู้ใช้แรงงานถูกเอารัดเอาเปรียบจากนายจ้าง ทั้งในด้านผลประโยชน์ค่าตอบแทน และสวัสดิการ

ดังนั้นเพื่อเป็นการยกย่องและชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของแรงงาน เพื่อให้เกิดการพัฒนาทั้งในคุณภาพ ความเป็นอยู่ ตลอดจนสิทธิอันชอบธรรมที่ผู้ใช้แรงงานสมควรจะได้รับการดูแลเอาใจใส่อย่าง จริงจัง รัฐบาลจึงได้กำหนดให้วันที่ 1 พฤษภาคม ของทุกปีเป็น " วันแรงงานแห่งชาติ " ตามที่คณะพรรคสังคมนิยมระหว่างชาติได้กำหนดไว้ตั้งแต่ปี พ.ศ.2432
ใน ประเทศยุโรปส่วนมาก ก็กำหนดให้วันที่ 1 พฤษภาคม เป็นวันแรงงานเช่นเดียวกัน และเรียกว่า "วันกรรมกรสากล" หรือ วันเมย์เดย์ ยกเว้น ประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศแคนาดา ที่ถือเอาวันจันทร์แรกของเดือนกันยายนเป็นวันแรงงาน

ในเมืองไทยเริ่มมีการจัดการบริหารแรงงานขึ้นใน พ.ศ.2475 เมื่อรัฐบาลได้ออกพระราชบัญญัติจัดหางานประจำท้องถิ่น พ.ศ.2475

เมื่อ พ.ศ. 2477 ได้มีการจัดตั้งกองกรรมกรขึ้น ทำหน้าที่ด้านการจัดหางานและศึกษาภาวะความเป็นอยู่ของคนงานทั่วไป พ.ศ. 2499 รัฐบาลได้ ขยายกิจการด้านแรงงานสัมพันธ์มากขึ้นและประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับแรกในปี พ.ศ. 2508 และปีเดียวกันได้มีการตั้งกรมแรงงานขึ้น อีกทั้งประกาศใช้ พระราชบัญญัติกำหนดวิธีระงับข้อพิพาทแรงงาน ปัจจุบัน การบริหารแรงงานอยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมมีงาน สำคัญเกี่ยวข้อง กับแรงงานดังนี้

1. การจัดหางาน ด้วยการช่วยเหลือคนว่างงานให้มีงานทำ ช่วยเหลือนายจ้างให้ได้คนมีคุณภาพดีไปทำงาน รวบรวมเผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับการทำงาน แหล่งงาน ภาวะตลาดแรงงาน
2. งานแนะแนวอาชีพ ให้คำปรึกษาแก่เยาวชนและผู้ประสงค์จะทำงาน เพื่อให้สามารถเลือกแนวทางประกอบอาชีพที่เหมาะสมตามความถนัด ความ สามารถทางร่างกาย คุณสมบัติ บุคลิกภาพและความเหมาะสมแก่ความต้องการทางเศรษฐกิจ
3. การพัฒนาแรงงาน ส่งเสริมพัฒนาฝีมือแก่คนงานและเยาวชนที่ไม่มีโอกาสศึกษาต่อโดยการฝึกแบบเร่งรัด
4. งานคุ้มครองแรงงาน วางหลักการและวิธีการเกี่ยวกับชั่วโมงทำงาน วันหยุดงาน ตลอดจนการจัดให้มีสวัสดิการต่างๆ
5. งานแรงงานสัมพันธ์ทำการส่งเสริมและสร้างสัมพันธ์อันดีระหว่างนายจ้างกับ ลูกจ้างให้ทั้งสองฝ่ายเข้าใจถึงลักษณะและสภาพของปัญหา ตลอดจน วิธีการที่เหมาะสมที่จะช่วยขจัดความเข้าใจผิดและข้อขัดแย้งอื่นๆ




หน้าที่ของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน

หน้าที่ของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
1. การจัดหางาน ด้วยการช่วยเหลือคนว่างงานให้มีงานทำ ช่วยเหลือนายจ้างให้คนมีคุณภาพในการทำงาน รวบรวมเผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับการทำงาน แหล่งงาน ภาวะตลาดแรงงาน
2. งานแนะแนวอาชีพ ให้คำปรึกษาแก่เยาวชนและผู้ประสงค์จะทำงานเพื่อให้สามารถเลือกแนวทางประกอบ อาชีพเหมาะตามความถนัด ความสามารถทางร่างกาย คุณสมบัติ บุคลิกภาพและความเหมาะสมแก่ความต้องการเศรษฐกิจ
3. การพัฒนาแรงงาน ส่งเสริมพัฒนาฝีมือแก่คนงานและเยาวชน ที่โอกาสศึกษาต่อ
4. งานคุ้มครองแรงงาน วางหลักการและวิธีการเกี่ยวกับชั่วโมงการทำงาน วันหยุดงาน ตลอดจนสวัสดิการต่าง ๆ
5. งานแรงงานสัมพันธ์ ทำการส่งเสริมและสร้างสัมพันธ์อันดีระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง

ด้านกรรมกร ได้จัดตั้งกลุ่มสหภาพแรงงานขึ้นหลายกลุ่ม และรวมกันตั้งสภาองค์การลูกจ้างขึ้น ทำหน้าที่พิทักษ์สิทธิให้กับผู้ใช้แรงงาน ปัจจุบันมี 3 สภา ได้แก่
1. สภาองค์การลูกจ้างแรงงานแห่งประเทศไทย
2. สภาองค์การลูกจ้างแห่งประเทศไทย
3. สภาองค์การแรงงานแห่งประเทศไทย