วันอาทิตย์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2553

อพอลโล 14 เดินทางสู่ดวงจันทร์ จากแหลมคาร์นาเวอร์รัล รัฐฟลอริด้า ได้สำเร็จ



31 มกราคม พ.ศ.2514 อพอลโล 14 เดินทางสู่ดวงจันทร์โดยนักบินอวกาศ อเลน บี. เชพเพิร์ด เจ อาร์, เอดการ์ ดี มิทเชลล์ และ สตูท เอ รูสา จากแหลมคาร์นาเวอร์รัล รัฐฟลอริด้า ได้สำเร็จ เชพเพิร์ดเป็นอเมริกันคนแรกในอวกาศ และเป็นนักบินอวกาศคนที่ 5 ที่เดินบน ดวงจันทร์ เชพเพิร์ดและมิทเชลล์อยู่บนดวงจันทร์เกือบ 34 ชม. เพื่อติดตั้งอุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์ และเก็บตัวอย่างหินบนดวงจันทร์ โดยเดินทางกลับยังโลกในวันที่ 9 ก.พ. อย่างปลอดภัย

วันเสาร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2553

ร.5 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้บริษัท แบงก์ สยามกัมมาจลทุนจำกัด ประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์



30 มกราคม พ.ศ.2449 ร.5 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ออกประกาศพระราชทานอำนาจพิเศษให้ "บริษัท แบงก์ สยามกัมมาจลทุนจำกัด" ประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์ได้อย่างเป็นทางการ นับเป็นธนาคารแห่งแรกของคนไทย

วันศุกร์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2553

ประโยชน์ของดอกไม้ช่วยคลายความเครียด

ดอกไม้, ความเครียด, ประโยชน์ของดอกไม้, สุขภาพ, จิตใจ
ดอกไม้มีพลังในการฟื้นฟูและบำรุงรักษาสุขภาพและจิตใจของมนุษย์ โดยในช่วงศตวรรษที่ ๑๖ พราราเซลซัส (Paracelsus) ได้เก็บน้ำค้างจากดอกไม้เพื่อใช้รักษาจิตใจที่ไม่ปกติของคนไข้ โดยเลือกจากคุณสมบัติที่มีประโยชน์ต่อร่างกายมนุษย์ เช่น รูปร่าง ขนาด กลิ่น รสชาติ ตัวอย่างเช่น

- ดอกอายไบรท์ (Eyebright) ซึ่งเป็นดอกไม้สีฟ้า และสีเหลืองตรงกลาง ลักษณะ คล้ายดวงตาของคน จะสามารถรักษาความเมื่อยล้าทางสายตา
- ดอกเน็ทเทิล (Nettle) ช่วยให้ระบบไหลเวียนเลือดดีขึ้น
- ดอกแดนดีไลออน (Dandelion) กับ ดอกเซลันดีน (celandine) มีสีเหลือง ใช้รักษา โรคดีซ่าน

นอก จากนี้ชาวอะบอริจินซึ่งเป็นชนพื้นเมืองของออสเตรเลีย ได้เรียนรู้ถึงคุณประโยชน์ของดอกไม้โดยการกินดอกไม้ทั้งดอก เพื่อให้สารสกัดที่อยู่ในรูปน้ำค้างที่ได้จากการสกัดของแสงอาทิตย์ ถูกกลืน เข้าไปพร้อมดอกไม้ด้วย หรือหากดอกไม้ดังกล่าวกินไม่ได้ ชาวอะบอริจินจะนั่งบนกองดอกไม้เพื่อซึมซับการรักษาจากดอกไม้

เอียน ไวท์ (Ian White) ได้ เรียนรู้สรรพคุณทางยาของต้นไม้ และได้ค้นพบสารสกัดจากดอกไม้ ๖๒ ชนิดในออสเตรเลียที่สามารถ นำมาใช้รักษาสภาพจิตใจของมนุษย์ได้ นอกจากนี้ยังได้พัฒนา สารสกัดจากดอกไม้ให้สามารถนำมาใช้กับมนุษย์ได้ทันที เช่น

- สารสกัดที่ใช้ในการเดินทาง เป็นสารสกัดที่ช่วยผ่อนคลายปัญหา และความไม่ สบายใจที่เกิดจากการเดินทาง
- สารสกัดสำหรับสถานการณ์ฉุกเฉิน ช่วยแก้อาการตื่นเต้น และความเครียดที่เกิด จากสถานการณ์วิกฤติต่างๆ ช่วยให้รู้สึกสงบ

การรักษาด้วยดอกไม้ ไม่ได้รักษาที่ร่างกาย แต่เป็นการรักษาสภาวะ ความสมดุลของอารมณ์และจิตใจ

วันพฤหัสบดีที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2553

ยานขนส่งอากาศแชลเลนเจอร์ระเบิดกลางอากาศหลังทะยานจากศูนย์อวกาศเคนเนดี้



28 มกราคม พ.ศ.2456
ยานขนส่งอากาศแชลเลนเจอร์ระเบิดกลางอากาศหลังทะยานจากศูนย์อวกาศเคนเนดี้ แหลมคานาเวอรัล รัฐฟลอริดา เพียง 73 วินาที ลูกเรือทั้งเจ็ดคนเสียชีวิต นับเป็นอุบัติเหตุร้ายแรงที่สุดที่เกิดกับโครงการขนส่งอวกาศของสหรัฐฯ และทำให้สหรัฐฯ หยุดโครงการขนส่งอวกาศของสหรัฐฯ และทำให้สหรัฐฯ หยุดโครงการอวกาศไปอีกเกือบ 3 ปี

วันพุธที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2553

วันยุวกาชาด



27 มกราคม : วันยุวกาชาด ยุวกาชาดไทยได้รับการสถาปนาขึ้นเมื่อวันที่ 27 มกราคม 2465 โดยจอมพลสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต อุปนายกผู้อำนวยการสภากาชาดสยามในขณะนั้น ได้ทรงมีพระดำริว่า "สภากาชาดของบางประเทศได้ตั้งสภากาชาดแผนกเด็กขึ้น ที่เรียกตามภาษาอังกฤษว่า Junior Red Cross รับเด็กชาย-หญิงอายุไม่เกิน 18 ปี เป็นสมาชิก โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะปลูกฝังเพาะ นิสัยเด็กให้มีใจเมตตากรุณาต่อมนุษยชาติ ให้เป็นพลเมืองดี มุ่งทำประโยชน์แก่ชนหมู่มากนั้น มีผลดีจนประเทศอื่น ๆ ได้จัดตั้งขึ้นบ้างในหลายประเทศ สมควรที่สภากาชาดสยามจะได้จัดตั้งขึ้นบ้าง………"

คำว่า "อนุกาชาด" ยังคงใช้อยู่ต่อมาจน พ.ศ.2521 จึงได้เปลี่ยนมาเป็น ยุวกาชาด โดยขยายเกณฑ์รับสมาชิกจาก 8-18 ปี เป็น 8-25 ปี โดยครอบคลุมถึงเยาวชนระดับอุดมศึกษา และเยาวชนนอก โรงเรียน และโดยที่งานยุวกาชาดเป็นงานที่เกี่ยวข้องกับเยาวชน งานยุวกาชาดจึงขึ้นอยู่กับกรมพลศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ และดำเนินงานภายใต้การสนับสนุนของสภากาชาดไทย (ยุวกาชาด คือ เยาวชนชาย-หญิง อายุระหว่าง 8-25 ปี ที่มีจิตใจเสียสละ อุทิศตนบำเพ็ญประโยชน์เพื่อส่วนรวม และสืบทอดอุดมการณ์ของกาชาดตามหลักการกาชาด 7 ประการ บทบาทหน้าที่ของยุวกาชาดทุกคน จึงต้องฝึกตนเองทั้งทางร่างกายและจิตใจ เพื่อการเตรียมพร้อมช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ในทุกโอกาสที่จะทำได้ เพื่อนมนุษย์ในที่นี้อาจเริ่มจากบุคคลใกล้ชิด เช่น ครอบครัว ญาติพี่น้อง เพื่อนมนุษย์ในชุมชน หมู่บ้าน โรงเรียน หาโอกาสในการมีส่วนร่วมในกิจกรรมของชุมชน และให้ความร่วมมือช่วยเหลืออย่างบริสุทธิ์ใจ โดยไม่หวังสิ่งตอบแทนใด ๆ)

วันอังคารที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2553

ผู้อพยพชาวอังกฤษกลุ่มแรกประกอบด้วยนักโทษและผู้คุมเริ่มตั้งถิ่นฐานครั้งแรกในออสเตรเลีย



26 มกราคม พ.ศ.2331
ผู้อพยพชาวอังกฤษกลุ่มแรกประมาณ 1,000 คนประกอบด้วยนักโทษและผู้คุม นำโดยกัปตันอาร์เธอร์ฟิลลิป เริ่มตั้งถิ่นฐานครั้งแรกในออสเตรเลียที่ ปอร์ต แจ๊กสัน (Port Jackson) บริเวณอ่าวซิดนีย์ อันเป็นที่ตั้งนครซิดนีย์ในปัจจุบัน

วันจันทร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2553

วันกองทัพบก



การกำหนดว่าวันไหนเป็นวันที่ระลึกของเหล่าทัพใด เริ่มมีมาตั้งแต่สมัย จอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี เมื่อ พ.ศ.๒๔๘๕ ครั้งนั้นรัฐบาลได้จัดให้มีวันที่ระลึกคล้ายวันสถาปนาหน่วยราชการต่างๆ ขึ้น และประกาศให้วันที่ "๘ เมษายน" เป็น "วันกลาโหม" โดยพิจารณาเห็นว่า วันที่ ๘ เมษายน พ.ศ.๒๔๓๐ เป็นวันที่ออกประกาศการจัดการทหารและพระราชบัญญัติจัดตั้ง กรมยุทธนาธิการ ซึ่งถือว่าเป็นวันกำเนิดการทหารไทยแบบสมัยใหม่ และมีความเจริญก้าวหน้าติดต่อกันมาจนทุกวันนี้ ในปีต่อมาสำนักนายกรัฐมนตรี ได้ออกประกาศกำหนดวันที่ระลึกของกองทัพบก คือ วันที ๒๘ กรกฎาคม กองทัพเรือ คือวันที่ ๒๐ พฤศจิกายน และ กองทัพอากาศ คือวันที่ ๑๐ มกราคม ตามลำดับ

การที่กองทัพบกเสนอวันที่ ๒๘ กรกฎาคม เป็นวันกองทัพบกในครั้งนั้น เนื่องจากวันที่ ๒๘ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๘๔ เป็นวันที่กองทัพไทยได้ฉลองชัยชนะกรณีพิพาทอินโดจีนฝรั่งเศส โดยกระทำพิธีสวนสนามรับมอบดินแดนในอินโดจีน ที่จังหวัดพระตะบอง โดยมี พล.ท.หลวงพรหมโยธี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานในพิธี ดินแดนที่ประเทศไทยได้รับคืนคราวนั้นคือ ดินแดนของไทยทั้งหมดที่เสียให้แก่ฝรั่งเศส เมื่อ พ.ศ.๒๔๔๖ และ พ.ศ.๒๔๔๙ อันได้แก่

๑. ดินแดนแคว้นหลวงพระบาง ที่อยู่ฝั่งขวาของแม่น้ำโขง
๒. ดินแดนแคว้นจัมปาศักดิ์ ที่อยู่ตรงข้ามปากเซ
๓. ดินแดนกัมพูชา ได้แก่ เมืองพระตะบอง ศรีโสภณ และไพลิน

ต่อมาใน พ.ศ.๒๔๙๔ สภากองทัพบกพิจารณาเห็นว่า ควรเลือกวันที่มีความสำคัญที่เป็นเกียรติประวัติในทางตำนานและประวัติศาสตร์ ของชาติเป็นวันกองทัพบก ในที่สุด กองทัพบกได้กำหนดให้วันที่ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงกระทำยุทธหัตถีชนะสมเด็จพระมหาอุปราชา แห่งกรุงหงสาวดี เมื่อวันจันทร์ แรม ๒ ค่ำ เดือนยี่ ปีมะโรง ซึ่งตรงกับวันที่ ๒๕ มกราคม พ.ศ.๒๑๓๕ เป็นวันที่ระลึกสำหรับกองทัพบก โดยพิจารณาเห็นว่า การกระทำยุทธหัตถีครั้งนั้น นับเป็นการยุทธทางบกครั้งยิ่งใหญ่ ชัยชนะของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช นำมาซึ่งเอกราชของประเทศอย่างสมบูรณ์ และได้รับการยกย่องสรรเสริญทั่วไป ทั้งทวีปเอเซีย และทวีปยุโรป วันดังกล่าวจึงเป็นวันที่มีความสำคัญยิ่งต่อปวงชนชาวไทย เป็นวันที่คนไทยพึงตระหนักถึงพระมหากรุณาธิคุณด้วยความภาคภูมิใจ ทั้งยังเกิดความรักและหวงแหนชาติบ้านเมือง ใน พ.ศ.๒๔๙๔ สำนักนายกรัฐมนตรี จึงได้ประกาศให้วันที่ ๒๕ มกราคม ของทุกปีเป็นวันที่ระลึกของกองทัพบก

เมื่อ จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ผู้บัญชาการทหารสูงสุด และผู้บัญชาการทหารบก ในปี พ.ศ.๒๕๐๒ กระทรวงกลาโหมเห็นสมควรรวมวันที่ระลึกของกองทัพบก กองทัพเรือ และกองทัพอากาศ เป็นวันเดียวกัน วันที่ระลึกกระทรวงกลาโหม คือวันที่ ๘ เมษายน และให้เรียกว่า วันกองทัพไทย ทั้งนี้โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะเน้นในด้านความสามัคคี และความเป็นปึกแผ่นของกองทัพไทย ตลอดจนเน้นความประหยัดเป็นหลัก สำนักนายกรับมนตรีจึงประกาศให้วันที่ ๘ เมษายน ของทุกปี เป็นวันที่ระลึกกองทัพไทย

ครั้น พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ซึ่งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เมื่อ พ.ศ.๒๕๒๓ ได้ดำริว่า วันกองทัพไทยน่าจะเปลี่ยนเอาวันที่มีความสำคัญและมีความหมายยิ่งสำหรับทหาร ทั้งสามเหล่าทัพ พึงระลึกถึงด้วยความภาคภูมิใจ ปลุกใจให้เกิดความรักและหวงแหนชาติบ้านเมือง และพร้อมที่จะสละชีวิตเลือดเนื้อเป็นชาติพลี ตลอดจนส่งเสริมให้เกิดความสามัคคีขึ้นในหมู่ทหาร ทั้งเป็นที่ชื่นชมยินดีของปวงชนชาวไทยอีกด้วย คณะรัฐตรีจึงมีมติกำหนดให้ วันที่ ๒๕ มกราคม ของทุกปี เป็นวันกองทัพไทย โดยใช้เหตุผลเดียวกับวันกองทัพบก และวันที่ ๘ เมษายน ของทุกปีเป็นวันสถาปนากระทรวงกลาโหม โดยกำหนดให้ใช้เป็นทางการตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๒๔

จะเห็นได้ว่า โดยหลักฐานแล้ว วันที่ระลึกของทั้ง ๓ เหล่าทัพ ได้ถูกนำเข้าไปรวมเป็นวันกองทัพไทย ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๐๒ แต่การที่กองทัพต่างๆ จัดงานเฉลิมฉลองวันกองทัพของตนนั้นเป็นการกระทำภายในเหล่าทัพตนเท่านั้น เช่น ทอ.จัดงานวันกองทัพอากาศ ในวันที่ ๒๗ มีนาคม และ ทร. จัดงานวันกองทัพเรือ ในวันที่ ๒๐ พฤศจิกายน ส่วน ทบ. ยังคงยึดถือวันที่ ๒๕ มกราคมเป็นวันกองทัพบก

วันอาทิตย์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2553

เซอร์วินสตัน เชอร์ชิลล์ อดีตนายกรัฐมนตรีและรัฐบุรษของอังกฤษ ถึงแก่อสัญกรรม



24 มกราคม พ.ศ. 2508 เซอร์วินสตัน เชอร์ชิลล์ (Sir Winston Churchill ค.ศ.1874-1965) อดีตนายกรัฐมนตรีและรัฐบุรษของอังกฤษ ถึงแก่อสัญกรรม เมื่ออายุได้ 90 ปี

วันเสาร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2553

วันประสูติ พลเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอฯ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน



23 มกราคม พ.ศ. 2424 วันประสูติ พลเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอฯ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน พระนามเดิม พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร ราช โอรสองค์ที่ 35 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 กับเจ้าจอมมารดาวาด (กัลยาณมิตร) ต้นสกุล ฉัตรชัย ทรงเป็นทหารช่าง ทรงนำรถจักรดีเชลมาใช้เป็นประเทศแรกในเอเชีย ทรงเป็นผู้บัญชาการกรมรถไฟหลวงเป็นองค์แรก นอกจากนี้ยังทรงเป็นผู้วางรากฐานเรื่องการบิน การไปรษณีย์โทรเลข จัดตั้งสถานีวิทยุ ทรงสร้างถนนหลวงและสะพานหลายแห่ง เช่น สะพานพุทธยอดฟ้าฯ สะพานพระราม 6 เป็นต้น

วันศุกร์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2553

วันสถาปนาโครงการ อพป. แห่งชาติ



วันสถาปนาโครงการ อพป.แห่งชาติ ตรงกับวันที่ 22 มกราคม ของทุกปี

ทหารมีหน้าที่หลักของคือพิทักษ์รักษาเอกราชอธิปไตยของชาติ และยึดมั่นเทิดทูนจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์อย่างมั่นคงแล้ว ทหารต้องมีหน้าที่ในการพัฒนาประเทศชาติ เพื่อยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดีขึ้นด้วยทั้งนี้เพื่อเป็นการเสริม สร้างความมั่นคง และก่อให้เกิดสันติภาพ อย่างถาวรในพื้นที่รับผิดชอบ เพราะชาติบ้านเมืองจะมีความสงบเรียบร้อยขึ้นมาได้ ประชาชนนับว่าเป็นผู้ที่มีส่วนสำคัญเป็นอย่างยิ่ง

"โครงการอาสาพัฒนาและป้องกันตนเอง" หรือ "อพป." จึงถูกจัดตั้งขึ้นมาในยุคสมัยที่ประเทศไทยต้องเผชิญกับสถานการณ์ก่อการร้าย โดยมีกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน (กอ.รมน.) เป็นหน่วยงานหลักในการจัดตั้ง ในการประสานงานอำนวยการกำกับดูแลตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงปัจจุบัน ในยุคสมัยแรกมีการจัดตั้งโครงการ อพป.ขึ้นมา เพราะเหตุที่มีการแพร่ขยายอิทธิพลของลัทธิคอมมิวนิสต์ โดยเฉพาะในพื้นที่ชนบทที่ทุรกันดารห่างไกล ราษฎรไม่สามารถช่วยตนเองให้รอดพ้นจากภัยดังกล่าวได้ จึงง่ายต่อการแทรกซึมบ่อนทำลายเพราะการเข้าไปบริการ ดูแลแก้ไขปัญหาของภาครัฐยังขาดประสิทธิภาพ

โครงการ อพป.

เกิดขึ้น เพื่อให้การพัฒนาต่าง ๆ เกิดประโยชน์ต่อประชาชนอย่างแท้จริง ปรับปรุงกองกำลังของประชาชนให้มี ประสิทธิภาพ เร่งเร้าจิตสำนึกของราษฎรในพื้นที่ที่ถูกแทรกแซง เพื่อให้เกิดความเคลื่นไหวในการพัฒนาหมู่บ้านและป้องกันตนเอง รวมทั้งจัดตั้งคณtกรรมการหมู่บ้านถาวรขึ้นมารับผิดชอบ โดย ครม.ได้รับอนุมัติหลักการให้จัดตั้งเมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2517 กำหนดให้เป็นโครงการระดับนานาชาติ และถือเป็นความเร่งด่วนสูงสุดที่ส่วนราชการทุกระดับจะต้องให้ความร่วมมือ สนับสนุน เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจสังคม การปกครองและการรักษาความปลอดภัยให้เกิดขึ้นในพื้นที่ชนบทที่ห่างไกล โดยมีหน่วยงานหลักที่ร่วมเข้าไปรับผิดชอบดำเนินการ 8 กระทรวงหลักคือกระทรวงมหาดไทย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงกลาโหม ซึ่งมีกฎหมายรองรับคือ พ.ร.บ. การจัดระเบียบบริหารหมู่บ้านอาสาพัฒนาและป้องกันตนเอง พ.ศ. 2522 โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นผู้รักษาตาม พ.ร.บ.

จากวันนั้นจนถึงวันนี้ โครงการ อพป. ได้เป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่งยวด ในการทำให้สถานการณ์บ้านเมืองกลับเข้าสู่สภาวะปกติ มีความสุข ความปลอดภัย เป็นที่อบอุ่นไปทั่วทุกแห่งหนไม่ว่าชนบทใกล้-ไกล เพราะราษฎรเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงในการให้ความร่วมมืออย่างเต็มภาคภูมิ

ปัจจุบันหมู่บ้าน อพป. ที่จัดตั้งขึ้นทั่วประเทศ มีจำนวนร่วม 2 หมื่นหมู่บ้าน ใน 59 จังหวัด สำหรับในพื้นที่ภาคอีสาน มีจำนวน 3,928 หมู่บ้าน การดำเนินงานของแต่ ละภาคทั้ง 4 ภาค มีศูนย์อาสาพัฒนาและป้องกันตนเองของ กอ.รมน. แต่ละภาคเป็นหน่วยรับผิดชอบ มีภารกิจในการวางแผนอำนวยการ ประสานงานและกำกับดูแลเกี่ยวกับการดำเนินงานตามโครงการ อพป.ในพื้นที่ที่รับผิดชอบ ให้บรรลุผลสำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพ

วันพฤหัสบดีที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2553

วันเกิดครูเอื้อ สุนทรสนาน



วันเกิด เอื้อ สุนทรสนาน หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ ครูเอื้อ นักร้อง นักแต่งเพลง และเป็นผู้ก่อตั้งวงดนตรี สุนทราภรณ์ เกิดที่บ้าน อ. อัมพวา จ. สมุทรสงคราม ต่อมาได้เรียนดนตรีกับ พระเจนดุริยางค์ (ปิติ วาทะยะกร) เริ่มทำงานในกรมมหรสพ และได้ร้องเพลง “ในฝัน” ในภาพยนตร์เรื่อง “ถ่านไฟเก่า” เป็นครั้งแรก ต่อมาได้ตั้งวงดนตรีสุนทราภรณ์ ขณะทำงานอยู่ที่กรมโฆษณาการ หรือกรมประชาสัมพันธ์ในปัจจุบัน มีผลงานเพลงกว่า 1,000 เพลง ครอบคลุมทั้งเพลงเทศกาล เพลงสถาบัน เพลงรัก เพลงสะท้อนสังคม และอื่น ๆ อีกมากมาย ครูเอื้อเสียชีวิตเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2524 รวมอายุได้ 71 ปี

วันพุธที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2553

วันเกิด พระอาจารย์มั่น ภูริทัตตะเถระ



วันเกิด พระอาจารย์มั่น ภูริทัตตะเถระ เกิดที่อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบล บรรพชาเป็นสามเณรเมื่ออายุได้ 15 ปี และอุปสมบถเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2436 ที่วัดเลียบ อ.เมือง จ.อุบลราชธานี จากนั้นได้เข้าฝึกปฏิบัติธรรม ในสำนักวิปัสสนากับอาจารย์เสาร์ กันตสีโล ได้เริ่มศึกษาพระธรรมวินัยและฝึกปฏิบัติสมาธิ เดินจงกรม ต่อมาได้แสวงหาวิเวก บำเพ็ญสมณธรรมในที่ต่าง ๆ ตามราวป่าชัฎ ป่าช้า และลงมาศึกษากับนักปราชญ์ในกรุงเทพฯ จากนั้นก็ธุดงค์ไปทั่วภาคกลาง-อีสาน ท่านได้ปฏิบัติตนอย่างสมถะเป็นตัวอย่างพร้อมกับการสั่งสอนธรรมะแก่ประชาชน ทั่วไปตลอดมาจนกระทั่งมรณะภาพในปี 2492 ที่วัดป่าสุทธาวาส จังหวัดสกลนคร ขณะอายุ 80 พรรษา นับได้ว่าท่านเป็นพระเถระที่มีเกียรติคุณเด่นที่สุดในด้านวิปัสสนาธุระรูป หนึ่งในยุคปัจจุบัน จนมีศิษย์จำนวนมาก

วันอังคารที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2553

วันเกิด เจมส์ วัตต์ วิศวกรและนักประดิษฐ์ชาวอังกฤษ




19 มกราคม พ.ศ. 2279
วันเกิด เจมส์ วัตต์ (James Watt) วิศวกรและนักประดิษฐ์ชาวอังกฤษ ผู้พัฒนากำลังและประสิทธิภาพของเครื่องจักรไอน้ำซึ่งออกแบบโดย โทมัส นิวโคเมน ให้ดีมากขึ้น เครื่องจักรไอน้ำมีบทบาทสำคัญที่สุดอย่างหนึ่งในการปฏิวัติอุตสาหกรรมซึ่ง เกิดขึ้นในอังกฤษช่วงปลายศตวรรษที่ 18 นอกจากนั้นเขาเป็นผู้บัญญัติศัพท์ "แรงม้า" (horsepower) และหน่วยวัตกำลังที่เรียกว่า วัตต์ (watt) ก็ได้ชื่อตามชื่อของเขา

วันจันทร์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2553

วันกองทัพไทย



วันกองทัพไทย เป็นวันที่ระลึกในวาระที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงกระทำยุทธหัตถีกับพระมหาอุปราชาของพม่า โดยถือเอาวันที่ 18 มกราคม ของทุกปีเป็นวันกองทัพไทย ตามการคำนวณจากเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ ที่ระบุว่า พระองค์กระทำยุทธหัตถี ใน วันจันทร์ แรม 2 ค่ำ เดือนยี่ ปีมะโรง จุลศักราช 954 คำนวณได้ ตรงกับวันที่ 18 มกราคม พุทธศักราช 2135 (บางตำราว่า ปีพุทธศักราช 2136)

เดิมกระทรวงกลาโหมได้กำหนดให้วันที่ 8 เมษายนของทุกปีเป็นวันกองทัพไทย ต่อมาในปี พุทธศักราช 2523 ได้เปลี่ยนโดยให้ถือเอา
วันที่ 25 มกราคม เป็นวันกองทัพไทย ตามมติของคณะรัฐมนตรีในสมัยนั้น ตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องกำหนดวันกองทัพไทย และวันสถาปนากระทรวงกลาโหมลง 13 มิถุนายน 2513 ต่อมาในภายหลัง ได้มีนักประวัติศาสตร์หลายท่านได้ตรวจสอบ และพบว่าวันที่ทรงกระทำยุทธหัตถีนั้น แท้จริงแล้วไม่ได้ตรงกับวันที่ 25 มกราคม แต่น่าจะตรงกับวันที่ 18 มกราคม ปีดังกล่าว ทางราชการยังคงถือเอาวันที่ 25 มกราคม เป็นวันกองทัพไทยต่อไป จนกระทั่งวันที่ 22 สิงหาคม พุทธศักราช 2549 คณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบ ตามที่กระทรวงกลาโหมเสนอ ให้เปลี่ยนแปลงกำหนดวันกองทัพไทยจากวันที่ 25 มกราคม ของทุกปี เป็น วันที่ 18 มกราคม ของทุกปี และอนุมัติให้เป็นวันหยุดราชการของกระทรวงกลาโหม (ตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องการเปลี่ยนแปลงวันกองทัพไทย ลง 23 สิงหาคม 2549) ในปัจจุบัน วันที่ 18 จึงถือเป็น "วันยุทธหัตถี" "วันสมเด็จพระนเรศวรมหาราช" หรือ " วันกองทัพไทย "

ประวัติวันกองทัพไทย

ในปี พุทธศักราช 2135 พระเจ้าบุเรงนองโปรดให้พระมหาอุปราชา นำกองทัพทหารสองแสนสี่หมื่นคน มาตีกรุงศรีอยุธยาหมายจะชนะศึกในครั้งนี้ สมเด็จพระนเรศวร ทรงทราบว่าพม่าจะยกทัพใหญ่มาตี จึงทรงเตรียมไพร่พล มีกำลังหนึ่งแสนคนเดินทางออกจากบ้านป่าโมก ไปสุพรรณบุรี ข้ามน้ำตรงท่าท้าวอู่ทอง และตั้งค่ายหลวง บริเวณหนองสาหร่าย เช้าของวันจันทร์ แรม 2 ค่ำ เดือนยี่ ปีมะโรง พุทธศักราช 2135 สมเด็จพระนเรศวร และสมเด็จพระเอกาทศรถ ทรงเครื่องพิชัยยุทธ สมเด็จพระนเรศวรทรงช้าง นามว่า เจ้าพระยาไชยานุภาพ ส่วนพระสมเด็จพระเอกาทศรถ ทรงช้างนามว่า เจ้าพระยาปราบไตรจักร ช้างทรงของทั้งสองพระองค์นั้นเป็นช้างชนะ งา คือ ช้างมีงาที่ได้รับการฝึกให้รู้จักการต่อสู้มาแล้ว หรือเคยผ่านสงครามชนช้าง ชนะช้างตัวอื่นมาแล้ว ซึ่งเป็นช้างที่กำลังตกมัน ในระหว่างการรบจึงวิ่งไล่ตามพม่า หลงเข้าไปในแดนพม่า มีเพียงทหารรักษาพระองค์ และจาตุรงค์บาทเท่านั้น ที่ติดตามไปทัน สมเด็จพระนเรศวรทอดพระเนตรเห็นพระมหาอุปราชาทรงพระคชสารอยู่ในร่มไม้ กับเหล่าเท้าพระยา จึงทราบได้ว่าช้างทรง ของสองพระองค์หลงถลำเข้ามาถึงกลางกองทัพ และตกอยู่ในวงล้อมข้าศึกแล้ว แต่ด้วยพระปฏิภาณไหวพริบ ของสมเด็จพระนเรศวร ทรงเห็นว่าเป็นการเสียเปรียบข้าศึก จึงไสช้างเข้าไปใกล้ แล้วตรัสถามด้วยคุ้นเคยมาก่อนแต่วัยเยาว์ว่า "เจ้าพี่จะยืนช้างอยู่ในร่มไม้ทำไม ขอเชิญเสด็จมาทำยุทธหัตถีกัน ให้เป็นเกียรติยศเถิด กษัตริย์ภายหน้าที่จะชนช้างอย่างเราไม่มีอีกแล้ว" พระมหาอุปราชาได้ยินดังนั้น จึงไสช้างนามว่า พลายพัทธกอ เข้าชนเจ้าพระยาไชยานุภาพ เสียหลัก พระมหาอุปราชาทรงฟันสมเด็จพระนเรศวรด้วยพระแสงของ้าว แต่สมเด็จพระนเรศวรทรงเบี่ยงหลบทัน จึงฟันถูกพระมาลาหนังขาด จากนั้นเจ้าพระยาไชยานุภาพ ชนพลายพัทธกอ เสียหลัก สมเด็จพระนเรศวร ทรงฟันด้วยพระแสงของ้าวถูกพระมหาอุปราชาเข้าที่อังสะขวา สิ้นพระชนม์อยู่บนคอช้าง

ส่วนสมเด็จพระเอกาทศรถ ทรงฟันเจ้าเมืองจาปะรีเสียชีวิตเช่นกัน ทหารพม่าเห็นว่าแพ้แน่แล้ว จึงใช้ปืนระดมยิงใส่สมเด็จพระ
นเรศวรได้รับบาดเจ็บ ทันใดนั้น ทัพหลวงไทยตามมาช่วยทัน จึงรับทั้งสองพระองค์กลับพระนคร พม่าจึงยกทัพกลับกรุงหงสาวดีไป นับแต่นั้นมาก็ไม่มีกองทัพใดกล้ายกมากล้ำกรายกรุงศรีอยุธยาอีกเลย

พระแสงของ้าวที่สมเด็จพระนเรศวรทรงพระประหารพระมหาอุปราชาครั้งนั้น ได้นามต่อมาว่า "พระแสงแสนพลพ่าย" และ
พระมาลาที่ถูกฟันปรากฏนามว่า "พระมาลาเบี่ยง" นับเป็นเครื่องมงคลราชูปโภคมาจนบัดนี้ ส่วนช้างศึกที่ชนะก็ได้รับพระราชทานชื่อว่า "เจ้าพระยาปราบหงสาวดี"

วันอาทิตย์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2553

วันพ่อขุนรามคำแหงมหาราช



วันพ่อขุนรามคำแหงมหาราช วันที่ 17 มกราคมของทุกปี

พ่อขุนรามคำแหงมหาราช พระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์พระร่วง กรุงสุโขทัย ทรงทำนุบำรุงปกครองบ้านเมืองด้วยพระเมตตาธรรมต่อไพร่ฟ้า อาณา ประชาราษฎร์ทรงสร้างสรรค์มรดกทางศิลปะและวัฒนธรรมที่สำคัญๆ ของชาติไว้อย่างอเนกอนันต์มรดกของชาติที่สำคัญที่สุดก็คือ พ่อขุนรามคำแหงมหาราชได้ทรงคิดประดิษฐ์อักษรไทยขึ้นเมื่อประมาณปีพุทธศักราช 1826 อันเป็นต้นกำเนิดของอักษรไทยที่ใช้กันในทุกวันนี้

นอกจากนี้พระองค์ท่านยังได้ทรงรวบรวมแคว้นต่างๆ เข้าด้วยกันจนเป็นราชอาณาจักรไทยที่กว้างใหญ่ไพศาลกว่าทุกยุคสมัยที่ผ่านมา พระราชกรณียกิจอันเป็นคุณประโยชน์แก่ประโยชน์แก่ประเทศชาติของพระองค์ท่าน ล้วนแต่เป็นการ วางรากฐาน แห่งความเจริญไว้ให้แก่ประเทศชาติและปวงชนชาวไทยทุกคนสืบทอดต่อกันมาเป็น ระยะ เวลายาวนาน มากว่า 718 ปี

ด้วยพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ท่าน ดังที่ได้ประจักษ์รัฐบาลและปวงชนชาวไทย จึงได้พร้อมใจกันถวายพระราชสมัญญาแด่พระองค์ท่านเป็น "มหาราช" พระองค์แรกของชาติไทย และได้ร่วมกันสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์ของพระองค์ท่านขึ้นไว้เพื่อสักการะ ณ บริเวณอุทยานประวัติศาสตร์ จังหวัดสุโขทัย โดยสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ได้เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีอัญเชิญดวงพระวิญญาณของพ่อขุนรามคำแหง มหาราช จากศาลพระแม่ย่าไปสถิต ณ พระบรมราชานุสาวรีย์ฯ แล้วทรงเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหงมหาราช เมื่อวันที่17 พฤศจิกายน พ.ศ.2528 โดยจังหวัดสุโขทัยได้จัดให้มีพิธีถวายบังคมมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2528 เป็นต้นมา นับแต่นั้นมาประมาณสามปีคือในเดือนธันวาคม พ.ศ.2531 สำนัก งานสภาจังหวัดสุโขทัย ได้มีหนังสือเสนอต่อ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี ขอให้มีการกำหนด "วันพ่อขุนรามคำแหงมหาราช" ขึ้น โดยถือเอา วันที่ 17 พฤศจิกายน ซึ่งเป็นวันที่สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินเพื่อทรงประกอบพระราชพิธีและทรงเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์ฯ เป็น "วันพ่อขุนรามคำแหงมหาราช"

ต่อมาคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ คณะกรรมการชำระประวัติศาสตร์ไทย และจัดเอกสารทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี ได้พิจารณาทบทวนเรื่องการกำหนดวันสำคัญทางประวัติศาสตร์โดยคำนึงถึงความ เหมาะสม และความถูกต้องตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ซึ่งคณะกรรมการฯ ได้เสนอความคิดเห็นว่า ควรจะเป็นเหตุผลที่ว่า พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพบหลักศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ซึ่งตรงกับวันศุกร์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2376 เมื่อได้มีการนำเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ในคราวประชุม เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ.2532 แล้ว ในที่สุดคณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติตามที่สำนักงานเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เสนอ ในการกำหนดวันสำคัญทางประวัติศาสตร์ของชาติ ซึ่งคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ และคณะกรรมการชำระประวัติศาสตร์ไทยและจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์และ โบราณคดี ได้พิจารณาเห็นชอบด้วยแล้ว ดังนั้นวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2533 จึงเป็น "วันพ่อขุนรามคำแหงมหาราช" วันสำคัญทางประวัติศาสตร์วันหนึ่งซึ่งถูกกำหนดขึ้นอย่างเป็นทางการเป็นครั้ง แรก

วันที่ 17 มกราคมของทุกปี จึง ถือเป็นวันสำคัญทางประวัติศาสตร์ คือ วันพ่อขุนรามคำแหงมหาราช จังหวัดสุโขทัยได้จัดให้มี งานวันพ่อขุนรามคำแหงมหาราช เป็นประจำทุกปี เพื่อรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพ่อขุนรามคำแหงมหาราชที่มึต่อประชาชนชาว ไทย กิจกรรมในงานประกอบด้วย พิธีบวงสรวงพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ขบวนแห่สักการะพ่อขุนรามคำแหงมหาราชของหน่วยงานภาครัฐและเอกชน รัฐวิสาหกิจ และประชาชน มีการแสดงศิลปะพื้นบ้าน และพิธีสวดสรภัญญะ ฯลฯ สถานที่จัดงานคือ บริเวณพระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหงมหาราช อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย โรงเรียนสุโขทัยวิทยาคม (เฉพาะการแสดงช้างศึก และศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัว)

มหาวิทยาลัยรามคำแหง เป็นสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาที่ได้อัญเชิญพระนามพ่อขุนรามคำแหงมหาราช องค์มหาบูรพกษัตริย์ของประเทศไทยผู้ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจอันเป็นประโยชน์ แก่ประเทศชาติอย่างยิ่งใหญ่ไพศาลมาแล้วในอดีต มาตั้งเป็นชื่อของมหาวิทยาลัย จัดเป็นมหาวิทยาลัยแห่งที่ 10 ที่ได้จัดให้มีการศึกษามาตั้งแต่ปีการศึกษา 2514 ในระยะแรกได้ใช้อาคารสถานที่ปัจจุบันเป็นที่ตั้งชั่วคราว

ต่อมาได้รับอนุมัติจากรัฐบาลให้ใช้สถานที่นี้เป็นที่ตั้งถาวรได้ตลอดไปใน พ.ศ.2515 นับแต่ได้สถานที่เป็นที่ตั้งถาวรแล้ว มหาวิทยาลัยได้เร่งดำเนินการก่อสร้างอาคารและปรับปรุงสถานที่ให้ทันกับการ เปิดสอนของแต่ละปีมาโดยลำดับ ถาวรวัตถุสิ่งแรกที่มหาวิทยาลัยเห็นว่าจำเป็นจะต้องก่อสร้างก่อน ก็คือที่ประดิษฐานพระบรมรูปพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ซึ่งมหาวิทยาลัยได้อัญเชิญมาเป็นเครื่องหมายและนามของมหาวิทยาลัย นับจากวันที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระดำเนินมาทรงประกอบพิธี เปิดพระบรมรูปพ่อขุนรามคำแหงมหาราช และพระราชทานปริญญาบัตร แก่ผู้สำเร็จการศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2518 แล้ว มหาวิทยาลัยได้กำหนดให้วันที่ 26 พฤศจิกายน เป็นวันคล้ายวันสถาปนามหาวิทยาลัยเพื่อความเป็นสิริมงคลแก่มหาวิทยาลัย โดยได้จัดให้มีพิธีบวงสรวงและกระทำพิธีสักการะพระบรมรูปพ่อขุนรามคำแหง มหาราช

ต่อมาในปี พ.ศ.2533 คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติให้วันที่ 17 มกราคม ของทุกปี เป็น "วันพ่อขุนรามคำแหงมหาราช" มหาวิทยาลัยจึงได้จัดให้มีพิธีบวงสรวง และกระทำพิธีสักการะพระบรมรูปพ่อขุนรามคำแหงมหาราชซึ่งประดิษฐาน ณ บริเวณลานพ่อขุนซึ่งเป็นศูนย์กลางของมหาวิทยาลัยทุกปีเสมอมา

วันเสาร์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2553

วันครู : The Teacher

วันครู : The Teacher



ครู หมายถึง ผู้อบรมสั่งสอน ผู้ถ่ายทอดความรู้ ผู้สร้างสรรค์ ภูมิปัญญา และพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อนำไปสู่ความเจริญรุ่งเรือง ของสังคมและประเทศชาติ

สำหรับดอกไม้ประจำวันครู คือ “ดอกกล้วยไม้” โดยพิจารณาเห็นว่าคุณลักษณะของดอกกล้วยไม้ มีลักษณะและความหมายคล้ายคลึงกับสภาพชีวิตครู นั่นคือ กว่ากล้วยไม้แต่ละช่อจะผลิดอกออกผลให้เราชื่นชมได้ ต้องใช้เวลานานและต้องการดูแลเอาใจใส่ไม่น้อย เช่นเดียวกับครูแต่ละคน กว่าจะสั่งสอนเคี่ยวเข็ญศิษย์คนแล้วคนเล่าให้มีความเจริญงอกงามก้าวหน้าใน ชีวิตได้ ก็ต้องใช้เวลาอบรมสั่งสอนมิใช่น้อยเช่นกัน นอกจากนี้ กล้วยไม้ยังเป็นพืชที่อยู่ในที่สูงทนต่อสภาพดินฟ้าอากาศ ไม่ร่วงโรยง่าย เปรียบเสมือนครูที่อยู่ทั่วแดนไทยที่ต้องอดทนต่อสู้เพื่ออุดมการณ์และอุทิศ ตนเพื่อการศึกษาของชาติ

ความเป็นมา
วันครูได้จัดให้มีขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๐๐ สืบเนื่องมาจากการประกาศพระราชบัญญัติครูในราชกิจจานุเบกษา เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๘ ซึ่งระบุให้มีสภาในกระทรวงศึกษาธิการเรียกว่า คุรุสภาเป็นนิติบุคคลให้ครูทุกคนเป็นสมาชิกคุรุสภา โดยมีหน้าที่ในเรื่องของสถาบันวิชาชีพครูในขณะเดียวกันก็ทำหน้าที่ให้ความ เห็นเรื่องนโยบายการศึกษา และ วิชาการศึกษาทั่วไปแก่กระทรวงศึกษาธิการ ควบคุม จรรยาและวินัยของครูรักษาผลประโยชน์ ส่งเสริมฐานะของครู จัด สวัสดิการให้ครูและครอบครัว ได้รับความช่วยเหลือตามสมควร ส่งเสริมความรู้และความสามัคคีของครู
ด้วยเหตุ นี้ในทุก ๆ ปี คุรุสภาจะจัดให้มีการประชุมสามัญคุรุสภาประจำปี เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้แทนครูจากทั่วประเทศแถลงผลงานในรอบปีที่ผ่านมา และชักถามปัญหาข้อข้องใจต่าง ๆ เกี่ยวกับการดำเนินงานของคุรุสภาโดยมีคณะกรรมการอำนวยการคุรุสภาเป็นผู้ตอบ ข้อสงสัย สถานที่ ในการประชุมสมัยนั้นใช้หอประชุมสามัคคยาจารย์ หอประชุมของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และในระยะหลังใช้หอประชุมคุรุสภา

ปี พ.ศ. ๒๔๙๙ ในที่ประชุมสามัญคุรุสภาประจำปี จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีและประธานกรรมการอำนวยการคุรุสภากิตติมศักดิ์ ได้กล่าวคำปราศรัยต่อที่ประชุมครูทั่วประเทศว่า " ที่อยากเสนอในตอนนี้ก็คือว่า เนื่องจากผู้เป็นครูมีบุญคุณ เป็นผู้ให้แสงสว่างในชีวิตของเราทั้งหลาย ข้าพเจ้าคิดว่าวันครูควรมี สักวันหนึ่งสำหรับให้บรรดาลูกศิษย์ทั้งหลายได้แสดงความเคารพ สักการะต่อบรรดาครูผู้มีพระคุณทั้งหลาย เพราะเหตุว่าสำหรับ คนทั่วไปถ้าถึงวันตรุษ วันสงกรานต์ เราก็นำเอาอัฐิของผู้มีพระคุณบังเกิดเกล้ามาทำบุญ ทำทาน คนที่สองรองลงไปก็คือครูผู้เสียสละ ทั้งหลาย ข้าพเจ้าคิดว่าในโอกาสนี้จะขอฝากที่ประชุมไว้ด้วย ลองปรึกษาหารือกันในหลักการ ทุกคนคงจะไม่ขัดข้อง" จาก แนวความคิดนี้ กอปรกับความเห็นของครูที่แสดงออกทางสื่อมวลชนและอื่น ๆ ที่ล้วนเรียกร้องให้มีวันครูเพื่อให้เป็นวันแห่งการรำลึก ถึงความสำคัญของครูในฐานะที่เป็นผู้เสียสละ ประกอบคุณงามความดี เพื่อประโยชน์ของชาติและประชาชนเป็นอันมากในปีเดียวกันที่ประชุมคุรุสภา สามัญประจำปีจึงได้พิจารณาเรื่องนี้และมีมติเห็นควรให้มี ีวันครูเพื่อเสนอ คณะกรรมการอำนวยการต่อไป โดยได้เสนอหลักการว่า เพื่อจะได้ประกอบพิธีระลึกถึงคุณบูรพาจารย์ ส่งเสริมสามัคคีธรรมระหว่างครูและเพื่อส่งเสริม ความเข้าใจอันดีระหว่างครูกับประชาชน

ในที่สุดคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๔๙๙ ให้วันที่ ๑๖ มกราคมของทุกปีเป็น "วันครู" โดยถือเอาวันที่ประกาศพระราชบัญญัติครูในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๘ เป็นวันครูและให้กระทรวงศึกษาธิการสั่งการให้นักเรียนและครูหยุดในวัน ดังกล่าวได้

การจัดงาน

การ จัดงานวันครูได้จัดเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๐๐ ในส่วนกลางใช้สถานที่ของกรีฑาสถานแห่งชาติเป็นที่จัดงานวันครูนี้ได้กำหนด เป็นหลักการให้มีอนุสรณ์งานวันครูไว้แก่อนุชนรุ่นหลังทุกปี อนุสรณ์ที่สำคัญคือ หนังสือประวัติครู หนังสือที่ระลึกวันครู และ สิ่งก่อสร้างเป็นถาวรวัตถุ

การจัดงานวันครูได้ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงกิจกรรมให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลง ของสังคมตลอดเวลา ในปัจจุบันได้จัดรูปแบบ การจัดงานวันครูจะมีกิจกรรม ๓ ประเภทใหญ่ ๆ ดังนี้
๑. กิจกรรมทางศาสนา
๒. พิธีรำลึกถึงพระคุณบูรพาจารย์ ประกอบด้วยพิธีปฏิญาณตน การกล่าวคำระลึกถึงพระคุณบูรพาจารย์
๓. กิจกรรมเพื่อความสามัคคีระหว่างผู้ประกอบอาชีพครู ส่วนมากเป็นการแข่งขันกีฬาหรือการจัดงานรื่นเริงในตอนเย็น

ปัจจุบันการจัดงานวันครู ได้มีการกำหนดให้จัดพร้อมกันทั่งประเทศ สำหรับในส่วนกลางจัดที่หอประชุมคุรุสภาโดยมีคณะกรรมการจัดงานวันครู ซึ่งมีปลัดกระทรวงศึกษาธิการเป็นประธาน ประกอบด้วยบุคคลหลายอาชีพร่วมกันเป็นผู้จัด สำหรับส่วนภูมิภาคมอบให้จังหวัดเป็นผู้ดำเนินการ โดยตั้งคณะกรรมการจัดงานวันครูขึ้นเช่นเดียวกับส่วนกลางจะจัดรวมกันที่ จังหวัดหรือแต่ละอำเภอก็ได้

รูปแบบการจัดงานในส่วนกลาง (หอประชุมคุรุสภา) พิธีจะเริ่มตั้งแต่เช้า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ประธานกรรมการอำนวยการคุรุสภา คณะกรรมการอำนวยการคุรุสภา คณะกรรมการจัดงานวันครู พร้อมด้วยครูอาจารย์และประชาชนร่วมกันใส่บาตรพระสงฆ์ จำนวน ๑,๐๐๐ รูป หลังจากนั้นทุกคนที่มาร่วมงานจะเข้าร่วมพิธีในหอประชุมคุรุสภา นายกรัฐมนตรีเดินทางมาเป็นประธานในงาน ดนตรีบรรเลงเพลงมหาฤกษ์ นายกรัฐมนตรีบูชาพระรัตนตรัย ประธานสงฆ์ให้ศีล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการกล่าวรายงานต่อนายกรัฐมนตรี เสร็จแล้วพิธีบูชาบูรพาจารย์โดยครูอาวุโสนอกประจำการจะเป็นผู้กล่าวนำพิธี สวดคำฉันท์รำลึกถึงประคุณบูรพาจารย์



มารยาทและวินัยตามระเบียบประเพณีของครู

1. เลื่อมใสการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขด้วยความบริสุทธิ์ใจ
2. ยึดมั่นในศาสนาที่ตนนับถือ ไม่ลบหลู่ดูหมิ่นศาสนาอื่น
3. ตั้งใจสั่งสอนศิษย์และปฏิบัติหน้าที่ของตนให้เกิดผลดีด้วยความเอาใจใส่ อุทิศเวลาของตน ให้แก่ศิษย์ จะละทิ้งหรือทอดทิ้งหน้าที่การงานไม่ได้
4. รักษาชื่อเสียงของตนมิให้ขึ้นชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่ว ห้ามประพฤติการใด ๆ อันอาจทำให้เสื่อมเสียเกียรติและชื่อเสียงของครู
5. ถือปฏิบัติตามระเบียบและแบบธรรมเนียมอันดีงามของสถานศึกษา และปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชา ซึ่งสั่งในหน้าที่การงานโดยชอบด้วยกฎหมายและระเบียบแบบแผนของสถานศึกษา
6. ถ่ายทอดวิชาความรู้โดยไม่บิดเบือนและปิดบังอำพราง ไม่นำหรือยอมให้นำผลงานทางวิชาการของตนไปใช้ในทางทุจริตหรือเป็นภัยต่อ มนุษย์ชาติ
7. ให้เกียรติแก่ผู้อื่นทางวิชาการ โดยไม่นำผลงานของผู้ใดมาแอบอ้างเป็นผลงานของตน และไม่เบียดบังใช้แรงงานหรือนำผลงานของผู้อื่นไป เพื่อประโยชน์ส่วนตน
8. ประพฤติตนอยู่ในความซื่อสัตย์สุจริต และปฏิบัติหน้าที่ของตนด้วยความเที่ยงธรรมไม่แสวงหาประโยชน์สำหรับตนเอง หรือผู้อื่นโดยมิชอบ
9. สุภาพเรียบร้อยประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ศิษย์ รักษาความลับของศิษย์ ของผู้ร่วมงานและของสถานศึกษา
10. รักษาความสามัคคีระหว่างครูและช่วยเหลือกันในหน้าที่การงาน

คำปฏิญาณตนของครู
ข้อ 1. ข้าจะบำเพ็ญตนให้สมกับที่ได้ชื่อว่าเป็นครู
ข้อ 2. ข้าจะตั้งใจฝึกสอนศิษย์ให้เป็นพลเมืองดีของชาติ
ข้อ 3. ข้าจะรักษาชื่อเสียงของคณะครูและบำเพ็ญตนให้เป็น

วันศุกร์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2553

พิธีเปิด อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี

พิธีเปิด อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี



15 มกราคม พ.ศ.2477 พิธีเปิด อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี ซึ่งข้าราชการ และประชาชนชาวนครราชสีมาได้ร่วมกันสร้างขึ้นเพื่อบรรจุอัฐิของ ย่าโม โดยได้ ศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี เป็นผู้ออกแบบร่วมกับ พระเทวาภินิมมิตร ประติมากรเลื่องชื่อในสมัยนั้น นับเป็นอนุสาวรีย์ของสามัญชนสตรีคนแรกของประเทศ เริ่มก่อสร้างในปี 2476 อนุสาวรีย์หล่อด้วยทองแดงรมดำ สูง 1.85 เมตร หนัก 325 กิโลกรัม แต่งกายด้วยเครื่องยศพระราชทาน ในท่ายืน มือขวากุมดาบ ปลายดาบจรดพื้น มือซ้ายท้าวสะเอว หันหน้าไปทางทิศตะวันตก ตั้งอยู่บนฐานไพทีสี่เหลี่ยมย่อมุมไม้สิบสองซึ่งบรรจุอัฐิของท่าน

วันพฤหัสบดีที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2553

วันทรัพยากรป่าไม้แห่งชาติ

วันทรัพยากรป่าไม้แห่งชาติ (National Forest Conservation Day)



ความเป็นมาของวันอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ของชาติ

นับย้อนเหตุการณ์อุทกภัยอันร้ายแรงที่เกิดขึ้นทางภาคใต้เมื่อปลายปี พ.ศ.2531 เพราะเหตุการณ์ครั้งนี้ทำให้สูญเสียทรัพย์สินและชีวิตจำนวนมาก จากเหตุการณ์ครั้งนั้นทำให้รัฐบาลได้ออกพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราช บัญญัติพุทธศักราช 2498 เมื่อวันที่ 14 มกราคม พ.ศ.2532 และคำสั่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เมื่อวันที่ 17 มกราคม 2532 เรื่องการให้สัมปทานสิ้นสุดลงดังนั้นการจัดวางโครงการทำไม้ทั่วประเทศต้อง ยุติลงทุกโครงการและพื้นที่ เพื่อต้องการอนุรักษ์ป่าไม้ที่มีอยู่อย่างจำกัดมิให้ถูกทำลายต่อไปพร้อมทั้ง ได้กำหนดให้ช่วงปี 2532-2535 เป็น "ปีแห่งการป้องกันและอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ของชาติ" และต่อมาคณะรัฐมนตรีได้มีมติ เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2533 กำหนดให้ วันที่ 14 มกราคม ของทุกปีเป็นวันอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ของชาติ

วัตถุประสงค์

1. เพื่อให้ประชาชนในชาติได้ระลึกถึงผลเสียที่ เกิดจากการตัดไม้ทำลายป่าซึ่งทำให้ประชาชนจำนวน มากต้องสูญเสียชีวิต
2. เพื่อให้ประชาชนได้ระลึกถึงความสำคัญของงานด้าน การอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ของชาติคือการที่รัฐบาลได้ สั่ง ยกเลิกสัมปทานป่าไม้ทั่วประเทศไทยไปเมื่อวันที่ 14 มกราคม 2532

วันพุธที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2553

วันการบินแห่งชาติ


ในปี พ.ศ. 2454 ( 1911 ) ได้มีชาวต่างประเทศนำเครื่องบินแบบอองรีฟาร์มังมาแสดง การบินในประเทศไทย หลังการแสดงการบินของชาวต่างประเทศในปีเดียวกัน จอมพล สมเด็จเจ้าฟ้าจักรพงษ์ ภูวนารถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานารถ (เสนาธิการ ทหารบก ) ได้นำความขึ้นกราบบังคมทูลต่อ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ( รัชกาลที่ 6 ) ถึงความจำเป็นและประโยชน์ของเครื่องบิน ที่ต้องมีไว้เพื่อป้องกันประเทศ หลังนำความขึ้น กราบบังคมทูลกระทรวงกลาโหมได้มีคำสั่งให้นายทหารนักบิน จำนวน 3 นาย ได้แก่ นายพันโท หลวงศักดิ์ศัลยาวุธ , นายพันตรี หลวงอาวุธสิธกร และนายร้อยเอกหลวงทยาน พิมาฎ ไปศึกษาวิชาการบิน ณ ประเทศฝรั่งเศส โดยในระหว่างที่นายทหารนักบินศึกษา วิชาการบินอยู่นั้น กระทรวงกลาโหมได้มีคำสั่งซื้อเครื่องบินจำนวน 8 ลำ หลังนายทหาร นักบินทั้ง 3 นาย สำเร็จการศึกษาได้เดินทางกลับประเทศไทยพร้อม เครื่องบินจำนวน 8 ลำ ที่กระทรวงกลาโหมสั่งซื้อ

เมื่อเครื่องบินถึงประเทศไทย นายทหารนักบินทั้ง 3 นาย ได้ ทดลองเครื่องบินครั้งแรกในวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2456 หลังจากนั้นในวันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2456 (ขณะนั้นประเทศไทยนับ วันที่ 1 เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่จนถึงปี พ.ศ. 2483) พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตร การแสดงการบินครั้งแรกของประเทศ โดยนายทหาร นักบินไทยจำนวน 3 นาย ที่สำเร็จ การศึกษาวิชาการบินจากประเทศฝรั่งเศสและ ใช้เครื่องบินที่เป็นสมบัติของชาติไทยบิน ถวายหน้าพระที่นั่ง ซึ่งขณะนั้นประเทศไทย ได้เริ่มจัดตั้งแผนกการบิน โดยมีสนามบินและ โรงเก็บเครื่องบินที่สนามม้าสระปทุม นับเป็นการริเริ่มกิจการบินของประเทศไทย

จาก เหตุการณ์ดังกล่าวมูลนิธิอนุรักษ์และพัฒนาอากาศยานไทยในพระบรม ราชูปถัมภ์ได้ น้อมรำลึกพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงมีต่อ กิจการบินของชาติ จึงได้นำเรื่องเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่ออนุมัติคณะรัฐมนตรีได้เห็น ความสำคัญของเหตุการณ์ดังกล่าวและได้มีมติเมื่อ วันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ.2537 กำหนดให้วันที่ 13 มกราคมของทุกปีเป็นวันการบินแห่งชาติ โดยเริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 2538 เป็นต้นมา



ความเป็นมา

ความคิดริเริ่มให้มี “ วันการบินแห่งชาติ ” พัฒนาขึ้นจากการแลกเปลี่ยนความคิดกัน ในบรรดาผู้ร่วมงานกับมูลนิธิฯ ในขณะที่ทำงาน บูรณะฟื้นฟู ทำการบิน เก็บรักษา อนุรักษ์ก็ทำให้มีการศึกษาทบทวนถึงประวัติศาสตร์การริเริ่มและพัฒนากิจการ บิน ของไทยที่บรรพบุรุษไทยได้สร้างไว้ให้พร้อมกับการพัฒนาอากาศยานของอารย ประเทศในยุโรปและอเมริกา หลังจากที่พี่น้องตระกูลไรท์ ประดิษฐ์เครื่องบินสำเร็จเป็น รายแรกของโลกได้เพียง ๘ ปี โดยที่ขณะนั้นประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาคนี้ยังไม่มีโอกาส ริเริ่มกิจการบินของตนได้ กิจการบินของไทยได้เจริญก้าวหน้าถึงขั้นสามารถสร้าง อากาศยานใช้ราชการได้ในช่วงระยะเวลาเดียวกับ ในยุโรปและอเมริกาแต่ก็มาหยุดชงัก ไปในสมัยหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ การริเริ่มและพัฒนากิจการบินที่บรรพบุรุษได้สร้างไว้ก่อให้เกิดความเจริญทาง ด้านความมั่งคง ได้แก่กิจการบินทางทหารสามารถป้องปรามการล่วงล้ำอธิปไตยและป้องกันประเทศ ทั้งในสงครามอินโดจีน สงครามมหาเอเชียบูรพา และการปราบปรามการก่อการร้ายมาโดยตลอด

ด้านสังคมสามารถให้การช่วยเหลือ ลำเลียงผู้เจ็บป่วย ส่งไปรษณีย์ อากาศ และช่วยเหลือประชาชน ในท้องถิ่นทุรกันดาร ทั้งในภาวะปกติ และเมื่อประสบภัย พิบัติ เช่น กรณีเกิดโรคระบาด อุทกภัย ฯลฯ หลังจากได้สถาปนากิจการบินพลเรือนเปิด สายการบินในประเทศขึ้นได้ช่วยให้เศรษฐกิจ และสังคม การเดินทาง ขนส่งไปรษณีย์ สินค้าและทำธุรกิจได้รวดเร็วขึ้น จนพัฒนามาเป็นอุตสาหกรรมการบินขนส่งทางอากาศ เป็นสายการบินระหว่างประเทศ แต่อุตสาหกรรมด้านกิจการบินทั่วไปสำหรับภาคเอกชน และอุตสาหกรรมการผลิตและซ่อมบำรุงอากาศยาน แทบไม่พัฒนาเลย ไม่เพียงพอกับ ความต้องการการขนส่งและการจราจร จึงทำให้ล้าหลังกว่าประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาค ทั้งๆ ที่เราเริ่มต้นก่อนเขาเป็นเวลานาน

ประวัติ ศาสตร์การริเริ่มพัฒนากิจการบินอันเป็นเกียรติประวัติที่น่าภาคภูมิใจของคน ในชาติและปัญหาเกี่ยวกับการพัฒนาอุตสาหกรรมการบินในปัจจุบันดังกล่าว น่าจะ ได้เผยแพร่ให้เป็นที่ทราบทั่วกันทั้งในภาครัฐ เอกชน และประชาชน ทั่วไปได้ทราบ เห็นคุณค่าประโยชน์ ช่วยกันแก้ปัญหาพัฒนาและส่งเสริมกิจการบินและอุตสาหกรรม การบินของชาติให้เจริญสืบไปมูลนิธิฯ จึงริเริ่ม ให้มีวันการบินแห่งชาติขึ้นเพื่อเผยแพร่ ดังกล่าว

การดำเนินการให้มีวันการบินแห่งชาติ มูลนิธิฯ ร่วมกับกองทัพอากาศเชิญ ชวนส่วนราชการและภาคเอกชนประชุมหารือ ๒ ครั้ง ที่ประชุมมีมติเห็นสมควรให้ วันที่ ๑๓ มกราคม ๒๔๕๖ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทอดพระเนตรการแสดง การบินโดยนักบินไทยและใช้เครื่องบินที่เป็นสมบัติของ ชาติไทยเป็นครั้งแรก และได้ทรง สถาปนาแผนกการบินขึ้นในกระทรวงกลาโหม เป็นผลให้กิจการบินของไทยเจริญมาโดย ลำดับกองทัพอากาศได้ดำเนินการ นำเรียนผู้บัญชาการการทหารสูงสุดเสนอกระทรวง กลาโหมขอความเห็นชอบ จากกระทรวงที่เกี่ยวข้อง และนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรีมีมติ เห็นชอบเมื่อ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๓๗ กำหนดให้วันที่ ๑๓ มกราคม ของทุกปีเป็นวัน การบินแห่งชาติกับให้จัดกิจกรรมต่างๆ ในวันสำคัญดังกล่าว ความมุ่งหมายและขอบเขตในการจัดงาน เพื่อเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเผยแพร่ให้ประชาชนทราบถึงประวัติความเป็นมาและ วิวัฒนาการ การบินของไทย เห็นคุณค่าประโยชน์ของกิจการบิน สนับสนุนส่งเสริมให้อุตสาหกรรม การบินของชาติเจริญก้าวหน้าสืบไปโดย

1. ให้มีนิทรรศการอากาศยาน อุปกรณ์ สิ่งอำนวยความสะดวก และผลงานการบินแสดง ถึงประวัติการริเริ่มสถาปนากิจการบินขึ้นในประเทศไทยจากการบินทหารจนส่งผล ให้ พัฒนามาเป็นอุตสาหกรรมการบินในปัจจุบัน
2. จัดให้มีการประชุมสัมมนา เรื่อง การพัฒนาอุตสาหกรรมการบินของประเทศ (เกี่ยวกับการผลิต การบินขนส่งพาณิชย์ของสายการบิน และการบินทหาร) เพื่อทราบ สถานภาพของอุตสาหกรรมการบินของประเทศไทยในปัจจุบัน ตลอดจนแนวทางที่จะ พัฒนาอุตสาหกรรมการบินให้เพียงพอกับความต้องการของประชาชน ทั้งในด้าน เศรษฐกิจ สังคม และด้านความมั่นคงของชาติ

การจัดงานวันการบินแห่งชาติ ปี ๒๕๓๘ มูลนิธิฯ ได้แต่งตั้งคณะกรรมการ ประสานงานจัดงาน วันการบินแห่งชาติขึ้น ประสานกับกองทัพอากาศ และหน่วยงาน ภาครัฐและเอกชนเมื่อได้แนวทาง กิจกรรม วัตถุประสงค์ในการจัดงานแล้ว กองทัพอากาศ ได้ดำเนินเรื่องขอให้รัฐบาลเป็นเจ้าภาพ และสนับสนุนงบประมาณในการจัดงานรัฐบาล ได้ตอบรับเป็นเจ้าภาพการจัดงาน “ วันการบินแห่งชาติ ” ๒๕๓๘ และแต่งตั้งคณะกรรมการ จัดงานวันการบินแห่งชาติ

1. คณะกรรมการอำนวยการจัดงานวันการบินแห่งชาติมี ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี เป็นประธานฯ

2. คณะกรรมการดำเนินการจัดงานวันการบินแห่งชาติมี ฯพณฯ รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายเศรษฐกิจ เป็นประธานฯ

3. คณะอนุกรรมการจัดงานวันการบินแห่งชาติ ๙ คณะและสำนักงานเลขานุการ คณะกรรมการการจัดงานวันการบินแห่งชาติโดยคณะอนุกรรมการดังกล่าว มีคณะ อนุกรรมการเตรียมงานฯ จำนวนหนึ่งที่มูลนิธิฯ แต่งตั้งขึ้นร่วมอยู่ด้วย มีคณะกรรมการ กิจกรรมหลักด้านต่างๆ ๔ คณะ คือ ด้านประชุมสัมมนาด้านพัฒนาและส่งเสริม อุตสาหกรรมการบินภาคเอกชน ด้านจัดนิทรรศการการบินและด้านสรรหาบุคคล ดีเด่นด้านการบินและการอวกาศแห่งชาติ รวมทั้งคณะกรรมการสนับสนุนด้านอื่นอีก ๕ คณะ ประชาสัมพันธ์ งบประมาณการเงิน พิธีการอำนวยความสะดวกและการขนส่ง ความปลอดภัยและการจราจร

กำหนดการจัดงานในวันที่ ๑๓,๑๔,๑๖ มกราคม ๒๕๓๘ โดยจัดประชุมสัมมนา “ วัน การบินแห่งชาติ” เรื่องการพัฒนาอุตสาหกรรมการบินของประเทศ แบ่งเป็นการประชุม สัมมนาภาคเอกชน ภาครัฐ และภาครัฐร่วมกับเอกชน ล่วงหน้าก่อน ๒ เดือน และประชุม สัมมนารวมทั้งภาครัฐ เอกชนและผู้สนใจจากต่างประเทศ ในวันที่ ๑๓ – ๑๔ มกราคม ๒๕๓๘ ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ รวมทั้งพิธีมอบรางวัล

บุคคลดีเด่นด้านการบินและการอวกาศแห่งชาติ ใน ๑๔ มกราคม ๒๕๓๘ การจัด นิทรรศการการบิน จัดที่บริเวณลานจอดรถอากาศยานกองทัพอากาศ ฝั่งตะวันออก ของสนามบินดอนเมือง ในวันที่ ๑๓ – ๑๖ มกราคม ๒๕๓๘

วันอังคารที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2553

หูฉลาม มีประโยชน์ต่อร่างกายมากจริงหรือ


หูฉลามเป็นอาหารขึ้นโต๊ะที่ราคาแพงมาก เหตุผลก็เพราะหายาก มีรสชาติดี จึงถือเป็นอาหารชั้นเลิศของชาวจีนแต่ครั้งโบราณกาล ใน เรื่องความอร่อยและความหายากนั้นคงไม่ขัดใจกัน ถ้าหากพูดคุยกันรู้เรื่องกับนักอนุรักษ์ธรรมชาติ แต่ในแง่คุณค่าทางอาหารว่ามีสรรพคุณล้นหลามตามคำเชิญชวนนั้น น่าจะลองคำนวณดูว่ามีคุณค่าสมราคาหรือไม่

แท้จริงแล้วหูฉลามมาจากส่วนครีบของปลาฉลาม ซึ่งมีลักษณะเป็นกระดูกอ่อนที่แบ่งออกได้เป็นสองส่วน คือฐานครีบและก้านครีบ ซึ่งเป็นกระดูกที่มีลักษณะเป็นเส้นๆ เพื่อช่วยให้ฉลามสามารถแผ่ครีบออกได้ ส่วนที่เรียกว่าก้านครีบนี่แหละครับที่กลายเป็นหูฉลามชามโปรด

มี ความเชื่อกันว่าหูฉลามที่นำมาต้มจนเปื่อยและตุ๋นจนได้ที่จะกลายเป็นอาหาร วิเศษในการบำรุงร่างกาย แต่ข้อสังเกตในทางวิทยาศาสตร์ก็คือ ครีบฉลามที่นำมารับประทานนี้ ได้ผ่านกระบวนการหลายอย่าง ตั้งแต่การแตกแห้ง ต้มจนเปื่อย และขูดหนังทิ้งจนเหลือแต่กระดูกอ่อน เหลือแคมเซียมอยู่ก็ไม่กี่มากน้อย

สิริรวมในเรื่องคุณค่าด้านอาหารแล้ว หูฉลามหนึ่งชามมีค่าเสมอด้วยไข่เป็ดฟองเดียวเท่านั้นเอง

การ เลือกซื้ออาหารเพื่อคุณค่าสูงสุด จึงไม่ได้หมายถึงอาหารราคาแพงเท่านั้น ถ้ามีความรู้และรู้เท่าทันด้วย การใช้เหตุผลทางวิทยาศาสตร์ มักจะได้ทั้งของถูกและของดีพร้อมกันในคราวเดียว

ที่มา วิทยาศาสตร์รอบตัว(จาก สสวท.)

วันจันทร์ที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2553

8 เคล็ด (ไม่ลับ) หลับสบาย

คุณมีอาการแบบนี้หรือไม่? ระหว่างนอนรู้สึกว่าสมองยังคงคิดเรื่องต่างๆ อยู่ หลับไม่สนิทตื่นเป็นระยะ บ่อยครั้งตื่นในตอนเช้าด้วยความงัวเงีย และรู้สึกไม่แจ่มใสไปทั้งวัน นั่นเป็นเพราะคุณกำลังเข้าใกล้วงจรของอาการนอนไม่หลับ
นอนไม่หลับ, การนอน, วิธีทำให้นอนหลับ, หลับสบาย, พักผ่อน, เกร็ดความรู้
‘นอนไม่หลับ’ นับเป็นอาการยอดฮิตของหลายๆ คน ที่ส่วนมากเกิดจากความเครียด โดยเฉพาะวัยเรียนและวัยทำงาน ที่กังวลเกี่ยวกับงานและเรื่องต่างๆ มากเกินไป จนกลายเป็นความคิดมาก เครียด และนอนไม่หลับ

บ่อยครั้งในระหว่างวันจะรู้สึกง่วงนอนและอ่อนเพลีย ส่งผลให้การเรียนการทำงานขาดประสิทธิภาพ

‘เกร็ดน่ารู้’ สัปดาห์นี้มี Tips ง่ายๆ ช่วยให้หลับสบายมาฝากกัน

1.ตื่นและนอนให้เป็นเวลา โดยใน 1 วัน ควรนอนให้ได้ 8 ชั่วโมง และทำให้เป็นประจำทุกวัน

2.ฝึกนั่งสมาธิก่อนนอน เพื่อไม่ให้จิตใจฟุ้งซ่าน

3.วางแผนงานที่จะสะสางในวันพรุ่งนี้ให้เป็นระบบ เพื่อลดการคิดซ้ำซาก

4. อย่ากังวลกับงานจนเกินไป เมื่อถึงเวลานอนก็ควรนอนให้หลับสนิท เพื่อพักสมอง และเตรียมลุยงานในวันพรุ่งนี้ ซึ่งจะเป็นผลดีกับประสิทธิภาพของงาน

5.หากลิ่นหอมอ่อนๆ จากน้ำมันหอมระเหยวางในห้อง จะช่วยให้รู้สึกผ่อนคลายและหลับง่ายขึ้น

6.ดื่มนมอุ่นๆ ก่อนนอน จะช่วยคลายเครียด ผ่อนคลายประสาท

7.หลีกเลี่ยงการดื่มกาแฟ น้ำอัดลม ช็อกโกแลต เนื่องจากมีคาเฟอีนกระตุ้นทำให้นอนไม่หลับ

8.เปิดเพลงเบาๆ ฟังสบายๆ จะให้ความรู้สึกสงบ

เพราะ... การหลับสนิทเป็นการพักผ่อนที่ช่วยชาร์จพลังที่ดีที่สุด ดังนั้น การสร้างสุขลักษณะการนอนที่ดี รู้จักผ่อนคลายเรื่องเครียดกังวล จะส่งผลดีต่อร่างกาย-สติปัญญา และช่วยบอกลาอาการนอนไม่หลับได้.

ลูเทอร์ เทอรี่ แพทย์ชาวอเมริกาแถลงข่าวว่าการสูบบุหรี่เป็นสาเหตุของโรคมะเร็งปอดและโรคร้ายอื่นๆ



11 มกราคม พ.ศ.2507 ลูเทอร์ เทอรี่ (Luther Leonidas Terry) นายแพทย์ใหญ่แห่งกระทรวงสาธารณสุขสหรัฐอเมริกา แถลงข่าวเปิดตัวรายงานฉบับแรกของคณะที่ปรึกษาด้านบุหรี่และสุขภาพที่มีข้อ สรุปว่า การสูบบุหรี่เป็นสาเหตุของโรคมะเร็งปอดและโรคร้ายอื่นๆ นับ เป็นครั้งแรกที่รัฐบาลอเมริกาเปิดเผยถึงพิษภัยของบุหรี่ให้สาธารณชนได้รับ รู้อย่างเป็นทางการ และเป็นก้าวแรกที่สำคัญในการรณรงค์เพื่อลดการสูบบุหรี่ในอเมริกา

วันอาทิตย์ที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2553

พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว

พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระนามเดิมว่า “เจ้าฟ้าจุธามณี” ทรงเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย กับสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินีประสูติเมื่อวันที่ ๔ กันยายน พ.ศ. ๒๓๕๑ ทรงมีพระปรีชาสามารถรอบรู้การในประเทศและต่างประเทศ อีกทั้งกิจการกองทัพบกและกองทัพเรือ ทรงดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารเรือไทยพระองค์แรก ทรงศึกษาภาษาอังกฤษอย่างแตกฉานทรงชำนาญศิลปศาสตร์ วิชาช่างจักรกล วิชาการปืนใหญ่ ทรงจัดการการทหาร ตลอดจนได้สร้างเครื่องศาสตราวุธยุทโธปกรณ์สำหรับแผ่นดินเป็นอันมาก

ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ตำแหน่งกรมพระราชวังบวรสถานมงคล หรือพระมหาอุปราชที่เรียกกันอย่างสามัญว่า“วังหน้า” มักจะตกอยู่กับสมเด็จพระอนุชาธิราช (ยกเว้นพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงแต่งตั้งกรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพ พระปิตุลา เป็นพระมหาอุปราช) พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงแต่งตั้งสมเด็จพระอนุชาธิราชเจ้าฟ้า จุธามณีให้มีฐานะเป็นพระเจ้าแผ่นดินอีกพระองค์หนึ่ง ทรงพระนามว่า พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวรัฐบาลแห่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบันได้จัดสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์ของพระองค์ขึ้น เมื่อวันที่ ๒๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๐๘ ประดิษฐาน ณ มุมตะวันออกของโรงละครแห่งชาติ อันเคยเป็นที่ประทับของพระองค์เมื่อครั้งยังดำรงตำแหน่งกรมพระราชวังบวรสถาน มงคล

วันเสาร์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2553

วันเด็กแห่งชาติ



นายวี เอ็ม กุลกานี ผู้แทนองค์การสหพันธ์เพื่อสวัสดิการเด็กระหว่างประเทศ เป็นผู้เสนอต่อกรมประชาสงเคราะห์ให้มีการจัดงานวันเด็กแห่งชาติขึ้น เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนได้เห็นความสำคัญของเด็ก และเพื่อกระตุ้นเตือนให้เด็กได้ตระหนักถึงความสำคัญของตนเอง

งานวันเด็กแห่งชาติในเมืองไทยครั้งแรกนั้น จัดขึ้นในวันจันทร์แรกของเดือนตุลาคม พ.ศ 2498 และได้จัดต่อกันมาเป็นประจำทุกปี จนถึง พ.ศ. 2506 จึงมีความคิดว่าควรจะเปลี่ยนไปจัดงานวันเด็ก ในวันเสาร์ที่สองของเดือนมกราคม เนื่องจากเห็นว่าเป็นช่วงที่พ้นจากฤดูฝนมาแล้วและเป็นวันหยุดราชการทำให้ เกิดความสะดวกด้วยประการทั้งปวง

ในปี พ.ศ. 2507 ไม่สามารถจัดงานวันเด็กได้ทัน จึงได้เริ่มจัดในปี พ.ศ. 2508 ซึ่งถือเอาวันเสาร์ที่สองของเดือนมกราคม เป็นวันเด็กแห่งชาติ มาจนทุกวันนี้

รัฐบาลได้จัดให้มี คณะกรรมการจัดงานวันเด็กแห่งชาติขึ้นมาคณะหนึ่ง ทำหน้าที่ประสานงานกับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐบาล รัฐวิสาหกิจ และเอกชน กำหนดให้มีการฉลองวันเด็กแห่งชาติทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค จุดประสงค์เพื่อให้เด็กทั่วประเทศทั้งในระบบโรงเรียนและนอกระบบโรงเรียน ได้รู้ถึงความสำคัญของตน เกี่ยวกับสิทธิ หน้าที่ ความรับผิดชอบ ระเบียบวินัย ที่มีต่อตนเองและสังคม มีความยึดมั่นในสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข

วันศุกร์ที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2553

พิพิธภัณฑ์เด็กกรุงเทพมหานคร


พิพิธภัณฑ์เด็กกรุงเทพมหานคร
พิพิธภัณฑ์เด็กกรุงเทพมหานคร นับเป็นพิพิธภัณฑ์เด็กแห่งแรกของประเทศไทย และในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ จัดตั้งขึ้นตามพระราชปรารภ ของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ที่ทรงปรารถนา ให้เด็กไทยได้รับโอกาสในการเรียนรู้อันกว้างขวาง ซึ่งคณะผู้บริหารกรุงเทพมหานคร ในสมัยของ ดร. พิจิตต รัตตกุล ได้สนองพระราชปรารภ โดยจัดพื้นที่ส่วนหนึ่ง ของสวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ จำนวน 5 ไร่ ที่มูลนิธิสวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ มอบให้เป็นสถานที่ก่อสร้าง อาคารพิพิธภัณฑ์เด็ก สำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว กรุงเทพมหานคร ได้เริ่มก่อสร้างพิพิธภัณฑ์เด็ก ขึ้นเมื่อ ต้นปี 2543 และแล้วเสร็จสมบูรณ์ในกลางปี 2544 ในสมัยของนายสมัคร สุนทรเวช เป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร

พิพิธภัณฑ์ เด็กกรุงเทพมหานครประกอบด้วยอาคารจัดแสดงนิทรรศการ 3 หลัง พร้อมห้องประชุม และพื้นที่บริการส่วนต่างๆ ในอาคาร รวมพื้น ที่กว่า 7,000 ตารางเมตร กับพื้นที่ลานกว้าง นอกอาคาร ซึ่งจัดเป็นส่วน กิจกรรม การเรียนรู้ และสันทนาการ มีพื้นที่กว่า 3,000 ตารางเมตร
กรุงเทพมหานคร ได้มอบพิพิธภัณฑ์เด็กฯ ให้อยู่ในความ ดูแลรับผิดชอบ ของมูลนิธิพิพิธภัณฑ์เด็กกรุงทพมหานคร เพื่อจัดให้มีการบริการ การเรียนรู้ที่มีคุณภาพ และมีประสิทธิภาพ อย่างเต็มที่

พิพิธภัณฑ์ เด็ก กรุงเทพมหานคร ประกอบไปด้วยอาคารจัดนิทรรศการ 3 หลัง พร้อมลานกิจกรรมกลางแจ้ง ในส่วนของการจัดแสดงแบ่งเป็น 8 ส่วนคือ
1. ภาคนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
2. ชีวิตของเรา
3. วิทยาศาสตร์
4. วัฒนธรรมและประเพณี
5. เทคโนโลยีใกล้ตัว
6. ภาคเด็กเล็ก
7. ลานสันทนาการ
8. ห้องสมุดเด็ก

วันและเวลาทำการ
เปิดวันอังคาร - วันศุกร์ เวลา 09.00 - 17.00 น.
วันเสาร์ - วันอาทิตย์ เวลา 10.00-18.00 น.
และปิดทำการในวันจันทร์

อัตราค่าเข้าชม
ผู้ใหญ่ และนิสิตนักศึกษา ท่านละ 70 บาท
เด็กอายุ 2 ปีขึ้นไปและนักเรียนนักศึกษาในเครื่องแบบ ท่านละ 50 บาท
พระสงฆ์ เด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไปและผู้พิการไม่เสียค่าเข้าชม
หากมีชุดนิทรรศการหรือกิจกรรมพิเศษ อาจปรับราคาตามความเหมาะสม


สถานที่ติดต่อ
พิพิธภัณฑ์เด็ก กรุงเทพมหานคร ตั้งอยู่ที่สวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ถนนกำแพงเพชร 4 เขตจตุจักร โทร. 0-2615-7333 และ 0-2272-4500

การเดินทาง
มีรถประจำทางสาย 136,145,138,90,63,34,และ 59
มีรถไฟฟ้ามหานครลงที่สถานีหมอชิต
รถไฟฟ้า BTS ลงสถานีจตุจักร
ทางด่วนสามารถลงได้ที่ถนนกำแพงเพชร 1 และ 2

วันพฤหัสบดีที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2553

ส.ค.ส พระราชทาน

กลอนปีใหม่

สวัสดี..ปีใหม่..ขอให้สุขมีความทุกข์..ความโศกเศร้า..ขอให้หายความไม่ดี..ในปีเก่า..ขอให้ตายให้สุขกาย..สุขใจ..ปีใหม่เอย
แม้ปีใหม่ปีนี้เธอไม่อยู่เธอคงรู้ความหมายในใจฉันใจที่คิดถึงเธอเสมอทุกคืนวันขอเธอนั้นมีสุขทั่วชั่วนิรันดร์
ปีใหม่นี้ขอให้มีแต่ความสุขเรื่องที่ทุกข์ขอความสุขมาแทนที่ทุกๆปีขอให้มีแต่โชคดีปีใหม่นี้ขอทุกวันสุขสันต์เอย.

ส.ค.ส พระเทพพระราชทาน

วันขึ้นปีใหม่ในประเทศไทย



ในประเทศไทย ทางราชการ(คณะรัฐบาลของ จอมพล ป. พิบูลสงคราม)ให้ถือเอาวันที่ 1 มกราคม เป็นวันขึ้นปีใหม่ ตั้งแต่ พ.ศ. 2484 เป็นต้นมา
กิจกรรมที่นิยมปฏิบัติในวันขึ้นปีใหม่ ได้แก่ การทำบุญตักบาตรที่วัดหรือสถานที่ที่ทางราชการนิมนต์พระภิกษุสามเณรจากวัดต่างๆ มาเตรียมไว้ให้ มีการลงนามถวายพระพรชัยมงคลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระบรมราชินีนาถ ผู้ไปลงนามจะได้รับปฏิทินหลวงเป็นที่ระลึก นอกจากนี้ยังอาจมีงานเลี้ยงภายในเครือญาติและมิตรสหาย ช่วงใกล้วันปีใหม่มักมีการส่งบัตร ส.ค.ส. และแจกจ่ายปฏิทินสำหรับปีใหม่เป็นของกำนัล

วันขึ้นปีใหม่



วันขึ้นปีใหม่ คือวันแรกของปี มักจะมีการเฉลิมฉลองอย่างยิ่งใหญ่ และนับเป็นวันสำคัญของปี ปัจจุบันกำหนดให้วันที่ 1 มกราคม เป็นวันขึ้นปีใหม่สากล ตามปฏิทินเกรกอเรียน และถือเป็นวันหยุดต่อมาจากวันสิ้นปี อย่างไรก็ตาม ในแต่ละชาติที่ใช้ปฏิทินแบบอื่น ก็จะมีวันขึ้นปีใหม่ที่แตกต่างกันไป เช่น วันตรุษจีน วันสงกรานต์ เป็นต้น

วันพุธที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2553

วันเกิด คาลิล ยิบราน ศิลปินชาวเลบานอน




6 มกราคม พ.ศ.2426 วันเกิด คาลิล ยิบราน (Kahlil Gibran) นักปรัชญา นักประพันธ์ กวี และศิลปินชาวเลบานอน ผู้ที่ได้รับการขนานนามว่า "วิลเลียมเบลคแห่งศตวรรษที่ 20" งานชิ้นแรกๆ ของยิบราน เป็นบทเขียนและบทกวีภาษาอาหรับ ผลงานที่มีชื่อเสียงที่สุดคือกวีนิพนธ์ชื่อ ปรัชญาชีวิต (The Prophet) ซึ่งกล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ ซึ่งได้ถูกแปลเป็นภาษาต่าง ๆ กว่า 1 ภาษา และนิยมอ่านแพร่หลายกันทั่วโลก กล่าวได้ว่าผลงานของยิบรานได้มีอิทธิพลและสร้างแรงบันดาลใจให้แก่คนคนรุ่น หลังเป็นอย่างมาก

วันอังคารที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2553

บริจาคโลหิต-อวัยวะ การทำบุญที่ยิ่งใหญ่

บริจาคโลหิต, บริจาคเลือด, บริจาคอวัยวะ, การทำบุญ, สุขภาพ









ผู้คนส่วนใหญ่มักใช้โอกาสปีใหม่เป็นจุดเริ่มต้นทำสิ่งดี ๆ เพื่อสร้างความสบายใจให้แก่ตนเอง มีทั้งการตั้งจิตอธิษฐานขอพรจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เคารพนับถือและการบริจาค ทรัพย์เพื่อช่วยคนทุกข์ยากแล้ว การบริจาคโลหิตหรืออวัยวะก็ยังถือ เป็นการให้ที่ยิ่งใหญ่ สามารถพลิกฟื้นวิกฤติร่างกายจากหนักเป็นเบาหรือเข้าสู่ภาวะปกติได้ ถือเป็นการให้ที่ยิ่งใหญ่

และในวันสิ้นปีเช่นนี้ ‘มุมสุขภาพ’ แนะ นำให้คุณผู้อ่านร่วมทำบุญรับศักราชใหม่ด้วยการบริจาคโลหิตหรืออวัยวะ ซึ่งควรมีความเข้าใจถึงหน้าที่และความจำเป็นของสิ่งที่จะบริจาคกันก่อน

เริ่มจากการบริจาคโลหิต แบ่งเป็น 2 ส่วน ประกอบด้วย เม็ดโลหิต (เม็ดโลหิตแดง ขาว เกล็ดโลหิต) และพลาสมา โดยทั่วไปผู้คนมักร่วมบริจาคโลหิต เนื่องจากร่างกายของคนเรามีโลหิต 17-18 แก้วน้ำ แต่ใช้งานเพียง 15-16 แก้วน้ำ ดังนั้นส่วนที่เหลือจึงสามารถบริจาคได้โดยไม่เป็นอันตราย ในการบริจาคจะใช้เลือดเพียง 350 – 450 ซีซี แล้วจะนำไปช่วยเหลือผู้ป่วยจากอุบัติเหตุ ผ่าตัด คลอดบุตร เฉลี่ยร้อยละ 77 ส่วนอีกร้อยละ 23 ของโลหิตที่ได้รับการบริจาคจะนำไปรักษาผู้ป่วยเฉพาะโรค เช่น ธาลัสซีเมีย เกล็ดโลหิตต่ำ ฮีโมฟีเลีย เป็นต้น

แต่ยังมีการบริจาคส่วนประกอบสำคัญในโลหิตที่แบบเฉพาะเจาะจงลงไป คือ ‘เกล็ดโลหิต’ ซึ่ง จะรับบริจาคเมื่อมีการร้องขอจากโรงพยาบาล เนื่องจากเมื่อนำเกล็ดโลหิตออกจากร่างกาย จะมีอายุการใช้งานภายใน 24 ชั่วโมง – 5 วัน แถมยังต้องถูกเก็บรักษาในตู้ที่อุณหภูมิ 22 องศาเซลเซียส โดยนำไปช่วยเหลือผู้ป่วยโรคมะเร็งเม็ดโลหิตขาว ไขกระดูกไม่ทำงาน โรคไข้เลือดออก มะเร็งต่อมน้ำเหลือง เพราะผู้ป่วยเหล่านั้นจะมีเกล็ดโลหิตในร่างกายต่ำกว่า 1-5 แสนตัวต่อลูกบาศก์มิลลิเมตร

เฉพาะส่วนของเลือดยังมี ‘เม็ดโลหิตแดง’ ส่วนประกอบสำคัญที่นำออกซิเจนจากปอดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ใช้ช่วยเหลือผู้ป่วยอุบัติเหตุ ผ่าตัด หรือมีภาวะซีดเพราะเม็ดโลหิตแดงผิดปกติ สำหรับการบริจาคเม็ดโลหิตแดงจะรับได้จากผู้บริจาค 2 ยูนิตต่อราย การนำไปใช้แพทย์จะเตรียมเม็ดโลหิตแดงจากผู้บริจาครายเดียวจึงลดความเสี่ยงใน การติดเชื้อ

‘พลาสมา’ หรือน้ำเหลือง คือภูมิต้านทานโรคติดต่อและเชื้อโรค การแยกพลาสมาออกจากโลหิตนั้นจะได้เพียง 100 – 150 ซีซี จึงมีการเกิดรับบริจาคเฉพาะพลาสมามากขึ้น เนื่องจากการบริจาคเพียงแต่พลาสมา จะทำให้ได้ปริมาณ 500 ซีซีต่อคน นำไปใช้เป็นส่วนประกอบโลหิต และสร้างผลิตภัณฑ์โลหิตเพื่อฉีดเข้าเส้นสำหรับป้องกันไวรัสตับบีหรือพิษ สุนัขบ้า

และ ‘เซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิต’ (Stem Cell) เซลล์ตัวอ่อนของโลหิตที่จะเจริญเติบโตเป็นเม็ดโลหิตแดง ขาว และเกล็ดโลหิต ร่างกายสร้างขึ้นตลอดเวลา โดยนำไปช่วยผู้ป่วยธาลัสซีเมีย โลหิตจางชนิดไขกระดูกฝ่อ มะเร็งเม็ดโลหิต เป็นต้น

นอกเหนือจากการ บริจาคโลหิตแล้ว การบริจาคอวัยวะก็ยังเป็นที่ต้องการอยู่ แต่เพราะเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน การบริจาคอวัยวะจึงมีจำนวนไม่มาก

การบริจาคดวงตา หลังผู้ที่บริจาคเสียชีวิตลง ภายใน 6 ชั่วโมง ผู้เชี่ยวชาญจะต้องทำการจัดเก็บ ก่อนสภาพศพเน่าเปื่อย ทั้งยังไม่ควรมีการฉีดน้ำยากันเน่าด้วย ดวงตาที่บริจาคนั้นจักษุแพทย์สามารถนำไปแยกส่วนเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการ รักษาผู้ที่มีความต้องการกระจกตา เพราะมีอาการกระจกตาขุ่นเป็นฝ้าขาว กระจกตามีความโค้งนูนผิดปกติ หรือตาขาว

การบริจาคเยื่อหุ้มรก Amniotie Humbrane เยื่อ บางใสหุ้มทารกและน้ำคร่ำขณะเด็กอยู่ในครรภ์มารดา หลังคลอดเยื่อหุ้มรกจะติดค้างกับรถ มี 2 ส่วนประกอบสำคัญ คือ เซลล์และแผ่นฐานรองรับเซลล์ ที่เรียกว่า basement membrane และส่วนของเนื้อเยื่อผูกพันที่อยู่กันอย่างหลวม ๆ และมีสารหลายอย่างละลายอยู่ข้างใน นำไปใช้ประโยชน์ในการผ่าตัดรักษาช่องท้อง ปกปิดแผลที่ถูกไฟไหม้ น้ำร้อนลวก ทดแทนเนื้อเยื่อ ช่วยสมานแผล ทั้งยังช่วยในการรักษาโรคที่เกี่ยวกับผิวดวงตา

ศูนย์กลางการรับบริจาคแห่งใหญ่ในบ้านเราอยู่ที่ ‘สภากาชาดไทย’ ซึ่ง ยังต้องการโลหิต ดวงตา และอวัยวะอื่นๆ เช่น ปอด ไต หัวใจ ตับ รวมทั้งร่างกายเพื่อการศึกษาของนักเรียนแพทย์ ผู้มีจิตศรัทธาต้องการทราบรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

วันจันทร์ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2553

วันเกิด หลุยส์ เบรลล์ ชาวฝรั่งเศสผู้ประดิษฐ์ อักษรเบรลล์



4 มกราคม พ.ศ. 2352 วันเกิด หลุยส์ เบรลล์ (Louis Braille) ชาวฝรั่งเศสผู้ประดิษฐ์ "อักษรเบรลล์” ซึ่งเป็นระบบการอ่านสำหรับคนตาบอด เบรลล์ประสบอุบัติเหตุขณะกำลังเล่นอยู่ในร้านทำรองเท้าของพ่อจนทำให้เขา ตาบอดสนิทเมื่ออายุ 3 ขวบ เมื่ออายุได้ 15 ปี เขาได้คิดประดิษฐ์อักษรเบรลล์ซึ่งเป็นอักษรสำหรับให้คนตาบอดใช้มือคลำอ่าน อาศัยแนวคิดจากตัวโดมิโนที่มี 6 จุด จัดวางไว้เป็นกลุ่มสร้างเป็นลักษณะจุดนูนแทนค่าพยัญชนะต่างๆ เขาสามารถสร้างอักษรที่แตกต่างกันออกมาได้ 63 แบบ ซึ่งสามารถแทนค่าตัวอักษรทุกตัวที่มีอยู่ได้จนหมดสิ้น รวมทั้งเครื่องหมายวรรคตอนและคำย่อต่างๆ ลักษณะของจุดนูนช่วยให้คนตาบอดอ่านได้ด้วยการสัมผัส คือใชปลายนิ้วลูบไปบนลายนูน ในช่วงเวลาที่เบรลล์ยังมีชีวิตอยู่ อักษรเบรลล์ที่เขาคิดค้นขึ้นยังไม่เป็นที่แพร่หลาย จนกระทั่งหลังจากเขาได้เสียชีวิตไปแล้ว ระบบอักษรดังกล่าวจึงค่อยๆ เป็นที่ยอมรับและแพร่หลาย กลายเป็นภาษามาตรฐานสำหรับคนตาบอดทั่วโลก

วันอาทิตย์ที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2553

วันเกิด เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ผู้แต่งเทพนิยาย ลอร์ด ออฟ เดอะ ริง



3 มกราคม พ.ศ. 2435 วันเกิด เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน (John Ronald Reuel Tolkien) ผู้แต่งเทพนิยายเรื่อง ฮอบบิท (Hobbit) และ ลอร์ด ออฟ เดอะ ริงค์ (The Lord of The Ring) เขาเป็นศาสตราจารย์สาขาแองโกล-แซกซอน ตั้งแต่ ค.ศ.1925 - ค.ศ.1945 และด้านภาษาและวรรณคดีอังกฤษ ที่มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ดตั้งแต่ ค.ศ. 1945 - ค.ศ.1959 ผลงานของเขาได้รับการยอมรับว่ามีการใช้ภาษาที่ลุ่มลึกและมีผู้ตีความภาษาของ เขากันอย่างกว้างขวาง

วันเสาร์ที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2553

การรถไฟแห่งประเทศไทยเปิดเดินขบวนรถไฟสายใต้



2 มกราคม พ.ศ. 2464 การรถไฟแห่งประเทศไทยเปิดเดินขบวนรถไฟสายใต้ติดต่อกับชายแดนมาเลเซีย ระหว่างสถานี บางกอกน้อย-ปาดังเบซาร์ ระยะทาง 990 กิโลเมตรขึ้นเป็นครั้งแรก

วันศุกร์ที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2553

วันขึ้นปีใหม่


ความหมาย

ปีใหม่ เป็นเรื่องของวันเดือนหมุนเวียนมาบรรจบครบรอบ ๓๖๕ วัน๑ หรือ ๑๒ เดือน ซึ่งสมมติกันว่า ปีหนึ่งหมดไป ขึ้นวันเดือนใหม่ของอีกปีหนึ่ง ก็เรียกกันว่าปีใหม่ แล้วเปลี่ยนนักษัตรประจำปีใหม่เป็น ชวด ฉลู ขาล เถาะ เป็นต้น และเปลี่ยนพุทธศักราช (พ.ศ.) ใหม่

ความเป็นมา

ประเพณีปีใหม่ของไทยในสมัยอยุธยาและรัตนโกสินทร์ ตั้งแต่รัชกาลที่ ๑ ถึงรัชกาลที่ ๕ ตอนต้นถือวันทางจันทรคติขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๕ เป็นวันขึ้นปีใหม่ ในพระราชพิธีสิบสองเดือนพระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีความว่าพระราชพิธีขึ้นปีใหม่ วันขึ้น ๑ ค่ำ เดือนห้า ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ทรงพระราชดำริว่า ในกฎมนเทียรบาลมีการสมโภชและเลี้ยงลูกขุน ซึ่งตรงกับการเลี้ยงโต๊ะอย่างฝรั่ง จึงทรงกำหนดการพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลขึ้นเวลาเช้ามีการพระราชกุศล สดับปกรณ์พระบรมอัฐิ ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย เวลาค่ำเชิญพระสยามเทวาธิราชและเชิญเจว็ดรูป พระภูมิเจ้าที่จากหอแก้วออกมาตั้งที่บุษบกมุขเด็จพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ตั้งเครื่องสังเวยที่พื้นชาลาหน้ามุขเด็จตั้งพระราชอาสน์ที่ประทับ ณ ศาลาคด มีละครหลวงแสดงและตั้งโต๊ะพระราชทานเลี้ยง

ครั้งต่อมาในรัชกาลที่ ๕ ได้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่เป็นทางสุริยคติ ถือวันที่ ๑ เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่๒ และโปรดให้ใช้รัตนโกสินทรศกในการนับปี ตั้งแต่ ร.ศ.๑๐๘ เป็นต้นมา สำหรับพระราชพิธีปีใหม่นั้นทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระบรมวงศานุวงศ์ฝ่ายหน้าเสด็จเข้าไปรับพระราชทานเลี้ยง ณ ท้องพระโรงกลาง พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท พระราชทานฉลากแก่พระบรมวงศานุวงศ์ และข้าราชการบางคน ครั้นพระราชทานสิ่งของตามฉลากแล้วเสด็จพระราชดำเนินที่ประทับที่ชาลาหน้าพระ ที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ทอดพระเนตรละครหลวง แล้วเสด็จฯ กลับ

ส่วนวันขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๕ ซึ่งเป็นวันพระราชพิธีขึ้นปีใหม่ในรัชกาลที่ ๔ นั้นกำหนดเป็นพระราชพิธีบวงสรวงพระสยามเทวาธิราช ตลอดมาจนทุกวันนี้

ถึงแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ใช้พุทธศักราชแทนรัตนโกสินทรศก ตั้งแต่ พุทธศักราช ๒๔๕๕๓ และต่อมาใน พุทธศักราช ๒๔๕๖๔ โปรดให้รวมพระราชพิธีสัมพัจฉรฉินท์ เถลิงศกสงกรานต์ พระราชพิธีศรีสัจจปานกาลถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา เข้าด้วยกันเรียกว่าพระราชพิธีตรุษสงกรานต์เริ่มการพระราชพิธีตั้งแต่วันที่ ๒๘ มีนาคม ถึงวันที่ ๓ เมษายน

การพระราชพิธีในวันที่ ๒๘ มีนาคม เลี้ยงพระ อ่านประกาศสังเวยเทวดา สวดอาฎาภาณวารในพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย วันที่ ๒๙ มีนาคม เลี้ยงพระ อ่านประกาศสังเวยเทวดา สวดอาฎานาฏยสูตร ยิงปืนมหาฤกษ์ มหาชัย มหาจักร มหาปราบยุค วันที่ ๓๐ มีนาคม พระราชทานพระมหาสังข์

วันที่ ๑ มกราคม พุทธศักราช ๒๕๐๑ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถเสด็จพระราช ดำเนินโดยรถยนต์พระที่นั่ง จากพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิตไปยังพระบรมมหาราชวัง ทรงจุดธูปเทียนถวายนมัสการพระพุทธปฏิมากรที่พระแท่นนพปฎลมหาเศวตฉัตรภายใน ท้องพระโรง

เวลา ๗ นาฬิกา เสด็จฯ ลงยังสนามหน้าพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ทรงจุดธูปเทียนเครื่องทองน้อยแล้วทรงบาตรพร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ องคมนตรี คณะรัฐมนตรี ข้าราชการ ทุกกระทรวง ทบวง กรม โดยจัดเป็นสายๆ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระบรมวงศานุวงศ์ ๕๐ รูป นอกนั้นสายละ ๒๕ รูป รวมพระสงฆ์ ๓๐๐ รูป เสร็จแล้วเสด็จฯ ขึ้น งานนี้แต่งเครื่องแบบปรกติขาว งานนี้มีสังข์ แตร ปี่พาทย์ ประโคม บรรเลงตั้งแต่เสด็จทรงจุดเทียนจนเสด็จขึ้น

วันนี้ เวลา ๙ นาฬิกา ๑๗ นาฬิกา สำนักพระราชวังจะได้จัดที่สำหรับลงพระนามและนามถวายพระพรไว้ที่พระบรมมหาราชวัง

ครั้ง พุทธศักราช ๒๕๐๑ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนการพระราชพิธีบำเพ็ญพระราชกุศลทรงบาตรขึ้นปีใหม่ ในวันที่ ๑ มกราคม เป็นวันที่ ๓๑ ธันวาคม๕ ซึ่งเป็นวันสิ้นปี

ต่อมา ในปีพุทธศักราช ๒๕๑๘ พระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลทรงบาตรขึ้นปีใหม่ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดเป็นงานส่วนพระองค์ ณ พระราชฐานที่ประทับ