วันศุกร์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2553

วันนักข่าว

วันนักข่าว หรือ วันสื่อสารมวลชนแห่งชาติ ตรงกับวันที่ 5 มีนาคม ของทุกปี ซึ่งเป็นวันที่ได้มีการจัดตั้งสมาคมนักข่าวแห่งประเทศไทย
วันนักข่าว ถือกำเนิดมาจากวันที่นักข่าวรุ่นบุกเบิกหลายท่านได้ร่วมชุมนุมกันก่อตั้ง สมาคมนักข่าวแห่งประเทศไทยขึ้นมาเมื่อ 48 ปีที่แล้ว แต่ก่อนหน้านั้นหนังสือพิมพ์ทั้งหลายต่างให้ความสำคัญกับ "วันนักข่าว" กันเป็นอย่างดี ซึ่งถือว่าเป็นวันหยุดการทำงานของบรรดานักข่าวทั้งหลาย เป็นที่ทราบกันดีว่าวันที่ 6 มีนาคม ของทุกปีจะไม่มีหนังสือพิมพ์ออกมาขาย ต่อมาเมื่อความต้องการในข่าวสารมีมากขึ้นชาวนักข่าวทั้งหลายได้มีการแอบออก หนังสือพิมพ์มาขายในวันที่ 6 มีนาคม ทำให้หนังสือพิมพ์อื่นจำใจต้องเลิกประเพณีนี้ไป

เมื่อวันที่ 5 เป็นวันหยุดของนักข่าว สมาคมนักข่าวแห่งประเทศไทยจึงกำหนดให้วันที่ 4 มีนาคมของทุกปี เป็นวันประชุมใหญ่สามัญประจำปี เพื่อที่วันรุ่งขึ้นจะได้จัดเฉลิมฉลองกันได้อย่างเต็มที่ ในการจัดงานประชุมใหญ่และงานเลี้ยงสังสรรค์ประจำปี แต่เดิมได้จัดที่บริเวณถนนราชดำเนินซึ่งบรรดาเหยื่อข่าวได้มาพบปะสังสรรค์ กันที่ริมฟุตบาทถนนราชดำเนิน

เมื่อ 10 ปีที่ผ่านมาจำนวนสมาชิกของสมาคมได้เพิ่มมากขึ้น ประกอบกับถนนราชดำเนินได้เป็นถนนสายหลัก ที่มีผู้ใช้รถใช้ถนนเป็นจำนวนมากสถานที่ของสมาคมจึงคับแคบและการจัดงานของ สมาคมยังสร้างความเดือดร้อนให้แก่บุคคลที่สัญจรไปมา การจัดการประชุมใหญ่ประจำปีของสมาคมจึงต้องย้ายสถานที่ไปตามโรงแรมต่างๆ

ประวัติศาสตร์วงการข่าวในประเทศไทย

ในสมัยของ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 ตอนนั้นเมืองไทยเรายังใช้กฎหมายเดิมของพระบาทสมเด็จพระบรมไตรโลกนารถซึ่งใช้กันมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา สมัยนั้น มี หมอ ดี. บี. บรัดเลย์ ในคณะมิชชันนารีชาวอเมริกัน บอร์ด คอมมิชชันเนอร์ ฟอร์ ฟอเรน มิชชั่น เข้ามาในประเทศ และได้เริ่มทำหนังสือพิมพ์ขึ้นเป็นฉบับแรก เมื่อปี พ.ศ. 2336 ชื่อ "บางกอกรีคอร์ดเดอร์ส" โดยหมอบรัดเล เป็นบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ซึ่งท่านก็คือ "นักข่าว" คนแรกนั่นเอง

สมัยนั้น เสรีภาพ ยังไม่ใช่สิ่งที่ทุกคนรู้จัก การเสนอข่าวให้กับประชาชนยังเป็นไปด้วยความยากลำบากเนื่องจากกฎหมายในสมัย นั้นไม่เอื้ออำนวยให้หนังสือพิมพ์ทำงานได้อย่างสะดวก การที่รัชกาลที่ 4 ให้สิทธิกับชาวต่างชาติในเมืองไทยได้รับสิทธิพิเศษในการที่ทำผิดแล้วไม่ต้อง ขึ้นศาลของไทย ให้ขึ้นศาลของชนชาติตนเอง ทำให้เกิดการกดขี่ ข่มเหง กลั่นแกล้ง เกิดความวุ่นวายของต่างชาติกับคนไทยมากมาย หมอบรัดเล เสนอข่าวนี้พาดพิงถึงพระมหากษัตริย์ เป็นเหตุให้หนังสือพิมพ์ต้องปิดตัวลงในเวลาต่อมา

แต่การเสนอข่าวมิได้จบลงเพียงเท่านั้น ในสมัยรัชกาลต่อมา ๆ หนังสือพิมพ์ก็เกิดขึ้นอีกหลายฉบับ เมื่อประเทศไทยเปลี่ยนการปกครองจากระบอบ "สมบูรณาญาสิทธิราชย์" มาเป็น "ประชาธิปไตย" การเสนอข่าวเกี่ยวกับรัฐบาลจึงเป็นสิ่งที่ยากสำหรับนักข่าว เพราะรัฐบาลสมัยนั้นลงโทษหนังสือพิมพ์ที่เสนอข่าวที่รัฐบาลเห็นว่าผิดโดยการ "ปิด" สถานเดียว ทำให้เกิดข้อโต้แย้งขึ้นมาว่า การเสนอข่าวนั้น เป็นมุมมองของ "นักข่าว" เท่านั้น

ดังนั้นการลงโทษด้วยการ "ปิด" เป็นการลงโทษที่เหมารวมทั้งหน่วยงาน จึงเป็นการลงโทษที่ไม่สมเหตุสมผล วันที่ 19 กันยายน พ.ศ 2475 สมัยที่พระยามโนปกรณ์นิติธาดาเป็นนายกรัฐมตรีจึงได้เสนอ "กฎหมายเซ็นเซอร์" ขึ้นเพื่อใช้ควบคุมการเสนอข่าวของนักข่าว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น