วันพฤหัสบดีที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

วัดไหล่หิน

ดไหล่หิน (1)


หากใครไปเที่ยวภาคเหนือ และมีโอกาสพูดคุยกับผู้เฒ่าผู้แก่ ป่ออุ้ย แม่อุ้ย หรือมีโอกาสได้สนทนากับพระตามวัด ที่มีปูชนียสถานอันเก่าแก่ ก็อาจได้ยินการพูดถึงพระเจ้าเม็งราย พญาเม็งราย หรือ พระเจ้ามังรายพระองค์ต่างๆ ที่เป็นผู้สร้างวัดนั้นๆหรือสถานที่นั่นๆอยู่บ่อยครั้ง ซึ่งแท้จริงแล้ว ราชวงศ์เม็งรายถือเป็นปฐมกษัตริย์แห่งล้านนาที่มีกษัตริย์ปกครองมาถึง 17 พระองค์ โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเปรียบเสมือนเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรล้านนา

ราชวงศ์มังราย ถือเป็นประวัติศาสตร์หน้าหนึ่งของอาณาจักรล้านนา มีพระเจ้ามังรายพระองค์ต่างๆปกครองมานานถึงร้อย
กว่าปี (พ.ศ. 1938 – พ.ศ. 2101) และในราชวงศ์นี้ก็ได้ก่อให้เกิดเรื่องราวทางประวัติศาสตร์มากมายหลายอย่างที่
ปรากฏบันทึกทางประวัติศาสตร์ของวัดสำคัญต่างๆหลายแห่งทางภาคเหนือ

สิ้น สุดของราชวงศ์เม็งรายก็ตอนที่ดินแดนล้านนา ซึ่งประกอบด้วยเมืองน้อยใหญ่ เช่นเขลางนคร(ลำปาง) หริภูญไชย(ลำพูน) และเมืองอื่นๆ ได้ตกเป็นเมืองขึ้นในสมัยของพระเจ้าบุเรงนองกษัตริย์ของพม่า มานานถึง 200 ปี และได้รับการกอบกู้ในสมัยพระเจ้าตากสินมหาราชและสมัยของพระพุทธยอดฟ้าจุฬา โลกมหาราช โดยมีพระยากาวีละและพระยาจ่าบ้าน จากเมือง เชียงใหม่ช่วยกันขับไล่พม่าจนสำเร็จ และก็น่าเสียดายที่เรื่องราวเหล่านี้เด็กๆนักเรียนทางภาคเหนือไม่มีโอกาสรับ รู้เรื่องราวอันเป็นต้นกำเนิดของบรรพบุรุษของตนเอง เพราะไม่ได้บรรจุไว้ในหลักสูตร เหมือนกับว่าเกิดมาแล้วก็ไม่รู้จัก ปู่ย่า ตาทวด ของตนเอง ขาดการเชื่อมโยง ทำให้สังคมเราสนใจแต่ปัจจุบันกับอนาคต และหันหลังให้กับอดีตจนน่าเป็นห่วง ทั้งที่ประวัติศาสตร์นั้นจะช่วยให้เราก้าวสู่อนาคตได้อย่างมั่นคงและมีสติ ที่ผ่านมาเราจึงลืมกำพืด ลืมรากเหง้าดั่งเดิมที่ควรซึมซับและถ่ายทอดสู่รุ่นต่อๆมา จึงไม่แปลกใจอะไรที่ปูชนียสถานหลายแห่งถูกลบหลู่ และถูกทำลายไปไม่น้อย

ประวัติ ศาสตร์ล้านนาได้เขียนไว้หลายหน้า แต่ย่อสรุปมาให้เหลือไม่กี่บรรทัด เพื่อให้เห็นว่าในยุคที่ล้านนาอยู่ภายใต้การ ปกครองของพม่ามานานถึง 200 ปีนั้น น่าจะพูดได้ว่า นานจนคนสองทั้งประเทศนี้เกือบจะลืมความแตกต่างในความเป็น ประเทศซึ่งกันและกัน เหมือนกับว่าเมืองล้านนากับพม่านั้นเป็นประเทศเดียวกันด้วยซ้ำไป

ล้าน นาตกเป็นเมืองขึ้นของพม่ามานานถึง 200 ปี คิดไปก็เหมือนกับว่านานทีเดียว แต่โดยข้อเท็จจริงแล้วพม่าจะควบคุมเฉพาะเมืองหลวงหรือนครพิงค์เท่านั้น ส่วนเมืองที่เป็นฐานะเมืองบริวารของเชียงใหม่ ก็ยังดำเนินชีวิตไปตามปกติแทบไม่มีผลกระทบอะไรกับการปกครองของพม่า

สาย สัมพันธ์ของพม่ากับชาวล้านนา ดูเหมือนจะเป็นลักษณะประเทศเพื่อนบ้านที่รู้จักมักคุ้นกันเป็นอย่างดี มีการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม มีการไปมาหาสู่กัน ไม่มีคำว่าใครเป็นเมืองขึ้นของใคร ซึ่งดูเป็นเรื่องน่าแปลก

หรือ ว่าระยะเวลาถึง 200 ปีนั้น มันเนิ่นนานจนลืมความแตกต่างในเรื่องคำว่าประเทศ หรือว่าสมัยนั้นเมื่อใครตกเป็นเมืองขึ้นกับใครแล้วมันไม่มีเหตุการณ์รุนแรง ถึงขั้นอาฆาต เป็นศัตรูกันเหมือนอย่างที่คนยุคนี้เข้าใจกัน หรืออาจเป็นเพราะประเทศทั้งสองนับถือศาสนาพุทธเหมือนกัน

จะ อะไรก็แล้วแต่ก็เป็นข้อสังเกตุที่ยังหาคำตอบให้กับตนเองไม่ได้ แต่สิ่งที่เป็นหลักฐานแสดงถึงความสัมพันธ์อันดีต่อกันนั้นสามารถมองผ่านจาก งานด้านศิลปวัตถุ หรือศิลปกรรมที่ปรากฏตามวัดสำคัญๆของภาคเหนือ ซึ่งเป็นศิลปะแบบผสมผสานระหว่างศิลปะล้านนาและศิลปะแบบพม่า บางวัดในอดีตมีการนำช่างฝีมือจากพม่ามาร่วมสร้าง บางวัดก็ได้รับการอุปถัมภ์ค้ำชูจากราชวงค์พม่า ซึ่งหากจะพูดว่าศิลปะล้านนานั้นได้รับอิทธิพลมาจากพม่าก็คงจะไม่ผิดนัก

เขียน มาถึงตรงนี้ก็อดที่จะนึกถึงน้ำพริกอ่องและขนมจีนน้ำเงี้ยวไม่ได้ว่า มีถิ่นกำเนิดมาจากพม่า ซึ่งปัจจุบันชาวพม่าจะปรุงอาหารด้วยมะเขือส้ม(มะเขือเทศลูกเล็ก)เป็นอาหาร หลัก นี่เป็นตัวอย่างที่มีการถ่ายทอดวัฒนธรรมระหว่างกัน

วัด ทางภาคเหนือที่มีเจดีย์ทรงพม่าอยู่หลายวัด ที่ลำปางมีบางวัดสร้างโบสถ์วิหารเป็นแบบพม่า มีพระพม่าเป็นเจ้าอาวาสซึ่งได้รับการแต่งตั้งมาจากประเทศพม่าโดยตรง สืบต่อกันมาจนถึงทุกวันนี้

พระ ทางภาคเหนือหลายวัด กับพระพม่าจากเมืองเชียงตุง ปัจจุบันยังมีความสัมพันธ์กันอย่างแน่นแฟ้น และหากจะย้อน ประวัติศาสตร์ก็จะเห็นว่าดินแดนล้านนาในอดีตนั้นประกอบด้วยดินแดนของ 3 ประเทศในปัจจุบัน ได้แก่ดินแดนทางภาคเหนือของไทย เมืองเชียงตุงของประเทศพม่า และดินแดนสิบสองปันนา (ประเทศจีนตอนล่าง) ซึ่งปัจจุบันอยู่คนละประเทศแต่ในยุคอดีตนั้นถือเป็นประเทศเดียวกัน มีประเพณีและวัฒนธรรมที่ดูคล้ายกันและมีความสัมพันธ์ต่อกันมาช้านาน



รูปทรงคล้ายพระพม่า ลวดลายแบบจีน

วัดเก่าแก่ของภาคเหนือถ้าสังเกตุให้ดีก็จะเห็นงานศิลปกรรม ของชาติต่างๆแฝงอยู่ เช่นลวดลายศิลปะแบบพม่า ภาพเขียนแบบจีน สิ่งเหล่านี้แสดงถึงความสัมพันธ์ของคนในยุคนั้นๆ และยิ่งมีโอกาสไปวัดที่มีตำนานทางประวัติศาสตร์มายาวนานก็จะพบเห็นอยู่มาก มาย แม้วัดที่สร้างใหม่ในปัจจุบันก็ยังมีการนำช่างฝีมือจากประเทศเหล่านี้มาสรร สร้างงานศิลปะชั้นยอดให้ปรากฏตามวัดใหม่ๆอยู่หลายแห่ง (จะมีภาพมาให้ดูในโอกาสต่อไป)

นัก ท่องเที่ยวคนไทยส่วนใหญ่ไปเที่ยวตามวัดทางภาคเหนือ ส่วนมากที่ไปเที่ยวก็ด้วยแรงศรัทธาที่มีต่อวัดหรือสถานที่นั้นๆแต่ไม่มี โอกาสรับรู้สิ่งที่เป็นอดีตที่น่าสนใจ ทั้งนี้ก็เพราะไม่มีใครมาอธิบายให้ฟัง และหนังสือประวัติของวัดก็น้อยคนนักที่จะ หาซื้อมาอ่าน รับรู้กันแต่เพียงว่าเป็นวัดที่มีอายุมานานหลายร้อยปี และหลายชั่วอายุคน ผิดกับนักท่องเที่ยวต่างชาติที่มักมีคู่มือท่องเที่ยวและข้อมูลรายละเอียด ของสถานที่นั้นอย่างพร้อมมูล คือได้ท่องเที่ยวและได้ศึกษาหาความรู้ไปในตัว

การท่องเที่ยวให้เกิด ประโยชน์อย่างสมบูรณ์ก็ควรจะรู้เรื่องราว ที่มาที่ไปของสถานที่นั้นๆบ้าง เป็นความรู้ และเป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดความรักความหวงแหน คงไม่ต้องถึงขนาดไปศึกษากันมากมายลึกซึ้งอะไรมากมายนัก ขอแต่เพียงรู้ เข้าใจสาระสำคัญในบางเรื่องของสถานที่นั้นๆก็น่าจะพอเพียงในฐานะนักท่อง เที่ยวคนหนึ่ง

สถานที่ท่อง เที่ยวตามวัดต่างๆทางภาคเหนือมีหลายแห่งที่น่าสนใจ มีเรื่องราวทางประวัติศาสตร์มานานหลายร้อยปี และด้วยเหตุนี้เองจึงทำให้การเดินทางมาเที่ยวภาคเหนือเมื่อเดือน สิงหาคม 2547 จึงอยากจะหาวัดเก่าๆสักแห่ง เก็บสาระเรื่องราวที่น่าสนใจและเก็บภาพบรรยากาศของวัด มาถ่ายทอดผ่านทางเวปไซต์ และด้วยความรู้สึกอยากจะนำสิ่งดีๆที่ซ่อนแฝงอยู่ในหลืบในมุม ออกมาให้หลายๆคนได้รู้ได้เห็น ซึ่งตอนนั้นก็ยังไม่ทราบว่าจะหาสถานที่ต้องการนี้ได้ที่ไหน เพราะวัดเก่าๆแก่ทางภาคเหนือก็มีมากมายหลายวัด

มี ญาติผมคนหนึ่งแนะนำว่า ที่อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง มีวัดๆหนึ่งเก่าแก่มาก ดูแล้วก็น่าจะตรงกับสิ่งที่ผมต้องการและยังได้บอกว่า ลำปางมีอยู่ 3 วัดที่น่าสนใจ ได้แก่วัดปงยางคกอยู่ที่อำเภอห้างฉัตร อีก 2 วัด อยู่ที่อำเภอเกาะคา ได้แก่วัดจอมปิงและวัดไหล่หิน

ผม เลือกมาถ่ายภาพที่วัดไหล่หินก็เพราะเห็นว่าน่าจะมีความหมายทางด้านประวัติ ศาสตร์ ที่สมเด็จพระพี่นางฯเคยเสด็จมาเยือนพร้อมกับนายก ชวน หลีกภัย (สมัยที่เป็นนายกรัฐมนตรี) ซึ่งก็พึ่งผ่านมาไม่กี่ปีมานี้เอง

” วัดไหล่หิน ” เป็นชื่อที่ชาวบ้านเรียกกันในปัจจุบัน ซึ่งมีชื่อที่เป็นทางการว่า “ วัดเสลารัตนปัพพะตาราม ” หรือวัดไหล่หิน หลวงแก้วช้างยืน บางครั้งชาวบ้านรุ่นก่อนๆก็จะเรียกว่า วัดป่าหิน หรือวัดม่อนหินแก้ว

วัดไหล่หินสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 218

หากจะนับอายุประวัติศาสตร์ของชาติไทยก็น่าจะถือว่าเกิดก่อนประเทศไทย และหากจะเปรียบเทียบยุคกรุงศรีอยุธยาที่ไทยเสียกรุงครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2112 ก็ถือว่าเกิดก่อนยุคนั้นมานานทีเดียว หรือถ้าจะเปรียบเทียบกับอาณาจักรล้านนา ในสมัยของพญามังรายที่ปกครองล้านนามาตั้งแต่ปี พ.ศ. 1802 ก็ถือว่าเกิดก่อนยุคล้านนานับเป็นพันๆปี


เย็น วันที่ 14 สิงหาคม 2547 เป็นครั้งแรกที่ผมมีโอกาสมาเยือนวัดนี้เมื่อเลี้ยวรถเข้ามาจอดที่ลานวัด ก็เป็นเป้าสายตาของพระรูปหนึ่งที่นั่งอยู่บนศาลาหน้าวัดตรงบริเวณตู้รับ บริจาค และคงคิดว่ามาติดต่อกิจธุระกับทางวัดมากกว่าจะคิดว่าเป็นนักท่องเที่ยว เพราะใกล้ค่ำแล้ว

หลวงพ่อ ที่ผมพบในวันนี้ก็คือ พระชัยพร อัตสาโร มีฐานะเป็นรองเจ้าอาวาสวัดไหล่หิน ทุกวันบริเวณศาลานี้ก็จะมีเจ้าหน้าที่ของวัดและพระภายในวัดผลัดเปลี่ยนกันมา ต้อนรับนักท่องเที่ยวและรับบริจาค

สภาพ วัดโดยทั่วไปแล้วค่อนข้างเงียบ อาจเป็นเพราะเป็นวัดเล็กๆประจำตำบลบ้านไหล่หิน รอบๆหมู่บ้านก็ยังมีสภาพเป็นนาข้าวที่พึ่งจะผ่านการปักดำไปไม่นาน บางแปลงก็ยังเห็นข้าวกล้ากำลังงอกงามเขียวขจี

ผม ยกมือไหว้นมัสการหลวงพ่อ พร้อมกับเหลือบมองไปยังวัดเก่าแก่ที่อยู่ข้างหน้า มันเป็นอะไรที่ผมคาดไม่ถึงจริงๆว่าจะมีวัดเก่าที่ซ่อนตัวอยู่ในตำบลเล็กๆที่ ผมพึงขับรถผ่านมาเมื่อตะกี้นี้เอง

” หลวงพ่อครับ วัดนี้เก่ามากเลยนะครับ แต่สภาพยังดีอยู่เลย ”

” วัดนี้มีอายุหลายร้อยปีแล้วละโยม และวัดนี้ก็เป็นวัดต้นแบบของวัดลำปางหลวงที่อยู่ใกล้ๆนี้เอง ”

” ผมไม่เคยทราบมาก่อนเลย และคิดว่าหลายคนก็คงไม่ทราบเช่นกัน ว่าวัดลำปางหลวงจำลองมาจากวัดนี้ ”


ผมรู้สึกแปลกใจกับสิ่งที่หลวงพ่อพูดถึงเพราะทราบมาว่า วัดลำปางหลวงก็เป็นวัดสำคัญของภาคเหนือ เป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองลำปาง และโดยส่วนตัวก็คิดว่าเป็นวัดที่มีอายุนานที่สุดของจังหวัดลำปาง และยิ่งทราบว่าเป็นวัดผู้พี่ของวัดลำปางหลวงที่ถูกนำไปสร้างเป็นต้นแบบก็ ยิ่งอดทึ่งไม่ได้

ผมสอบถาม เรื่องจำนวนพระที่จำพรรษาในวัดนี้ ซึ่งหลวงพ่อบอกว่าวัดนี้มีพระเพียง 3 รูปเท่านั้นเอง และพรรษาที่ผ่านมาหลวงพ่อก็บอกว่าไม่มีพระบวชใหม่เลย

หลวง พ่อพาผมเดินเข้าไปชมภายในวัด หลังจากทราบวัตถุประสงค์ว่าจะนำภาพของวัดไหล่หินไปเผยแพร่ทางเวปไซต์ เพื่อให้ บุคคลทั่วไปได้รู้จัก ซึ่งอาจเป็นทางหนึ่งที่ช่วยให้หลายคนได้มาเยี่ยมเยือนกันมากขึ้น

หลวง พ่อชี้ให้ผมดูกระดานที่ติดโชว์ภาพถ่ายเบื้องหลังการถ่ายทำภาพยนตร์เรื่องสุ ริโยทัยที่ได้เลือกบริเวณหน้าซุ้มประตูโขง ของวัดไหล่หินเป็นฉากบางตอนของภาพยนต์

” วัดนี้มีคัมภีร์โบราณที่เก่าแก่ และมีมากที่สุดของภาคเหนือ ”

หลวง พ่อได้ชี้มือให้ผมดูศาลาไม้ชั้นเดียวหลังเก่าหลังหนึ่งที่อยู่ทางปีกซ้ายของ วัด บอกว่าภายในจะมีตู้คัมภีร์ไว้เก็บรักษาใบลาน ที่เป็นคำสอนของภาษาพื้นเมืองเหนือ ปัจจุบันนี้ทางกรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนไว้หมดแล้ว

เมื่อ ผมเดินผ่านซุ้มประตูวัด ซึ่งเป็นประตูเล็กๆ หลวงพ่อได้บอกว่า ” ซุ้มประตูนี้ก็เป็นต้นแบบของวัดลำปางหลวง แต่สร้างใหญ่กว่า และสิ่งปลูกสร้างทั้งหมดที่เห็นภายในวัดนี้ก็เป็นต้นแบบของวัดลำปางหลวงทั้ง นั้น เช่นวิหารไม้ที่เห็นนี้ และระเบียงรอบวิหารนี้ ที่วัดลำปางหลวงก็มีแบบนี้เหมือนกัน ”

” แต่ก่อนนี้ เมื่อจะผ่านซุ้มประตูนี้จะมีบันใดอยู่ 3 -4 ขั้น เพื่อเดินเข้าประตูในวิหารแต่เมื่อมีการถมดินด้านนอกจึงสร้างทางลาดปูนตรง
จากหน้าวัดมาถึงตรงนี้ทำให้มองไม่เห็นบันใดที่คนสมัยก่อนเคยใช้กัน ”

หลวงพ่อเล่าให้ฟังในทำนองที่เสียดายความเป็นของเก่าดั่งเดิม ที่พื้นที่ของวัดในส่วนนี้เคยอยู่สูงกว่าด้านนอกกำแพง

ภาย ในวัดมีระเบียงคดอยู่โดยรอบเช่นเดียวกับวัดทั่วไปที่เห็นพระพุทธรูปรายล้อม ทั้ง สี่ทิศ เป็นเหมือนกำแพงล้อมรอบวิหาร ต่ที่วัดนี้ไม่มีพระพุทธรูปรายล้อมริมระเบียง เหมือนเช่นวัดอื่น มีเพียงพื้นซีเมนต์โล่งๆ เช่นเดียวกับวัดพระธาตุลำปางหลวง

วัด นี้ถึงแม้จะผ่านอดีตมาเป็นระยะเวลาที่ยาวนาน แต่ก็น่าแปลกใจที่สภาพทั่วไปยังคงไว้ในสภาพดี เห็นริ้วเห็นเนื้อแท้ของ ความเก่าแก่ ที่ไม่มีการต่อเติมเสริมแต่งให้ผิดแผกไปจากอดีต

” ที่วัดนี้จะซ่อมอะไร จะทำอะไรก็ต้องปรึกษากับทางกรมศิลป์ เพราะได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานไว้แล้ว หลายอย่างที่ เมื่อก่อนทางวัดได้ทำไปโดยไม่ได้ปรึกษากับกรมศิลป์ เค้าก็แนะนำให้เอาออก บอกว่าควรรักษาสภาพเดิมไว้ ”

หลวงพ่อกล่าวถึงกรมศิลป์ที่ให้ความสำคัญกับวัดไหล่หินและบอกว่า ไม่กี่วันมานี้เจ้าหน้าที่จากกรมศิลป์ก็มากันหลายคน

ผมเดินสนทนากับหลวงพ่อได้ไม่นาน ท่านก็ขอตัวไปทำวัตรเย็นภายในวิหาร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น